ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของประชาชนในจังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • ธนพิสิฐ จรัสแสงจิระโชติ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม, แอปพลิเคชัน TikTok

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของประชาชนในจังหวัดจันทบุรี (2) เปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของประชาชนในจังหวัดจันทบุรีที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของประชาชนในจังหวัดจันทบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 400 คน

 

        ผลการวิจัยพบว่า (1) ประชาชนในจังหวัดจันทบุรีมีความรู้เกี่ยวกับแอปพลิเคชัน TikTok อยู่ในระดับสูงมาก (2) ประชาชนในจังหวัดจันทบุรีมีทัศนคติเชิงบวกมากต่อแอปพลิเคชัน TikTok (3) ประชาชนในจังหวัดจันทบุรีมีพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน TikTok อยู่ในระดับสูง (4) ประชาชนในจังหวัดจันทบุรีที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับแอปพลิเคชัน TikTok แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน (5) ประชาชนในจังหวัดจันทบุรีที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีทัศนคติต่อแอปพลิเคชัน TikTok แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และประชาชนในจังหวัดจันทบุรีที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีทัศนคติต่อแอปพลิเคชัน TikTok แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ เพศ (6) ประชาชนในจังหวัดจันทบุรีที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้ แอปพลิเคชัน TikTok แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และประชาชนในจังหวัดจันทบุรีที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน TikTok แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ เพศ (7) ความรู้มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อแอปพลิเคชัน TikTok ของประชาชนในจังหวัดจันทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์เชิงบวก และความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ (8) ความรู้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของประชาชนในจังหวัดจันทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์เชิงบวก และความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในระดับสูง (9) ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ แอปพลิเคชัน TikTok ของประชาชนในจังหวัดจันทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์เชิงบวก และความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลาง

References

ตฤณธวัช วงษ์ประเสริฐ. (2558). ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) ของวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์].

ปรมะ สตะเวทิน. (2540). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผุสดี เรืองทอง. (2545). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อร้านหนังสือออนไลน์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

พรทิพย์ วรกิจโภคาทร. (2531). การวิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรเชษฐ พิทยาพิบูลพงศ์. (2546). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม การเรียนแบบออนไลน์ (e-learning) ของนิสิตนักศึกษาในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

Carl I. Hovland and Others. (1953). Communications and Persuasion: Psychological Studies in Opinion Change. New Haven CT: Yale University Press.

Carter V. Good. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw Hill.

Nancy Z. Schwartz. (1972). Educational Measurement and Evaluation. New York: McGraw – Hill Book Co.

Thamonton Jang. (2022). Headlines, Marketing tech. https://marketeeronline.co/archives/283552.

Willio P. A. (1980). Organizations Research: Time Forrefelction, In Dan Nimmo. (ed.), Communication Yearbook 4. New Jersey: International Communication Association.

Wittawin A. (2020). Digital tips highlight slide social media trend. https://www.thumbsup.in.th/tiktok-trends-2020.

Zimbardo and Ebbessen. (1977). Influencing Attitude and Changing Behavior. California:Addison Wesley Publishing Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19