กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของนักศึกษาจีนในหลักสูตรจีน-อังกฤษ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

ผู้แต่ง

  • ดวงทิพย์ เจริญรุกข์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การเรียนรู้, ภาษาต่างประเทศ

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของนักศึกษาจีนในหลักสูตรจีน-อังกฤษ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล (Questionnaire) จากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาจีนในหลักสูตรจีน-อังกฤษ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา ภาคการศึกษา 1-2566 จำนวน 100 คน ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ อายุ 19 ปี ผลการเรียนภาษาต่างประเทศเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด คือ  เกรด B และอยู่ระดับชั้นปีที่ 2 มากที่สุด สรุปได้ว่า กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาโดยตรง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.48   เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านกลยุทธ์การแก้ไขข้อบกพร่อง (Compensation Strategies) อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.73 ด้านกลยุทธ์ความรู้ ความเข้าใจ (Cognitive Strategies) อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.45 และด้านกลยุทธ์การจำ (Memory Strategies) อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.25 กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาโดยอ้อม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า กลยุทธ์ทางสังคม (Social Strategies) อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 ด้านกลยุทธ์การนำไปสู่ความสำเร็จ (Metacognitive Strategies) อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 และด้านกลยุทธ์ทางอารมณ์และความรู้สึก (Affective Strategies) อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 เมื่อพิจารณาทั้ง 2 กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษา พบว่า กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86 โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการใช้กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศโดยอ้อมมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 และใช้กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยตรง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.48 ทั้งนี้ การทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ผลการวิเคราะห์ทดสอบสมมติฐานความแตกต่างระหว่างเพศ อายุ และชั้นปีการศึกษา มีกลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ไม่แตกต่างกัน มีเพียงผลการเรียนที่มีผลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

ชนิกา คำพุฒ. (2545). การศึกษาการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาจีนวิชาเอกภาษาไทยชั้นปีที่ ๔ สถาบันชนชาติยูนนาน สาธาณรัฐประชาชนจีน [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. DRIC. https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/150210

ปณิชา นิติสกุลวุฒิ และ ทรงศรี สรณสถาพร. (2557). การใช้กลยุทธ์การสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน ที่เข้าร่วมโครงการค่ายอาเซียน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 6(1), 12-29

ผจงกาญจน์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2538). ความรู้ทางภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา. (2565). ข้อมูลนักศึกษารวมต่างชาติ ปี 2565. info.mhesi.go.th

สำนักงานทะเบียนมหาวิทยาลัยรังสิต. (2566). จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียน แยกตามประเภทลงทะเบียน. https://staffintranet.rsu.ac.th/SUWeb/Main.aspx

สมพร โกมารทัต. (2559).การศึกษาการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพฯและปริมณฑล. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

วิภาณี เพ็ชร์มาก. (2559). กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ในสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษต่างกัน. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.

Nakatani, Y. and Goh, C. 2007. Language learner strategies. In Cohen. A., and Macaro. E., eds. A review of Oral Communication Strategies: Focuson Interactionists and Psycholinguistic Perspectives.(pp. 207-227). Oxford University Press, Oxford.

Oxford, R. (1990). Language learning strategies: What every teacher should know. New York: Newbury House Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-06