จริยธรรมการตีพิมพ์

จริยธรรมในการตีพิมพ์
วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคมมุ่งเน้นการตีพิมพ์วารสารที่มีคุณภาพ ถูกต้องตามหลักวิชาการ เป็นที่ยอมรับและสอดคล้องกับมาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความตามข้อกำหนดของ Committee on Publication Ethics (COPE) จึงกำหนดจริยธรรมในการตีพิมพ์ ดังนี้ 

บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียน (Duties of Authors)

  1. ผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน ไม่อยู่ระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น ซึ่งพบว่าผลงานนั้นไม่เป็นผลงานใหม่ เคยได้รับการตีพิมพ์แล้ว หรืออยู่ระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นหากตรวจพบผู้เขียนหลักและผู้เขียนร่วมต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
  2. ผลงานที่ส่งมานั้นต้องไม่บิดเบือนข้อมูล หรือไม่ปกปิดข้อมูล หรือรายงานเป็นเท็จ หากกองบรรณาธิการพบว่าผลงานที่ส่งมานั้นบิดเบือนข้อมูล ปกปิดข้อมูล หรือรายงานเป็นเท็จ หากตรวจพบผู้เขียนหลักและผู้เขียนร่วมต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
  3. ผลงานที่ผู้เขียนอ้างอิงผลงานของตนเองหรือของผู้อื่น ผู้เขียนต้องจัดทำรายการเอกสารอ้างอิงท้ายบทความให้ครบถ้วนถูกต้องทุกรายการ หากตรวจพบผู้เขียนหลักและผู้เขียนร่วมต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
  4. ผลงานที่ผู้เขียนส่งเข้าระบบเพื่อรับการพิจารณาของวารสารจะต้องไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงาน(Plagiarism) ของผู้อื่นหรือของตนเอง หากตรวจพบผู้เขียนหลักและผู้เขียนร่วมต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
  5. ผู้เขียนต้องปฏิบัติตามรูปแบบที่วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคมกำหนด โดยผลงานที่ส่งเข้าระบบเพื่อรับการพิจารณาต้องผ่านการตรวจสอบความซ้ำซ้อนด้วยระบบอักขราวิสุทธิ์ โดยมีเกณฑ์ในการตรวจสอบจะต้องมีความซ้ำซ้อนไม่เกิน 20%

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

  1. ผู้ประเมินต้องตรวจสอบบทความที่ได้รับจากบรรณาธิการวารสาร หากพบว่าตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนหรือผู้เขียนร่วม ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น
  2. ผู้ประเมินต้องตรวจสอบบทความที่ได้รับจากบรรณาธิการวารสาร หากพบว่าเป็นสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ จึงตอบรับเชิญการเป็นผู้ประเมิน หากบทความที่ได้รับไม่เป็นสาขาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ ให้รีบตอบปฏิเสธการได้รับเชิญจากบรรณาธิการวารสารทันที
  3. ผู้ประเมินต้องประเมินบทความโดยปราศจากความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีแนวคิด ทฤษฎี หรือหลักเกณฑ์มาใช้ในการตัดสินบทความ
  4. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับ และไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่บรรณาธิการวารสาร ส่งบทความมาเพื่อให้ผู้ประเมินพิจารณา
  5. หากผู้ประเมินบทความพบส่วนใดของบทความมีความเหมือน หรือความซ้ำซ้อน หรือคัดลอกผลงานอื่น หรือบิดเบือนข้อมูล หรือปกปิดข้อมูล หรือรายงานเป็นเท็จ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที
  6. ผู้ประเมินต้องประเมินบทความภายในระยะเวลาที่กำหนด

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)

  1. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพและความเหมาะสมของบทความตามขอบเขตของวารสารและสาขาวิชาย่อยของวารสารกำหนด
  2. บรรณาธิการวารสารต้องพิจารณาบทความโดยปราศจากความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีแนวคิด ทฤษฎี หรือหลักเกณฑ์มาใช้ในการตัดสินบทความหรือผู้เขียนเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
  3. บรรณาธิการวารสารต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ผู้เขียนและผู้ประเมินบทความส่งมา
  4. บรรณาธิการวารสารไม่ตีพิมพ์บทความที่มีความเหมือน หรือความซ้ำซ้อน หรือคัดลอกผลงานอื่น หรือบิดเบือนข้อมูล หรือปกปิดข้อมูล หรือรายงานเป็นเท็จ
  5. บรรณาธิการวารสารมีการตรวจสอบบทความที่ผู้เขียนส่งเข้าระบบเพื่อป้องกันการคัดลอกหรือลอกเลียนผลงาน (Plagiarism) ของผู้อื่นหรือของตนเอง
  6. บรรณาธิการวารสารมีกระบวนการขั้นตอนที่ถูกต้องและชัดเจน
  7. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาผู้ประเมินบทความที่ความเชี่ยวชาญตรงกับบทความที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาให้มีความเหมาะสม
  8. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคมไม่มีนโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าดำเนินการ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการตีพิมพ์บทความ ยกเว้นผู้เขียนส่งบทความที่บิดเบือนข้อมูล หรือปกปิดข้อมูล หรือรายงานเป็นเท็จ หรือคัดลอกหรือลอกเลียนผลงาน (Plagiarism) ของผู้อื่นหรือของตนเอง หรือไม่เป็นผลงานใหม่ หรือเคยได้รับการตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน หรืออยู่ระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น เป็นเหตุให้มีกระบวนการพิจารณาหรือตีพิมพ์วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม ผู้เขียนหลักและผู้เขียนร่วมจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าวที่เกิดขึ้น