ปัจจัยการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบนแพลตฟอร์มติ๊กต็อก
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, ติ๊กต็อกบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง ปัจจัยการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบนแพลตฟอร์ม
ติ๊กต็อก (TikTok) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการสื่อสารการถ่ายทอดสดออนไลน์ (Live Streaming) การรีวิวจากผู้ใช้งานจริง การรับรองโดยบุคคลที่มีอิทธิพลทางความคิดบนโซเชียลมีเดีย และการส่งเสริมการขายด้วยคูปองส่วนลดจากติ๊กต็อก (TikTok) ที่มีผลการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบนแพลตฟอร์มติ๊กต็อก (TikTok) ดำเนินการศึกษาโดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ สำรวจความคิดเห็นโดยกระจายแบบสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์ และมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 441 คน
ผลการวิจัยพบว่า คูปองส่วนลดจาก TikTok มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบนแพลตฟอร์มติ๊กต็อก (TikTok) มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน (β) อยู่ที่ 0.442 เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงที่สุด ด้านผู้มีอิทธิพลทางความคิด (Influencer) มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบนแพลตฟอร์มติ๊กต็อก (TikTok) มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน (β) อยู่ที่ 0.331 เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลรองจากคูปองส่วนลดจากติ๊กต็อก (TikTok) ด้านการถ่ายทอดสดออนไลน์ (Live Streaming) มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบนแพลตฟอร์มติ๊กต็อก (TikTok) มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน (β) อยู่ที่ 0.149 เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลรองลงมาจากคูปองส่วนลดจากติ๊กต็อก (TikTok) และผู้มีอิทธิพลทางความคิด และการรีวิวจากผู้ใช้งานจริง (Review) มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบนแพลตฟอร์มติ๊กต็อก (TikTok) มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน ( β ) อยู่ที่ 0.104 เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลน้อยที่สุด กล่าวโดยสรุป คือ ปัจจัยการสื่อสาร คูปองส่วนลดจาก TikTok, ผู้มีอิทธิพลทางความคิด, การถ่ายทอดสดออนไลน์ (Live Streaming) และการรีวิวจากผู้ใช้งานจริง (Review) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบนแพลตฟอร์มติ๊กต็อก (TikTok) โดยมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบนแพลตฟอร์มติ๊กต็อก (TikTok) ร้อยละ 89.8 โดยมีค่า R Square (R²) = 0.898 (Sig. = 0.000 และ F = 12.96)
References
Dudovskiy, J. (n.d.). Consumer Decision Making Process. https://research-methodology.net/consumer-decision-making-process/
International Food Information Council. (2020). Food & Health Survey. https://foodinsight.org/wp-content/uploads/2020/06/IFIC-Food-and-Health-Survey-2020.pdf
Kotler P. & Keller K.L. (2012). Marketing Management, 14th ed. Pearson education, New Jersey.
Pradhan, B. (2009). Retailing Management 3rd edition. Tata McGraw-Hill Education.
ธนาคารกรุงเทพ. (2565). Health and Wellness อีกหนึ่ง Mega Trend โตแรง ผู้ประกอบการไทยปรับกลยุทธ์อย่างไร? สะกดใจผู้บริโภคถูกจุด. https://www.bangkokbanksme.com/en/7sme1-health-and-wellness-mega-trend-grows-strong
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2566. https://resourcecenter.thaihealth.or.th/files/696/Book%20-%20Thaihealthwatch-2023.pdf
Kanokjun. (2566). จำนวนร้านค้าและธุรกิจบน TikTok Shop ทะลุ 15 ล้านรายแล้วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. https://workpointtoday.com/the-number-of-stores-and-businesses-on-tiktok-shop-has-surpassed-15-million-in-southeast-asia/.
PPTV Online. (2565). ตลาดอาหารเสริมโตเกือบ 8 หมื่นล้าน คนไทยยอมจ่ายเดือนละพันกว่าบาท. https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/179358