สื่อมวลชนกับการตั้งสมญานามสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา
คำสำคัญ:
สื่อมวลชน, สมญานาม, สภาผู้แทนราษฎรบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง “สื่อมวลชนกับการตั้งสมญานามสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวิเคราะห์องค์ประกอบการตั้งสมญานามให้สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ผลการศึกษาในประเด็นการวิเคราะห์องค์ประกอบการตั้งสมญานาม พบ 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. การตั้งสมญานามจากพฤติกรรม ในประเด็นนี้พบ 2 สมญานาม ได้แก่ “สภาลวงละคร” และ “แตก ป. รอรีไทร์” 2. การตั้งสมญานามจากชื่อ พบ 1 สมญานาม ได้แก่ “(วัน) นอมินี” ส่วนประเด็นกลวิธีการใช้ภาษาตั้งสมญานาม พบ 2 กลวิธี ได้แก่ 1. การใช้คำสแลง ประเด็นนี้พบ 2 สมญานาม ได้แก่ “แกงส้ม ‘ผลัก’ รวม” และ “ดาวดับ” 2. การเล่นเสียงสัมผัส พบ 1 สมญานาม ได้แก่ “แจ๋วหลบ จบแล้ว”
References
กฤติกา พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2564). กลวิธีการใช้ภาษาในข่าวกีฬาภาษาไทย: การใช้คำ สำนวนและโวหารภาพพจน์. http://www.hurujournal.ru.ac.th./jourals/29_1648179727.pdf
ทรงยศ บัวเผื่อน. (2553). เอกสารประกอบการสอนทฤษฎีการสื่อสารมวลชน. ชลบุรี: ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทรงยศ บัวเผื่อน, และนนทชา คัยนันทน์. (2562). การวิเคราะห์สมญานามที่สื่อมวลชนตั้งให้กับคนกีฬา.วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร,2(1), 1-13.
ธีร์วรา ขะบูรณ์. (2557). วิเคราะห์การใช้ภาษาพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร].
ธนิสร บัณฑิตภักดิ์. (2548). การศึกษาคำสแลงในภาษาไทยของวัยรุ่นที่พบในนิตยสารบันเทิง. [วิทยานพิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].
ปิยะพันธุ์ วัชระนุกูล. (2553). สมญานามวงการกีฬาที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวันระหว่างเดือนกันยายน 2552-มีนาคม 2553. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554.(2554). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น. หน้า 1181.
ศราวุธ หล่อดี และ พิกุลแก้ว กาษร. (2562). ประเภทที่มาและรูปแบบการสร้างฉายาดาราไทย พ.ศ. 2553-2561. วารสารศิลปศาสตร์, 7(2). 62-80.
สุวรรณา งามเหลือ. (2539). การศึกษาสมญานามในหนังสือพิมพ์รายวันไทย. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
สุทิน ปานทอง. (2556). การศึกษาการตั้งฉายานักการเมืองไทย. ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย, 7 (13), 41-50.
Flexner, E. (1975). Century of Struggle: The Woman’s Rights Movement in the UnitedStates. Rev. ed. Cambridge, Mass; Belknap Press of Harvard University Press.
Holmes. J. (1997). An Introduction to Sociolinguistics. New York: Longman.
Luckmann, T. (1975). The Sociology of Language. Indianapolis: Bobbs-Merrill.
Orden, C.K. & Richards, I. A. (1989). The Meaning of Meaning. New York: Harcourt, Brace and World, Inc.
Partridge, E. (1954). The world of words: an introduction to language in general and to English and American in particular. London: H. Hamilton.
Sherzer, J. (2002). Speech Play and Verbal Art. http://doi.org/10,7560/777682.