การจัดการการสื่อสารขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการปั่นจักรยานในช่วงการเกิดสถานการณ์โควิด -19

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ อภินันท์รุ่งโรจน์ นักศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม คณะนิเทศศาสตร์นวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, โควิดไวรัส – 19, ทัศนคติ, การเข้าร่วม

บทคัดย่อ

        การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อ ประชาชนเป็นจำนวนมาก ภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องมีมาตรการในการแก้ปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ขณะเดียวกันต้องมีแผนการสื่อสารในภาวะวิกฤตที่ใช้ในการสื่อสารกับภาคประชาชน ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นต้องเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับสารสามารถใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจหรือใช้เพื่อประพฤติปฏิบัติตัว และดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง โดยกิจกรรมการปั่นจักรยานเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ถูกจัดขึ้น และได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการดำเนินกิจกรรมให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับสถานณ์ภายใต้ความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน โดยช่องทางการสื่อสาร และทัศนคติ เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการปั่นจักรยาน และยิ่งการรับรู้ข้อมูลทั้งด้านมาตรการสาธารณสุขในการจัดกิจกรรมการปั่นจักรยานรูปแบบวิถีใหม่ในสถานการณ์โควิดไวรัส – 19 ยิ่งกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่นในการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรม แต่ในขณะเดียวกันอิทธิพลกลุ่มอ้างอิง กลับเป็นตัวแปรที่ไม่ส่งผลต่อทัศนคติ และการเข้าร่วมกิจกรรมการปั่นจักรยานรูปแบบวิถีใหม่ในสถานการณ์โควิดไวรัส – 19

References

ณัฐนันท์ ภาสน์พิพัฒน์กุล.(2545) .“ปัจจัยการสื่อสารภายในองค์กรที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทํางานของพนักงานบริษัท แอ็ดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่น จํากัด”. [ค้นคว้าอิสระบริหาร ธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต].

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2549). การประชาสัมพันธ์. พิมพ์ครั้ง ที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิระชัย ตั้งสกุล.(2549).การสร้างสารในงานนิเทศศาสตร์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิภาวิน โมสูงเนิน. (2553). การสื่อสารสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขในกรณีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009. [วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์].

พรทิพย์ วรกิจโภคาทร. (2546). กระบวนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์. ในหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อภิสรา เกิดชูชื่น.(2545).รูปแบบการสื่อสารเครือข่ายวิทยุสมัครเล่นในภาวะวิกฤต. [วิทยานิพนธ์มหาบัณทิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2549). การสื่อสารเพื่อการโน้วน้าวใจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์. (2562). เจาะ ‘กลยุทธ์การสื่อสารในภาวะวิกฤต’ ลดความสับสนพาชาติฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน. https://www.salika.co/2020/04/05/communication-crisis-management-fight-covid-19

Berlo, K. D. (1960). The process of communication. New York: The Free Press.

Walker, I., & Smith, H. J. (Eds.). (2002). Relative deprivation: Specification, development, and integration. Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-02