การวิเคราะห์โฆษณาแฝงและกลยุทธ์การโน้มน้าวใจในการนำเสนอสินค้าสตรี ผ่านผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์

ผู้แต่ง

  • พิจิตรา เลาเหล็กพลี วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ลักษณา คล้ายแก้ว วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

โฆษณาแฝง, กลยุทธ์การโน้มน้าวใจ, สินค้าสตรี, ผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการนำเสนอเนื้อหาการแฝงโฆษณาสินค้าสตรีผ่านผู้ ทรงอิทธิพลออนไลน์ และ 2) ศึกษากลยุทธ์การโน้มน้าวใจในการนำเสนอแฝงโฆษณาสินค้าสตรีผ่านผู้ทรง อิทธิพลออนไลน์เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์การแฝงโฆษณาและกลยุทธ์การโน้มน้าวใจในการ นำเสนอสินค้าสตรีผ่านรายการของผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ โดยศึกษาจากคลิปวิดีโอที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ยูทูบ ย้อนหลัง 1 ปี (มกราคม-ธันวาคม พ.ศ. 2561) ของผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ จำนวน 4 ราย ได้แก่ สู่ขวัญ บูลกุล, แอน ทองประสม, โมเม ณภัทรสร และ นุ่น นพลักษณ์ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการแฝงโฆษณาสินค้าสตรีผ่าน ผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ ปรากฏการแฝงโฆษณาในรายการ 5 รูปแบบ ได้แก่ (1) การแฝงสปอตสั้น หรือ VTR สั้นๆ ก่อนเริ่มรายการ โดยใช้วิธีการแฝงโลโก้หรือชื่อสินค้า และการประมวลภาพสั้นๆ ที่แสดงการหยิบจับ สวมใส่ หรือการกล่าวถึงเรื่องราวที่น่าสนใจของสินค้า (2) การแฝงกราฟิกรูปแบบต่างๆ อาทิ โลโก้ตราสินค้า ชื่อตราสินค้าราคาสินค้าและโปรโมชั่นส่งเสริม การขาย ชื่อสถานที่จัดจำหน่ายสินค้า คำบรรยายเกี่ยวกับสินค้า (3) การแฝงวัตถุ อาทิ การแฝงสินค้าจริง ณ สถานที่จัดจำหน่าย การแฝงบรรยากาศของสถานที่จัดจำหน่าย การแฝงป้ายโลโก้ตราสินค้า การแฝงป้ายราคาสินค้า ป้ายลดราคาสินค้าต่างๆ ตลอดรายการ (4) การแฝง บุคคล เป็นสิ่งสำคัญที่พบได้ตลอดรายการ โดยบุคคลหลักในการแฝงโฆษณาคือ ผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ซึ่งเป็นผู้ ดำเนินรายการ และบุคคลรองคือ เจ้าของตราสินค้า แขกรับเชิญที่มีชื่อเสียง ทีมงานผู้ถ่ายทำรายการ และ พนักงานดูแลตราสินค้า (5) การแฝงเนื้อหา ได้แก่ การบอกเล่าประสบการณ์หรือความรู้สึกที่ดีต่อสินค้า อธิบายข้อมูลสินค้าต่างๆ อาทิ คุณสมบัติ คุณลักษณะ คุณประโยชน์ วิธีการใช้งาน ช่องทางการซื้อสินค้า สถานที่จัดจำหน่าย และการแนะนำโปรโมชั่นสินค้า จากรูปแบบการแฝงโฆษณาที่ปรากฏ และ 2) ด้านกลยุทธ์ การโน้มน้าวใจในการนำเสนอสินค้าสตรีผ่านผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ กลยุทธ์การดึงดูดใจเชิงเหตุผล (Rational Appeal) และกลยุทธ์การดึงดูดใจเชิงอารมณ์ (Emotional Appeal)

References

จินตนา ตันติศิริรัตน์. (2556). กลยุทธ์การจูงใจผ่านสื่อินเทอร์เน็ต: แฟนคลับนักร้องเกาหลีทำความดีเพื่อสังคม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์].

ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (2553). รู้ทันโฆษณาแฝง. http://resource.thaihealth.or.th/library/hot/12407

บดินทร์ เดชาบูรณานนท์, ชเณษฎ์นิจ สิทธิวาณิชย์กุล, ชโลมทิพย์ แซ่ตั้ง, พงศกร ภานุมาตรัศมี, อุไรรัช โฉมแก้ว,และ อธิบดี จันทร์ฉาย. (2561). รูปแบบของโฆษณาแฝงและการรับรู้ของผู้ชมในคลับ ฟรายเดย์เดอะซีรีส์ 7. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, ฉบับเสริม ครบรอบ 12 ปี มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์(ธันวาคม 2561), 70-81.

บุญยิ่ง คงอาชาภัทร. (2561). ผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์. https://today.line.me/th/pc/article/ ปีทอง”INFLUENCER”+เปิดงานวิจัยลูกค้าเชื่อรีวิว ออนไลน์+มากกว่าโฆษณา-Me3x5Q

ปิยาณี ศิริประภาษมงคล. (2558). กลยุทธ์การนำเสนอรายการสาธิตการแต่งหน้าทางสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการรับรู้ทัศนคติและการตัดสินใจของผู้รับชม กรณีศึกษา: รายการโมเมพาเพลิน [วิทยานิพนธ์ริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยรังสิต].

พิทักษ์ ชูมงคล. (2561). การตลาดเชิงเนื้อหา. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา หลักการสื่อสารการตลาด(หน่วยที่ 11-15). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา. (2557). รู้จักกับ “โฆษณาแฝง” ในวงการโทรทัศน์-ภาพยนตร์. http://phirakan.blogspot.com/2014/09/blog-post_23.html

วรัชญ์ ครุจิต. (2561). แนวคิดใหม่การประชาสัมพันธ์และการโฆษณาในเอกสารการสอนชุดวิชาหลักการประชาสัมพันธ์และโฆษณา (หน่วยที่ 1-5). นนทบุรี:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรวัฒน์ จินตกานนท์. (2557). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาการสร้างสารในงานนิเทศศาสตร์หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิลาส ฉำเลิศวัฒน์ และคณะ. (2559). re:digital การตลาดยุคใหม่ เจาะใจลูกค้า. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น & DPlus Guide.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2561). เปิดพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 61 คนไทยใช้เน็ต เพิ่ม 10 ชั่วโมง 5 นาทีต่อวัน. https://www.etda.or.th/content/etda-revealsthailand-internet- user-profile-2018.html

อภิชญา อยู่ในธรรม. (2561). การโฆษณาแฝง. ในเอกสารการสอนชุดวิชาสื่อโฆษณา (หน่วยที่ 1-7).นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Marwell, G., & Schmitt, D. (1967). Dimensions of compliance-gaining behavior: an empirical analysis. Sociometry, 30(4), 350–364.

Thumbsup. (2017). สุดยอดสถิติ influencer marketing ปี 2017. https://www.thumbsup.in.th/2017/12/stat-influencer-marketing-2017/

Wiseman, R. L., & Schenck-Hamlin, W. (1981). A multidimensional scaling validation of an inductively-derived set of compliance-gaining strategies. Communication Monographs,48(4), 251–270.

Perloff, R.M.(2010.) The Dynamic of Persuasive : Communication and Attitudes in the 21st Century (4th ed). New York : Routledge

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19