การสื่อสารเพื่อคัดค้านและสนับสนุนโครงการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
คำสำคัญ:
โครงการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา, กลยุทธ์การสื่อสารบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เนื้อหา รูปแบบ ช่องทาง และกลยุทธ์ของการสื่อสารเพื่อคัดค้านและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ที่ใช้การวิเคราะห์ตัวบท (textual analysis) จากข้อมูลซึ่งเก็บรวบรวมด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) โดยสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่ายจำนวน 4 คน การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (non-participant observation) และรวบรวมจากเอกสาร ที่ครอบคลุมการสื่อสารออนไลน์และกิจกรรมการสื่อสารทุกประเภท
ผลการศึกษาพบว่า การสื่อสารเพื่อคัดค้านโครงการมีขั้นตอนและรูปแบบการสื่อสารที่ยกระดับความรับรู้ของสาธารณชนและยกระดับความแข็งกร้าวของการแสดงออก ดังนี้ 1) การสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ “Friends of the Rivers” 2) การจัดตั้งเครือข่ายภาคประชาชน 3) การสื่อสารตามแนวทางวิชาการ 4) การสื่อสารชุมชน 5) การสื่อสารวัฒนธรรม 6) การรณรงค์ล่ารายชื่อประชาชนผ่าน change.org และ 7) การเผยแพร่ข่าวสารการใช้กระบวนการทางกฎหมาย ส่วนการสื่อสารเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใช้กลยุทธ์การสื่อสารในลักษณะตั้งรับและตอบโต้การโจมตีของฝ่ายคัดค้าน ดังนี้ 1) การแถลงข่าว ความคืบหน้าของโครงการ 2) การให้สัมภาษณ์ ของโฆษกโครงการเพื่อชี้แจง 3) การสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ “Chao Phraya For All” และ 4) การนำเสนอคลิปวิดีโอในรูปแบบสารคดี
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2553). การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.
กาญจนา แก้วเทพ. (2550). ทบทวนหวนคิดและเพ่งพินิจไปข้างหน้า การสื่อสารเพื่อการพัฒนาในสังคมไทย. วารสารการสื่อสารมวลชน,1(1), 1-30.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2545). วาทกรรมการพัฒนา : อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : วิภาษา.
ญาณิศา คำภีระ. (2548). วาทกรรมการพัฒนา :การสร้างกระเช้าไฟฟ้าในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/กรุงเทพฯ.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และ ถวิลวดี บุรีกุล. (2548). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพ : สถาบันพระปกเกล้า.
นภาพร แจ่มทับทิม. (2556). ประชาธิปไตยกับ ‘โซเชียลมีเดีย’ กับมุมคิด ‘ตุลย์ ปิ่นแก้ว’ : คอลัมน์คุยนอกกรอบ. คมชัดลึกออนไลน์. https://www.komchadluek.net/news/knowledge/173833
รัตนาวลี เกียรตินิยมศักดิ์. (2542). มณฑลสาธารณะของการสื่อสารผ่านสื่อกลางคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/94776.
ลดาพรรณ สิงคิบุตร. (2557). การเคลื่อนไหวคัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ผ่านเฟซบุ๊ก Sasin Chalermlarp. http://www.car.chula.ac.th/display7.php?bib=2050986
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562). ETDA เผย ปี 62 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10 ชั่วโมง 22 นาที Gen Y ครองแชมป์ 5 ปีซ้อน. https://www.etda.or.th/th/NEWS/ETDA-Revealed-Thailand-Internet-User-Behavior-2019.aspx
หทัยสิริ เจาวัฒนา. (2523). กระบวนการสื่อสารในการเคลื่อนไหว ของกลุ่มผู้คัดค้านโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย. http://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/159533