กลิ่น : อำนาจแห่งความหมายและจินตนาการ

ผู้แต่ง

  • วรวุฒิ อ่อนน่วม วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

กลิ่น, อำนาจแห่งความหมาย, จินตนาการ

บทคัดย่อ

        บทความนี้ เกิดจากการตั้งคำถามว่า “กลิ่น สร้างอำนาจแห่งความหมาย และสร้างจินตนาการได้อย่างไร” จากนั้นจึงได้เกิดการค้นหาคำตอบ บทความแบ่งเป็น 3 ส่วน โดยส่วนแรก เป็นการกล่าวถึงกลิ่นและความรู้สึกทางประสาทสัมผัส สมองมนุษย์ที่ทำหน้าที่รับกลิ่นและวิเคราะห์กลิ่น สามารถดมกลิ่น และการจำแนกกลิ่นที่ละเอียดละอ่อนและซับซ้อน สามารถรับรู้และแยกแยะกลิ่นต่าง ๆ สามารถจดจำหรือระลึกถึงกลิ่นต่าง ๆ และความทรงจำที่ต่อกลิ่นนั้นได้ ส่วนที่ 2 กลิ่นและการสื่อความหมาย กลิ่นจะมีความหมายเมื่อถูกสร้างสรรค์ กลิ่นจะเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบประสาทและสมอง เกิดการรับรู้เป็นภาพจินตนาการ อาจเป็นเหตุการณ์ ประสบการณ์ หรือความทรงจำ หรือการเกิดจินตนาการไปกับความรู้สึกนึกคิดที่ การสร้างสรรค์กลิ่นจึงถือเป็นการมุ่งสื่อสารความหมาย หรือความรู้สึกไปสู่ผู้รับ และส่วนที่ 3 กลิ่นกับการสร้างประสบการณ์การรับรู้ของแบรนด์ เป็นการสร้างแบรนด์หรือการตลาดของแบรนด์ ผ่านทางสัมผัสทั้ง 5 ทั้งการมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การได้กลิ่น และการลิ้มรส เมื่อผู้บริโภคได้สัมผัสนั้นจะมีการสร้างการนึกถึงหรือมีความผูกผันกับสิ่งที่เคยได้สัมผัสมาทันที มีการนำเรื่องกลิ่นหอมเข้ามาประยุกต์ใช้ในธุรกิจและบริการ โดยส่วนใหญ่ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย เป็นมิตร หรือมีความรู้สึกประทับใจในการใช้บริการ อาจทำให้เกิดการรับรู้จดจำ หรือเชื่อมโยงไปสู่เหตุการณ์ หรือเรื่องราวต่าง ๆ ไปพร้อมกับการรับรู้ข้อมูลสินค้า หรือการรับบริการ จะส่งผลให้ผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภคเกิดการรับรู้จดจำแบรนด์ บทความนี้เสนอว่า กลิ่นมีอำนาจทางความหมาย และจินตนาการ โลกแห่งกลิ่นจึงสมควรได้รับความสนใจและการวิเคราะห์ในเชิงวิชาการ เพื่อให้เข้าใจคุณค่าของกลิ่นมากขึ้น

References

ธีรยุทธ บุญมี. (2551). การปฏิวัติสัญศาสตร์ของโซซูร์เส้นทางสู่โพสต์โมเดอร์นิสม์. กรุงเทพฯ: วิภาษา.

ทัศนา พุทธประสาท. (2566). ยังหอมดังวันเก่า ยามเมื่อลมโชยมา ทำไมกลิ่นและความทรงจำของเราจึงสัมพันธ์กัน. https://thematter.co/science-tech/smells-and-memories/211800

ทัศนีย์ บุนนาค. (2545). น้ำหอม สุนทรียสื่อสารการตลาด “De Luxe”. กรุงเทพฯ: ทิปปิ้ง พอยท์ เพรส.

Marketingoops. (2017). สร้าง Experience กับผู้บริโภค ผ่าน Sensory Marketing. https://www.marketingoops.com/exclusive/how-to/experience-with-sensory-marketing/

Maria Lis-Balchin. (2006). Aromatherapy Science: a Guide for Healthcare Professionals. https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/14664242400608244

National Geographic ฉบับภาษาไทย. (2022). การรับรู้กลิ่นของมนุษย์. https://ngthai.com/science/44760/smellsci/

Rachel Herz.(2004). Neuroimaging evidence for the emotional potency of odor-evoked memory. Neuropsychologia,42(3),371-378.

Speed and Majid. (2018). Superior Olfactory Language and Cognition in Odor-Color Synaesthesia. Journal of Experimental Psychology: Human Perception and Performance, 44(3),1-14.

S. Craig Roberts, Jan Havlívek and Benoist Schaal. (2020). Human olfactory communication: current challenges and future prospects. https://royalsocietypublishing.ong/doi/10.1098/rstb.2019.0258

Tom,Z. (1992). We like to talk about smell: A worldly take on language, sensory experience, and the Internet. Journal of the International Association for Semiotic Studies, 2017(215),143-192

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19