การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของสตรีจีนในการสมรสไทย-จีน ภายใต้บริบทสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • Heni Qin วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ดวงทิพย์ เจริญรุกข์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การปรับตัวข้ามวัฒนธรรม, สตรีจีน, การสมรสไทย-จีน

บทคัดย่อ

        งานวิจัยเรื่อง “การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของสตรีจีนในการสมรสไทย-จีนภายใต้บริบทสังคมไทย” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มสตรีจีนที่สมรสกับคู่สมรสไทย จำนวน 10 คน รวมถึงศึกษางานวิจัย บทความ และเอกสารต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสามารถในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม และ 2) วิธีการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม ของสตรีจีน ในการสมรสไทย-จีนภายใต้บริบทสังคมไทย โดยใช้แนวคิดการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม แนวคิดการปรับตัว และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

        ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของสตรีจีนที่สมรสกับคู่สมรสไทย โดยปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการสื่อสาร ได้แก่ ปัจจัยด้านภาษาไทย วัฒนธรรม ชีวิตประจำวัน คู่สมรส หรือครอบครัวคู่สมรส การไม่ยอมรับ การมีอคติกับสังคมไทย ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ อารมณ์ และเวลา สตรีจีนที่สมรสกับคู่สมรสไทยจะมีความสามารถในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้ดีกว่าสตรีจีนที่ไม่ได้สมรสกับคู่สมรสไทย สามารถสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้ลึกซึ้ง ครอบคลุม และเปิดใจมากกว่า ด้านวิธีการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม ใช้วิธีการเรียนรู้เพื่อเพิ่มความเข้าใจ ได้แก่ การเรียนรู้จากคู่สมรสของตนเอง จากคนอื่นในสังคม จากสื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อจีน และสื่อหลักในประเทศไทย มีการสื่อสารและขอความช่วยเหลือจากคู่สมรส การให้คำแนะนำ การรวมกลุ่มกับคนไทย การรวมกลุ่มสตรีจีนที่สมรสกับคู่สมรสไทย อยากรู้อยากเห็น มีความสนใจต่อวัฒนธรรมไทย มีการให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาสำหรับสตรีจีนที่ไม่ได้สมรสกับคู่สมรสไทย ให้ลองสัมผัส เข้าใจ และยอมรับ ความสามารถในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม และการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม ของสตรีจีนในการสมรสกับคู่สมรสไทย มีประโยชน์ในการสร้างความเข้าใจและการร่วมมือระหว่างสตรีจีนและสังคมไทย มีผลต่อความสุขและความพึงพอใจในความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยา มีผลทำให้สตรีจีนรับรู้คุณค่าและเข้าใจวัฒนธรรมไทยได้ดีขึ้น

References

เจนจิรา ผลดี. (2544). การสมรสข้ามวัฒนธรรม:แนวทางการปรับตัวและผลกระทบต่อสังคมไทย. [ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม, มหาวิทยาลัยบูรพา].

นิลอุบล บัวงาม. (2545). การสื่อสารต่างวัฒนธรรมและทัศนคติของคู่สมรสไทย-อเมริกันเกี่ยวกับบทบาทของครอบครัวและเครือญาติในชีวิตสมรส. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ปิยะรัตน์ จันทรยุคล. (2558). การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของอาจารย์ชาวต่างชาติในบริบทกิจการด้านการศึกษาในประเทศไทย. [บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต].

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2556). การปรับตัวของนักศึกษาจีนที่เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.[ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยรังสิต].

พรพะเยาว์ ก๋งเม่ง. (2557). ความสามารถทางการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและการปรับตัวของนักศึกษาจีนในมหาวิทยาลัยรังสิต. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต].

ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. (2566). สิ้นชาติเพราะคนต่างศาสนาหรือคนไทยเชื้อจีน?. https://www.tcijthai.com/news/2023/25/article/12973

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซีอาน. (2566). จีนไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน : วันวัฒนธรรมไทยและสัปดาห์แห่ง การเรียนรู้วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของคณะเอเชียและแอฟริกา ศึกษาประจำปี 2566. https://xian.thaiembassy.org/th/content/จีนไทยใช่อื่นไกล-พี่น้องกัน-วันวัฒนธรรมไทยและสัปดาห์? .page=5d832e7515e39c38a8000fd2&menu=5d832e7515e39c38 a8001053

สมสุดา ศรีวัฒนานนท์. (2547). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในการทำงานของพนักงานชาวไทยและชาวตะวันตก. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

สรัลนันท์ ภูมิชิษสานันท์. (2559). การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมระหว่างผู้เรียนชาวไทยและผู้สอนชาวสเปนในชั้นเรียนภาษาสเปนในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์อักษรศาตรมหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

Chen, M. T. (2017). Study on the transnational Marriage of the Youth in China - TakingGuangxi-Thailand transnational marriage as an example. [Guangxi University, International College, School of Communication].

Guan, R.S. (2016). A Study of the Cultural Adaptability of Chinese and Japanese Transnational Marriage and Chinese Women in It. [Heilongjiang University, Government Administration School].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-06