การศึกษาวิเคราะห์ภาพยนตร์อินเดียที่สะท้อนภาพความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
คำสำคัญ:
ภาพยนตร์อินเดีย, ภาพสะท้อนความไม่เท่าเทียมกันในสังคม, การวิเคราะห์ภาพยนตร์บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ภาพยนตร์อินเดียที่สะท้อนภาพความไม่เท่าเทียมกันในสังคม โดยทำการศึกษาโครงสร้างการเล่าเรื่อง สัญญะวิทยา ภาพสะท้อนความไม่เท่าเทียมกันที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์อินเดีย จำนวนทั้งหมด 5 เรื่อง ภาพยนตร์ Gunjan Saxena : The Kargil Girl : ติดปีกสู่ฝัน ,ภาพยนตร์ Skater Girl : สเก็ตติดฝันสู่วันใหม่ ,ภาพยนตร์ The White Tiger : พยัคฆ์ขาวรำพัน ,ภาพยนตร์ Gangubai Kathiawadi : หญิงแกร่งแห่งมุมไบ และภาพยนตร์ 12 Th Fail : คนสอบตก
ระเบียบการวิจัยการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาโครงสร้างการเล่าเรื่องของภาพยนตร์อินเดียที่สะท้อนภาพความไม่เท่าเทียมกันในสังคม เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ก่อนการวิเคราะห์ข้อมูลภาพยนตร์ทั้ง 5 เรื่อง ผู้วิจัยได้ทำการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลทางเอกสารและฐานข้อมูลทางออนไลน์ต่าง ๆ พร้อมทั้ง แนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อนำมาประกอบในการศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องของภาพยนตร์อินเดียที่สะท้อนภาพความไม่เท่าเทียมกันในสังคม สัญญะที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์และภาพยนตร์สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันในสังคมที่ภาพยนตร์แต่ละเรื่องได้นำเสนอ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยกำหนด
ผลการวิจัยพบว่าภาพยนตร์อินเดียที่สะท้อนภาพความไม่เท่าเทียมกันในสังคมมีองค์ประกอบที่น่าสนใจดังนี้ 1)โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์การเชื่อมโยงลำดับเหตุการณ์ของตัวละคร ปัญหา การต่อสู้ สภาพแวดล้อมสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันอย่างตรงไปตรงมากและสื่อให้เห็นถึงมุมมองสังคมวัฒนธรรมอินเดียผ่านภาพยนตร์ 2)ตัวละคร แต่ละเรื่องสร้างบทบาทให้ผู้ชมเข้าถึงบทบาทตัวละคร อารมณ์ ความรู้สึก 3) ฉากที่ปรากฏในภาพยนตร์จะแบ่งออกเป็นฉากที่สร้างขึ้น และฉากที่ถ่ายทำจากสถานที่จริง 4) ลักษณะของบทสนทนาที่แตกต่างกันด้วยบุคคิกตัวละคร เพศ อาชีพ อายุ ต่างกัน 5) สัญญะมีความแตกต่างกันแต่การแสดงรหัสสารยังชัดเจน 6) ภาพสะท้อนความไม่เท่าเทียมกันในสังคม สภาพแวดล้อม ปัญหาที่ตัวละคร พบเจอมีความแตกต่างกัน
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อแนวคิดและเทคนิค. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท เอดิสัน เพรส โพรดักส์ จำกัดดักส์.
กาญจนา แก้วเทพ. (2545). สื่อสารมวลชน ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศาลาแดง.
กฤษดา เกิดดี. (2541). ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ : การศึกษาว่าด้วย 10 ตระกูลสำคัญ. กรุงเทพฯ: ห้องภาพสุวรรณ.
กฤษดา เกิดดี. (2543). ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ : การศึกษาว่าด้วย 10 ตระกูลสำคัญ.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ พิมพ์คำ.
กำจร หลุยยะพงศ์. (2554). ดูหนังด้วยแว่นทฤษฎี: แนวคิดเบื้องต้นของการวิเคราะห์ภาพยนตร์.วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 6 (1): 21-50.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). พจนานุกรม ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
HTLS. (2019). The evolution of the world’s largest democracy.https://www.hindustantimes.com/india-news/htls-2019-the-evolution-of-the-world-s-largest-democracy/story-9Ok3FbGUDKFQfmYcVRugAP.html