จากปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ผ่านงานสร้างสรรค์ช้างวาดรูปสู่ประเด็นลิขสิทธิ์

ผู้แต่ง

  • ณชรต อิ่มณะรัญ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • รัชชา สถาพรพงษ์ คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์, ช้างวาดรูป, ลิขสิทธิ์

บทคัดย่อ

        บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงปรากฏการณ์ช้างวาดรูปในฐานะงานสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นผ่านปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ระหว่างศิลปิน ควาญช้างกับช้างที่สะท้อนอุดมการณ์นิเวศสำนึกผ่านงานศิลปะภาพวาด โดยการสร้างสรรค์ผลงานเป็นกระบวนการที่เกิดจากการร่วมสร้าง (Co-creation) บนความสัมพันธ์เชิงพึ่งพิงอิงกัน (Symbiotic relationship) ระหว่างคนกับช้าง ผลงานภาพวาดสะท้อนคุณค่าทั้งในเชิงจริยศาสตร์สภาวะแวดล้อมและสุนทรียศาสตร์สื่อผ่านปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ด้วยการใช้สัญรูปที่แสดงสภาวะความอุดมสมบูรณ์ในธรรมชาติและสัญรูปที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างช้างกับธรรมชาติ ผลงานดังกล่าวมีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่นำรายได้สู่ผู้ครอบครองช้างและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ประเด็นที่เกี่ยวเนื่องตามมาคือ สิทธิในผลงานอันประกอบด้วยกรรมสิทธิ์และข้อถกเถียงในประเด็นสิทธิทางเศรษฐกิจของผลงานคือเรื่องลิขสิทธิ์ บทความสะท้อนมุมมองทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ที่กำหนดให้ผู้สร้างสรรค์ที่มีสภาพบุคคลได้ลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้น แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ครอบคลุมถึงช้าง แต่ถ้าบุคคลเป็นผู้ต่อยอดงานสร้างสรรค์จนแล้วเสร็จสมบูรณ์น่าจะผลักดันได้ว่าบุคคลเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์เพื่อการอ้างลิขสิทธิ์

References

โครงการสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทย. (2542). ช้างราชพาหนะ. กรุงเทพฯ: สตาร์ปริ้นท์จำกัด.

Thailand Plus Online.(2567).“อ.อ.ป. เพิ่มช่องทางจำหน่าย ‘ภาพวาดศิลปินช้าง’ ผ่านระบบออนไลน์ หวังเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น” . https:www.thaiandplus.tv/archives/349674.

สำนักลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2562). “ผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่”. www.ipthailand.go.th.

Jakobson, Roman. (1987). Language in literature. London : The Belknap Press of Harvard University Press.

Paul,M. Barrett. (2014). “Monkey Selfies, Elephant Paintings, and the Future of Copyright Law”. http://www.mirror.co.uk/news/world-news/monkey-selfie-officials-rule-nobody-4088663.

Susannah,C.(2018). “Monkey does not own selfie copyright, appeals court rules”. http//:edition.cnn.com/2018/04/24/us/monkey-selfie-peta-appeal/index.html.

ThaiPBS. (2566). “งานศิลปะจาก AI ลิขสิทธิ์เป็นของใคร ศิลปินปรับตัวอย่างไรเมื่อ AI ครองโลก”. https://www.thaipbs.or.th/now/content/264

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-02