การวิเคราะห์ประเด็นทางสังคมและการเล่าเรื่องเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในซีรีส์ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์
คำสำคัญ:
ประเด็นทางสังคม, การเล่าเรื่อง, ความหลากหลายทางเพศบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประเด็นทางสังคมเกี่ยวกับ LGBTQ ในซีรีส์ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ 2) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการเล่าเรื่องของ LGBTQ ในซีรีส์ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) คือซีรีส์ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ 2 ซีซั่น จำนวน 25 ตอน วิเคราะห์ผลการวิจัยด้วยการนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
ประเด็นทางสังคมเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในซีรีส์ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์มีจำนวน 4 ประเด็นดังนี้ 1) การแบ่งชนชั้นทางสังคม 2) การถูกกดทับในสังคมไทย 3)การสร้างมิตรภาพทางสังคม 4)ปัญหาความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ)
การเล่าเรื่องเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในซีรีส์ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ มีจำนวน 3 ประเด็นดังนี้ 1) แก่นเรื่องที่สะท้อนวิถีชีวิตความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) 2) บทสนทนาและดนตรีประกอบ และ 3) ความขัดแย้งในการเล่าเรื่อง
References
กนกพร กลิ่นดอกแกล้ว และ อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์. (2565). ความรุนแรงเชิงนวัตกรรม: ภาพสะท้อนการถูกกดทับจากการเรียนรู้ทางสังคมในสังคมไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์. 36(1),1-24
กาญจนา แก้วเทพ. (2545). สื่อสารมวลชน ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ศาลาแดง.
กีรติ สุวรรณศรี. (2549). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศรีราชา.
กฤษฎา บุญชัย. (2553). ความรุนแรงซ่อน/หาสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.
ขจิตขวัญ กิจวิสาละ. (2553). ความหมายของการขัดขืนอำนาจของสังคมผ่านการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ไทยระหว่าง พ.ศ.2513-2550. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
ดุลยา จิตตะยโศธร. (2551). บทบาททางเพศ: ในทัศนะของนักจิตวิทยา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.28(1),195-208.
ถนัด ศักดิ์แสงโสภา. (2542). วิเคราะห์ตัวละครและแนวคิดในงานประพันธ์ของ ประชาคม ลุนามัย . [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ].
นิวัฒน์ ศรีสัมมาชีพ. (2551). คิดและเขียนให้เป็นบทภาพยนตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ตะวันออก.
พงษ์เดช ศรีเล็กดี (2543). การรับรู้และทัศนคติต่อบทบาทนักแสดงที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ ในละครโทรทัศน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต].
อัญมณี สัจจาสัย. (2560). ความหลากหลายทางเพศ ตอนที่ ๓ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความ หลากหลายทางเพศของไทย เปรียบเทียบกับหลักสิทธิมนุษยชน. (บทความเพื่อนำ ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา รายการเจตนารมณ์กฎหมาย, สำนักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร).
อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์. (2558). การเล่าเรื่องนิเทศศาสตร์ : ศึกษาจากงานวิจัย.วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมนิด้า.2(1),31-58.
อวิรุทธ์ ศิริโสภณา. (2560). การประกอบสร้างความหมายของผู้หญิงที่ถ่ายทอดผ่านตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยมที่ถูกผลิตซ้ำ ระหว่างปี พ.ศ. 2530 – 2560. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
Sirapatson.(2012).ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อความหมาย. http://jibjib1510046.blogspot.com/2011/12/blog-post_23.html