จิตรกรรมฝาผนังพุทธอุโบสถอีสานในบริบทสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่นสมัยประเทศสยาม

(Murals in Buddhist Temples of Isan in the Local Social Cultural Context of Siam Nation State)

ผู้แต่ง

  • ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์

คำสำคัญ:

จิตรกรรมฝาผนังพุทธอุโบสถ, อัตลักษณ์สังคมวัฒนธรรม, Murals in Buddhist Temples, Social Cultural Identities

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

“จิตรกรรมฝาผนังพุทธอุโบสถอีสานในบริบทสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่นสมัยประเทศสยาม” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถแบบดั้งเดิมในภาคอีสาน ที่ถูกเขียนขึ้นในระยะที่ไทยใช้นามว่า “ประเทศสยาม”4 มีวัตถุประสงค์วิจัย 3 ข้อ คือ 1) ศึกษาสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือสมัยประเทศสยาม ในฐานะปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตรกรรมฝาผนังพุทธอุโบสถอีสาน 2) ศึกษาจิตรกรรมฝาผนังพุทธอุโบสถอีสานสมัยประเทศสยาม  ในมิติสัมพันธ์กับบริบทสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่น 5 กลุ่มพื้นที่สังคมวัฒนธรรม  และ 3) วิเคราะห์ลักษณะรูปแบบศิลปะและกระบวนการสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนังพุทธอุโบสถอีสานสมัยประเทศสยาม เก็บข้อมูลหลักด้วยการทำงานสนาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแนวคิดอัตลักษณ์วัฒนธรรม นำเสนอวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า

1. ลักษณะสังคมท้องถิ่นอีสานสมัยประเทศสยาม มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับวัฒนธรรมลาวล้านช้าง แต่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองการปกครองในฐานะส่วนหนึ่งของประเทศสยาม โครงสร้างข้างต้นได้ส่งผลต่อลักษณะรูปแบบและกระบวนการสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนังอีสาน

2. จิตรกรรมฝาผนังอีสานมี 2 รูปแบบสำคัญ คือ

    2.1 แบบพื้นบ้านลาวอีสาน เป็นจิตรกรรมกลุ่มใหญ่ กระจายอยู่ทุกกลุ่มสังคมลาวอีสาน 

   2.2 รูปแบบจิตรกรรมไทยประเพณีรัตนโกสินทร์  มี 3 ลักษณะ คือ 1) จิตรกรรมไทยประเพณีฝีมือช่างเขียนอาชีพ 2) จิตรกรรมไทยประเพณีแบบลาวอีสาน  และ 3) จิตรกรรมไทยประเพณีบางส่วน ที่ถูกช่างเขียนอีสานเลือกคัดลอกนำมาแทรกลงในบางส่วนของภาพเขียนแบบพื้นบ้านลาวอีสาน

3. ลักษณะรูปแบบและกระบวนการสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนังพุทธอุโบสถอีสาน สะท้อนสังคมท้องถิ่นอีสานในสมัยอดีต ทั้งในมิติอัตลักษณ์วัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น และมิติสัมพันธ์กับอำนาจการปกครอง และความทันสมัยจากกรุงเทพฯ ที่แผ่เข้าสู่ภาคอีสาน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา

ดังนั้น จิตรกรรมฝาผนังพุทธอุโบสถดั้งเดิมอีสาน จึงเป็นประวัติศาสตร์ความคิด จักรวาลทัศน์ และประวัติศาสตร์ชุมชนในสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นอีสานในมิติสัมพันธ์กับสังคมภายนอกทั้งในระดับรัฐสยามและรัฐชาติข้างเคียง

คำสำคัญ : จิตรกรรมฝาผนังพุทธอุโบสถ / อัตลักษณ์สังคมวัฒนธรรม

 

Abstract

Murals in Buddhist temples of Isan in the local social cultural context of Siam nation state” is qualitative research, which emphasizes the study of original murals in the Isan region that were painted in the period of Siam nation state. The study has three purposes which are 1) to study local cultural society of the North-eastern region in the period of Siam nation state. 2) to study the mural of Isan Buddhist temples of Siam nation state in relation to the context of local cultural society through the five groups of  local cultural society. 3) to analyse  the mural style and the process of creating the mural of Isan Buddhist temple  of Siam nation state. Researcher collects main data with field work, data analysis with the cultural identity concept and has research presentation with descriptive analysis. The research conclusions suggest as follow:

1. The local Isan society in Siam nation state is related to culture to Lao Lan Chang culture but has a relationship to politics as a part of Siam nation state. The above structure has effected to the type and creation process of Isan murals.

2. Isan murals has 2 crucial types:

     2.1 Local Lao Isan type is a majority group that has been spread throughout the Lao Isan society.

     2.2 The Traditional Ratthanakosin Thai styles painting has 3 categories 1) Traditional Thai painting is created by professional painter. 2) Traditional Thai painting types Lao Isan is the traditional Thai painting which the local painter endeavor to imitate. and 3) Some of traditional Thai painting that is created by Isan painter who has chosen the painting to insert in the local Lao Isan painting type.

3. The type and creation process of Murals in Buddhist Temples of Isan reflects the local Isan society in the previous days both cultural local community identity and the relationship with authority and modernity from Bangkok that had been spreading to Isan region since the reign of King RAMA 5.

Therefore, the traditional mural painting in Isan Buddhist temple is the historical thinking, cosmology and community history in local cultural society and Isan local community in relation with external society both Siam nation state level and nearby nation state.

Keywords: Murals in Buddhist Temples / Social Cultural Identities

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-01