องค์ประกอบภาพ คุณค่าทางวารสารศาสตร์ และการสื่อความหมาย ที่สะท้อนผ่านภาพข่าว รางวัลอิศรา อมันตกุล ของ “สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย”
คำสำคัญ:
การจัดองค์ประกอบศิลป์, ภาพถ่ายข่าว, การประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล, สมาคม นักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, คุณค่าทางวารสารศาสตร์, การสื่อความหมายบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการจัดองค์ประกอบภาพข่าวรางวัลอิศรา อมันตกุล (2) คุณค่าทางวารสารศาสตร์ของภาพข่าวรางวัลอิศรา อมันตกุล (3) การสื่อความหมายขององค์ประกอบภาพข่าวรางวัลอิศรา อมันตกุล ของ “สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย” โดยแนวคิดและทฤษฎีที่นำมาใช้เป็นแนวทางในการเข้าสู่ปัญหานำวิจัยประกอบด้วย แนวคิดภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ แนวคิดคุณค่าทางวารสารศาสตร์ ศิลปะการถ่ายภาพ แนวคิดการสื่อความหมายด้วยภาพ แนวทางการวิเคราะห์ภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลภาพข่าวรางวัลอิศรา อมันตกุล ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2565 เพื่อนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบภาพข่าว คุณค่าทางวารสารศาสตร์ และการสื่อความหมาย
ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดองค์ประกอบภาพข่าวรางวัลอิศรา อมันตกุล ได้แก่ กฎสามส่วน พื้นที่ว่าง พื้นผิว เส้น ความซ้ำ การใช้กรอบภาพ ความสมดุล และ ภาพโครงทึบ เพื่อช่วยส่งเสริมให้ภาพมีความสวยงามและมีการสื่อความหมายมากยิ่งขึ้น (2) คุณค่าทางวารสารศาสตร์ของภาพข่าวรางวัลอิศรา อมันตกุล ได้แก่ ความใกล้ชิด ความเด่น ความผิดปกติ ความสนใจตามปุถุชนวิสัย ความขัดแย้ง ผลกระทบ เพื่อทำให้เกิดความสนใจของผู้อ่าน (3) การสื่อความหมายขององค์ประกอบภาพข่าวรางวัลอิศรา อมันตกุล ได้แก่ ความหมายเชิงสัญลักษณ์ของรูปทรงวัตถุในภาพ ความหมายแฝงของภาษาทางเทคนิคการถ่ายภาพ ความหมายแฝงทางหลักจิตวิทยาของสี อวัจนภาษาผ่านการแสดงออกทางสีหน้าและท่าทาง การสร้างความเป็นคู่ตรงข้าม
References
กนกรัตน์ ยศไกร. (2550). การถ่ายภาพเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
กฤษณ์ ทองเลิศ. (2554). การถ่ายภาพเชิงวารสารศาสตร์: แนวคิด เทคนิค การวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: อินทนิล.
ทวีชัย จันทะวงค์ และกาญจนา มีศิลปวิกกัย. (2564). วิชาชีพช่างภาพข่าวจากหนังสือพิมพ์เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นผู้รายงานข่าวและภาพในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช. (2564). กระบวนการคัดเลือกภาพถ่ายสารคดีเพื่อเผยแพร่ในนิตยสาร. นนทบุรี : คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พีรดนย์ บุญมา. (2560). การวิเคราะห์สัญญะของนักกีฬาในภาพยนตร์โฆษณา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/3152/1/phiradon_bunm.pdf
ไตรสิทธิ์ ศิริธนู (2560). การสื่อความหมายด้วยภาพของภาพถ่ายรางวัล โครงการ ประกวด ภาพถ่ายนานาชาติ เนื่องในงานวันนริศ. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. (2560). การสื่อสารด้วยภาพและกระบวนการถ่ายภาพ. https://www.chonburi.spu.ac.th/comm/admin/knowledge/A523one.pdf
ภากิตติ์ ตรีสุกล. (2551). หลักนิเทศศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วีรภัทร วิไลศิลปดีเลิศ. (2555). การวิเคราะห์เนื้อหาภาพข่าวยอดเยี่ยมรางวัลอิศรา อมันตกุล ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วัฒณี ภูวทิศ. (2551). การสื่อข่าวและการเขียนข่าว. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุนันทา แย้มทัพ. (2564). คุณค่าข่าวในวารสารศาสตร์ดิจิทัลศตวรรษที่ 21. เชียงใหม่: คณะการสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2545). การสื่อข่าว : หลักการและเทคนิค. กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
สมชาย พรหมสุวรรณ. (2548). หลักการทัศนศิลป์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย. (2562). ประวัติสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. https://tja.or.th/view/history/919https://tja.or.th/view/history/919
สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย.(2552). สื่อในพายุวิกฤต. https://tja.or.th/view/journalist-day-book/1204
สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย.(2555).วัฒนธรรมการแชร์ในอุตสาหกรรมสื่อ. https://tja.or.th/view/journalist-day-book/7853
สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย.(2558). อภิวัฒน์สื่อ Media Revolution. https://tja.or.th/view/journalist-day-book/9689
สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย.(2561). สื่อมืออาชีพในภูมิทัศน์ใหม่. https://tja.or.th/view/journalist-day-book/12411
สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย. (2563). Back to Journalist.https://tja.or.th/view/journalist-day-book/14191
สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย. (2565). ทางรอดสื่อ Living with Covid-19 #คนปรับเทคโนฯเปลี่ยน. https://tja.or.th/view/highlight/1340078
สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย. (2566). 68 ปี สมาคมนักข่าวฯ กับความท้าทายใหม่. https://tja.or.th/view/annual-report/1447212