การนำเสนอเนื้อหาและการมีส่วนร่วมต่อเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจการประกวดนางงาม“Pooddaimaipjee - พูดได้มั้ยพี่จี้”: กรณีศึกษา การประกวดนางงามจักรวาล ประจำปี 2566

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย ดวงไทย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

คำสำคัญ:

พูดได้ไหมพี่จี๊, เฟซบุ๊กแฟนเพจ, การประกวดนางงาม

บทคัดย่อ

        การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประเด็นเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ “Pooddaimaipjee - พูดได้มั้ยพี่จี้” 2) เพื่อศึกษาประเภทสื่อและรูปแบบเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ “Pooddaimaipjee - พูดได้มั้ยพี่จี้” 3) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้รับสารต่อเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ “Pooddaimaipjee - พูดได้มั้ยพี่จี้” โดยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์การมีส่วนร่วมต่อสารของผู้รับสารและการวิเคราะห์เนื้อหา

 

        ผลการศึกษา พบว่า ประเด็นเนื้อหาสาร เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ 1) อิริยาบถแอนโทเนีย โพซิ้ว ช่วงกิจกรรมกองประกวดนางงามจักรวาล 2566 2) คุณจารุชา  ปานมุณี (ป้าจี๊) ถ่ายทอดสดสถานการณ์การประกวดนางงามจักรวาล 2566 3) อิริยาบถเพื่อนนางงามต่างชาติในรอบการประกวดนางงามจักรวาล 2566 ด้านการเลือกใช้สื่อเพื่อการนำเสนอสาร เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ 1) ภาพนิ่ง 2) คลิปวิดีโอ 3) ข้อความ ด้านรูปแบบเนื้อหาที่ใช้นำเสนอสาร เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ 1) เนื้อหาเรื่องราวสั้น ๆ 2) คุณจารุชา  ปานมุณี (ป้าจี๊) อยู่ร่วมในเนื้อหาสาร 3) เนื้อหาข่าวสาร และการมีส่วนร่วมของผู้รับสารต่อสาร เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ 1) คลิปวิดีโอแอนโทเนีย โพซิ้ว ร้องเพลงในรายการทัวร์มาลง 2) คลิปวิดีโอคุณจารุชา  ปานมุณี (ป้าจี๊) นำเสนอสถานการณ์หลังการประกวดนางงามจักรวาล 2566 3) คลิปวิดีโอแอนโทเนีย โพซิ้ว ร่วมขบวนแห่เฉลิมฉลองตำแหน่งรองอันดับ 1 นางงามจักรวาล 2566 ในประเทศไทย

References

กัญชลิตา ตันเจริญ. (2563). พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์และรูปแบบการนำเสนอข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวที่มีต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวประเทศไทยโดยการติดตามแฟนเพจ Unseen Tour Thailand. [ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

จารุพัฒน์ จรุงโภคากร. (2560). ปัจจัยการสร้าง Content Marketing ที่มีอิทธิพลต่อความสนใจในแบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นในประชากร Gen M. [การค้นคว้าอิสระ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช. (2560). สื่อดิจิทัล สื่อแห่งอนาคต (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ฐิตานันท์ ชัยโฆษิตภิรมย์ และชุติมา เกศดายุรัตน์. (2560). การวิเคราะห์การนำเสนอเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มหางานสำหรับฟรีแลนซ์ออนไลน์: กรณีศึกษาแฟนเพจเฟซบุ๊ก Fastwork. [การค้นคว้าอิสระ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

ฐิติพงษ์ ด้วงคง. (2560). สื่อเก่า VS สื่อใหม่ บทบาทที่เปลี่ยนไปของการรายงานข่าวนางงาม. www.facebook.com/ArtandCultureThaiPBS/videos/1766543416689207

ณัฐนิชา ทองทวี และคณะ. (2560). รูปแบบการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ของบิวตี้บล็อกเกอร์ยอดนิยม 4 อันดับแรกของไทยบนสื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(2), 125-132.

ธนพล ตั้งสิริสุธีกุล. (2562). การศึกษารูปแบบการนำเสนอข้อมูลร้านคาเฟ่ของฟู้ดบล็อกเกอร์ในประเทศไทยบนสื่อสังคมออนไลน์. [สารนิพนธ์ การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล].

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา.(2563).วิธีวัดผล KPI บนโลกโซเชียลมีเดีย. www.popticles.com/marketing/kpi-for-social-media

พิชญา สิทธิบุตร์. (2559). โลกออนไลน์อาเซียน. สมุทรปราการ: บริษัท ออฟเซ็ทพลัส จำกัด.

วรวรรณ วาณิชย์เสริมกุล. (2562). การศึกษารูปแบบการนำเสนอเนื้อบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ Watsons ที่ทำให้เกิด Engagement. [การค้นคว้าอิสระ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2561). สื่อศาสตร์ หลักการ แนวคิด นวัตกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 1). ปทุมธานี: สำนักพิมพ์นาคร.

Insightera. (2566). สรุปข้อมูลที่ควรรู้ DIGITAL 2023 THAILAND จาก We Are Social และ Meltwater. www.insightera.co.th/digital-2023-thailand

Pptvhd36. (2566). ตารางเชียร์ “แอนโทเนีย โพซิ้ว” ชิงมงกุฎ Miss Universe 2023. www.pptvhd36.com/news/ข่าวบันเทิง/209259

STEPS Academy. (2560). 7 ประเภทของ CONTENT MARKETING ที่ช่วยดึง ENGAGEMENT บน FACEBOOK.https://stepstraining.co/social/content-marketing-boost-facebook-engagement

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-06