อิทธิพลสำคัญต่อชนชั้นนำในการควบคุมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยช่วง พ.ศ. 2440-2479

ผู้แต่ง

  • วินิจพรรษ กันยะพงศ์ นักศึกษาปริญญาเอก คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

ชนชั้นนำ, ภาพยนตร์, อุตสาหกรรมภาพยนตร์, กฎหมายภาพยนตร์

บทคัดย่อ

        การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลสำคัญต่อชนชั้นนำที่มีต่อการควบคุมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยช่วง พ.ศ. 2440-2478 ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มีอิทธิพลสำคัญในช่วงเริ่มต้นของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยและที่ส่งผลถึงปัจจุบัน โดยเป็นการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในลักษณะการศึกษาเอกสารประวัติศาสตร์และด้วยการสรุปประเด็น มีการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ ขอบเขตศึกษาข้อมูลในภาพรวมเชิงประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5-7 จำแนกการศึกษาวิจัยออกเป็นพัฒนาการตามรัชสมัยต่าง ๆ และบทบาทในการควบคุมภาพยนตร์ผ่านการตรวจภาพยนตร์ก่อนฉาย (เซนเซอร์) ผลการวิจัยพบว่า ชนชั้นนำตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกและศิลปะวิทยาการด้านภาพยนตร์เข้ามาในประเทศเป็นกลุ่มแรก ด้วยเหตุผลที่ต้องการการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย และในฐานะผู้ปกครอง ชนชั้นนำได้เข้าครอบงำความคิดของประชาชนผ่านการชี้นำว่าภาพยนตร์เป็นสื่ออันตรายอันส่งผลให้เกิดการร่างกฎหมายเพื่อควบคุมภาพยนตร์ในเวลาต่อมา ดังนี้จึงเป็นการบ่มเพาะวัฒนธรรมความหวาดกลัวต่อผู้สร้างภาพยนตร์ไทยให้หลีกเลี่ยงการสร้างภาพยนตร์ที่เสี่ยงจะขัดต่อความสงบและศีลธรรมอันดีที่รัฐกำหนดบรรทัดฐานไว้

References

กฤษดา เกิดดี. (2548). การเซ็นเซอร์ภาพยนตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ หสน. ห้องภาพสุวรรณ.

เกษม ศิริสัมพันธ์. (2551). ทฤษฎีสื่อสารมวลชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

กอปรพงษ์ กุณฑียะ. (2559). การวิเคราะห์การอภิปรายความเชิงวิพากษ์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ในประเทศไทย. [ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

จำเริญลักษณ์ ธนะวังน้อย. (2544). ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยตั้งแต่แรกเริ่มจนสิ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โดม สุขวงศ์. (2539). พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ กับภาพยนตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัทคอมแพคท์พริ้นท์ จำกัด.

โดม สุขวงศ์. (2555). สยามภาพยนตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครปฐม: โรงพิมพ์ ลินคอล์น โปรโมชั่น.

ทีมเครือข่ายฟรี ไทย ซีนีม่า. (2556). ย้อนรอยเซ็นเซอร์หนังไทยซ้ำซาก? ลักลั่น? ย้อนแย้ง?. วารสารหนังไทย, 2(18).

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. (2563). ความเป็นมาของความคิดทางการเมืองในสยามไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมมติ.

ธัญณ์ณภัทร์ เจริญพานิช. (2566). มหาบุรุษแห่งชุมชนศีลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมมติ.

เมาริตซิโอ เปเลจจี. (2566). เจ้าชีวิต เจ้าสรรพสิ่ง (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน.

วัชรพล พุทธรักษา. (2557). บทสำรวจความคิดทางการเมืองของอันโตนิโอ กรัมชี่. กรุงเทพฯ: สมมติ.

สุรพงษ์ ชัยนาม. (2524). อันโตนิโย กรัมซี กับทฤษฎีว่าด้วยการครองความเป็นใหญ่. (สมบัติ พิศ สะอาด, ผู้แปล), ความขัดแย้งของการปฏิวัติ อันโตนิโย กรัมซีกับปัญหาของปัญญาชน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

อิทธิพล วรานุศุภากุล. (2552). ความคิดเห็นต่อการจัดระดับภาพยนตร์สำหรับประเทศไทย. [ปริญญานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล. (2560). 120 ปี ธุรกิจภาพยนตร์ไทยในมิติประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

Wittern-Keller, L. (2013). All the power of the law: governmental film censorship in the United States. In Silencing Cinema: Film Censorship around the World (pp. 15-32). New York: Palgrave Macmillan US.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-02