การศึกษาภาพยนตร์แนวโรแมนติกคอมเมดี้โดย ริชาร์ด เคอร์ติส

ผู้แต่ง

  • วรเมธ สวัสดิ์เวช วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • อานิก ทวิชาชาติ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ภาพยนตร์, โครงสร้างการเล่าเรื่อง, ลักษณะนิสัยของตัวละคร, ริชาร์ด เคอร์ติส

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาภาพยนตร์แนวโรแมนติกคอมเมดี้โดย ริชาร์ด เคอร์ติส ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) รวมไปถึงแนวคิดอันได้แก่ แนวคิดโครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ และแนวคิดลักษณะนิสัยของตัวละครและการออกแบบตัวละคร โดยศึกษาจากภาพยนตร์แนวโรแมนติกคอมเมดี้ที่เขียนบทและกำกับการแสดงโดยริชาร์ด เคอร์ติส และคัดเลือกผลงานทั้งหมด 2 เรื่อง ออกมาทำการศึกษาอย่างละเอียด ได้แก่ 1) Love Actually (2003) 2) About Time (2013)

 

        ผลการวิจัยพบว่า ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่อง มีโครงสร้างการเล่าเรื่อง ลักษณะนิสัยของตัวละคร และการออกแบบตัวละครดังนี้ 1)โครงเรื่อง มีลักษณะแบบเส้นตรง (Linear Plot) หรือโครงเรื่องที่ดำเนินเรื่องไปตามลำดับเวลาและเหตุการณ์ โดยมีรูปแบบของโครงเรื่องตามลำดับขั้นพีระมิดเฟรย์แท็ก (Freytag’s Pyramid) ซึ่งประกอบไปด้วย 1.1) การเปิดเรื่อง 1.2) การพัฒนาเหตุการณ์ 1.3) ภาวะวิกฤต 1.4) ภาวะคลี่คลาย 1.5) การปิดเรื่อง 2) ความขัดแย้ง พบว่าเป็นความขัดแย้งตามลักษณะของเนื้อหา โดยพบทั้งความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสังคม และความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับตัวเอง 3) แก่นเรื่อง มีวิธีการนำเสนอโดยการแฝงแนวคิดหรือแก่นเรื่องไว้ในส่วนต่าง ๆ ของเนื้อหา 4) จุดยืนในการเล่าเรื่อง มีความแตกต่างกัน โดยที่ Love Actually นั้นใช้การเล่าเรื่องจากจุดยืนที่เป็นกลาง ส่วน About Time ใช้การเล่าเรื่องจากจุดยืนของบุคคลที่หนึ่ง  5) สัญลักษณ์ มีการสื่อสารที่แฝงสัญลักษณ์ผ่าน บทสนทนา ภาพ เสียง และองค์ประกอบของภาพยนตร์อื่นๆ 6) ประเภทของตัวละคร มีการแบ่งความสำคัญ บทบาท หน้าที่ มิติ และลักษณะการเปลี่ยนแปลงของตัวละคร ตามแนวคิดลักษณะนิสัยของตัวละคร โดยที่ในแต่ละตัวละครจะสะท้อนมุมมอง ลักษณะนิสัย และการดำเนินชีวิตเฉกเช่นมนุษย์จริงๆ 7) องค์ประกอบในการออกแบบตัวละคร ได้มีการวางองค์ประกอบของตัวละครต่างๆ ให้มีความแตกต่างกัน ทั้งในแง่ของ อาชีพ สถานภาพ และ ชีวิตส่วนตัว รวมไปถึง องค์ประกอบทาง ด้านสรีรวิทยา ด้านสังคมวิทยา และด้านจิตวิทยา โดยสามารถพบเห็นได้ในตัวละครหลักของเรื่อง และลดทอนลงไปตามความสำคัญของตัวละครที่มีต่อเรื่องและ 8) แนวคิดที่เกี่ยวกับภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดี้ โดยมีรูปแบบของโครงเรื่องและลักษณะของตัวละครภายในเรื่องที่ สอดคล้องกับ แนวคิดประเภทของภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดี้ของ J Gideon Sarantinos (2012) และ ลาน่า ชวาร์ทซ (2020)

References

จิดาภา ธนโรจน์. (2563). การเล่าเรื่องและการสร้างตัวละครหลักของละครโทรทัศน์แนวโรแมนติกคอมเมดี้ตามแบบฉบับละครช่อง 7HD. Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/4327

เจือ เสรีลีฟ้า. (2022). การศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการนำเสนอและแนวคิดในภาพยนตร์แนวรักของบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/971

ชญาน์นันท์ วงษ์ศรีแก้ว. (2563). การศึกษาวิเคราะห์ตัวละครที่มีรูปร่างอ้วนในละครโทรทัศน์ไทยเพื่อการสร้างสรรค์บทละครโทรทัศน์เรื่อง “อ้วนแล้วไง...ใครแคร์?”. มหาวิทยาลัยรังสิต

ณัฐนี ตามไท. (2553). การวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของภาพยนตร์แนวตลกร้ายโดย โจเอล และอีธาน โคเอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32142

ธมนวรรณ กัวหา. (2563). จิตวิทยาเชิงบวกกับโรแมนติกคอเมดี้. https://adaybulletin.com/know-agenda-romantic-comedy/46822

นิวัฒน์ สารบุญ. (2564). องค์ประกอบของการเขียนบทภาพยนตร์. https://shorturl.at/JOONN

ปรัชญา เปี่ยมการุณ. (2555). การประกอบสร้างสุนทรียะแห่งรัก และ ภาพสะท้อนสังคมในภาพยนตร์รักของไทย พ.ศ. 2548-2552. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม (The Journal of Social Communication Innovation). 5(1), 62-71. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/article/view/9102

พิศมัย ศรีอนุพันธ์. (2536). วรรณกรรมปัจจุบัน: นวนิยาย (Novel). วารสารวัฒนธรรมไทย. 22. 23-33.

พิศมัย อำไพพันธุ์. (2548). เอกสารคำสอน รายวิชาการอ่านเพื่อจุดประสงค์เฉพาะ. เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Evelina Zaragoza Medina. (2019). 13 Characters That Have Been In Every Rom-Com Of The Last, Like, 20 Years. https://www.buzzfeed.com/evelinamedina/13-characters-youll-recognize-if-youve-ever-seen-a-rom-com

Freud, Sigmund. (1947). An outline of Psychoanalysis. New York : W.W.

Gustav Freytag. (1894). Freytag’s Technique of the Drama. New York : Scott, Foresman And Company

GU XINXI. (2560). ศึกษาการเล่าเรื่องและวัฒนธรรมในภาพยนตร์นอกกระแสไทยและจีน กรณีศึกษาเรื่อง “Mary is Happy Mary is Happy” และ “Ne Zha”. การค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/3331

J Gideon Sarantinos. (2012). Types Of Romantic Comedies. https://gideonsway.wordpress.com/2012/06/13/types-of-romantic-comedy/

Lana Schwartz. (2020). Build Your Own Romantic Comedy. Published by Ulysses Press Distributed by Simon & Schuster.

Laurie Agard. (2016). Positive Psychology & Film: Love. https://www.filminquiry.com/positive-psychology-film-love/

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. New York : Harper and Row.

WhatANovel.com. (2023). เรื่องเล่า (Narrative) คืออะไร?. https://whatanovel.com/what-a-narrative/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-06