ภาพสะท้อนปัญหาสังคมผ่านการเล่าเรื่องในภาพยนตร์สั้นนักศึกษาที่ได้รับรางวัลช้างเผือกพ.ศ. 2555 – 2564

ผู้แต่ง

  • วินัย บุญคง สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

ภาพสะท้อนปัญหาสังคม, การเล่าเรื่อง, ภาพยนตร์สั้นนักศึกษา

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยเรื่อง “ภาพสะท้อนปัญหาสังคมผ่านการเล่าเรื่องในภาพยนตร์สั้นนักศึกษาที่ได้รับรางวัลช้างเผือก พ.ศ. 2555 – 2564” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนปัญหาสังคม รวมถึงวิเคราะห์เทคนิคการสร้างสรรค์และกลวิธีการเล่าเรื่องในภาพยนตร์สั้นนักศึกษาที่ได้รับรางวัลช้างเผือกระหว่างปี 2555 – 2564 สำหรับการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) ผู้วิจัยได้คัดเอาเฉพาะประเด็นที่ได้สาระเกี่ยวกับการสะท้อนปัญหาสังคม กลวิธีการเล่าเรื่อง และเทคนิคการสร้างสรรค์ในภาพยนตร์สั้นนักศึกษาที่ได้รับรางวัลช้างเผือก พ.ศ. 2555 – 2564 มาทำการวิเคราะห์โดยใช้แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในส่วนของกรอบแนวคิด ด้านการสะท้อนปัญหาสังคม ได้แก่ ปัญหาสังคม ปัญหาการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ ด้านเทคนิคการสร้างสรรค์ และด้านการเล่าเรื่องมาประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง โดยมีการเลือกกลุ่มภาพยนตร์สั้นนักศึกษาที่ได้รับรางวัลช้างเผือก พ.ศ. 2555 – 2564 มาศึกษาจำนวน 11 เรื่อง

 

        ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ภาพยนตร์ทั้ง 11 เรื่อง มีการสะท้อนปัญหาสังคมไทยใน 3 ประเด็กหลัก คือ 1) ปัญหาทางสังคม ได้แก่ การหย่าร้าง ยาเสพติด ปัญหาครอบครัว คุกคามทางเพศ ความเห็นแก่ตัว และความไม่รับผิดชอบ 2) ปัญหาด้านการเมือง ได้แก่ ความสูญเสีย ถูกจำกัดสิทธิ์ 3) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ปัญหาความยากจน สำหรับกลวิธีการเล่าเรื่อง เป็นการเล่าเรื่องแบบฮอลลีวูดคลาสิก ซึ่งมีโครงสร้างการเล่าเรื่องเรียงลำดับเวลาต่อเนื่องทั้ง 11 เรื่อง ซึ่งประกอบด้วย องค์หนึ่งช่วงวางฐานเรื่อง องค์สองช่วงการเผชิญหน้า และองค์สามช่วงการคลี่คลาย รวมถึงการจบเรื่องโดยไม่มีข้อยุติชัดเจน ตัวละครเอกแต่ละเรื่องมีเพียงตัวเดียว สำหรับแก่นเรื่องมุ่งเน้นเกี่ยวกับการวิพากษ์สังคม ความขัดแย้งส่วนใหญ่นำเสนอขัดแย้งภายในจิตใจของตัวละครเอก ด้านตัวละครเอกมีทั้งมิติเดียวและหลายมิติ ส่วนฉากภาพยนตร์ทุกเรื่องถ่ายทำจากสถานที่จริง รวมถึงสัญลักษณ์ที่ปรากฏส่วนใหญ่เป็นสัญลักษณ์ทางภาพ ด้านความต้องการของตัวละครเอกภาพยนตร์เกือบทุกเรื่อง ตัวละครเอกมีความต้องการเพื่อตอบสนองตนเอง และภาพยนตร์ส่วนใหญ่มีปูมหลังที่ส่งผลต่อตัวละครเอก

 

        สำหรับเทคนิคการสร้างสรรค์ ผู้สร้างสรรค์ภาพยนตร์แต่ละเรื่องใช้ขนาดภาพขนาดไกล ภาพขนาดปานกลาง และภาพขนาดใกล้ ทุกเรื่อง ใช้มุมกล้องจากการรับรู้ของผู้ชมในแบบออบเจ็คตีฟ รวมถึงใช้มุมระดับสายตา เป็นหลัก ด้านการเคลื่อนไหวกล้อง ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ใช้การแพน แสงและสีมีการใช้แสงนุ่มมากกว่าแสงแข็งแต่รูปแบบการจัดแสง มีทั้งรูปแบบไฮคีย์และรูปแบบโลว์คีย์ที่ใกล้เคียงกัน รวมถึงสีที่ปรากฏในภาพยนตร์ใช้สีโทนร้อนและสีโทนเย็นมีจำนวนไม่แตกต่างกัน ส่วนเสียงสนทนา ตัวละครในภาพยนตร์ใช้เสียงสนทนาในการสื่อสารทุกเรื่อง รวมถึง มีการใช้เสียงประกอบภาพยนตร์เพื่อความสมจริงทุกเรื่องเช่นกัน นอกจากนี้ภาพยนตร์ส่วนมากใช้เสียงดนตรีที่ไม่มีเนื้อร้องมาประกอบฉาก และนำมาใช้ในฉากตอนจบของภาพยนตร์ด้วย สุดท้าย ผู้สร้างสรรค์ใช้การตัดต่อแบบอินเสิร์ทเกือบทุกเรื่อง และตัดต่อด้วยการเชื่อมภาพแบบตัดตรง และแบบเฟด ทุกเรื่องเช่นกัน

References

กฤษณ์ ทองเลิศ และ วินัย บุญคง. (2551). เกณฑ์การประเมินคุณค่าภาพยนตร์สั้นนักศึกษารางวัลสุพรรณหงส์และรางวัลช้างเผือก ปี พ.ศ. 2548-2549. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ , 11 (2)

จิราพร ภูวรัตนาวิวิธ. (2558). การวิเคราะห์ตัวละครและภาพสะท้อนสังคมที่ปรากฏในนวนิยายของกนกวลีพจนปกรณ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยนเรศวร].

ทิวาพร ทราบเมืองปัก. (2565). การออกแบบเสียงภาพยนตร์. นครปฐม; โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นริสร เติมชัยธนโชติ. (2561). การสะท้อนสังคมไทยที่ปรากฏในภาพยนตร์ไทยร่วมสมัยรางวัลสุพรรณหงส์ พ.ศ. 2550 – 2559. ในการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 ปีการศึกษา 2561.

ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์. (2555). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา การผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น. หน่วยที่ 8 – 15 นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภัทราวดี เสนา. (2564). การเล่าเรื่องและสะท้อนสังคมในภาพยนตร์ไทยที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ พ.ศ. 2553 – 2562. วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์, 25(1), 110-128

รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2545). นักสร้าง สร้างหนัง หนังสั้น. กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วาจวิมล เดชเกตุ. (2555). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา การผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น. หน่วยที่ 8 – 15. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วินัย บุญคง. (2563). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา การสร้างสารเพื่อผลิตรายการโทรทัศน์. หน่วยที่ 1 – 7.นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิสิทธิ์ อนันต์ศิริประภา. (2555). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา การผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น. หน่วยที่ 8 – 15 นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมพงษ์ ดุลยอนุกิจ. (2562). มุมมองของสังคมต่อปัญหาสังคม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ,1(3),80-94.

สำราญ แสงเดือนฉาย. (2557). หลักการออกแบบกราฟิกเพื่องานมัลติมีเดีย. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.

อัญชลี ชัยวรพร. (2548). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์เบื้องต้น. หน่วยที่ 1 – 8. นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Steve Wright. (2006). Digital Compositing for Film and Video. UK:Elsevier Inc.

Robert B. Musburger and Gorham Kindem. (2009). Introduction to Media Production. USA:Elsevier Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-02