การสื่อสารการตลาดผ้าไท-ยวนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเชิงสร้างสรรค์ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
(Marketing Communication Adding Value to Thai-Yuan Clothes to Develop Creative Community Economy at Si Kiew District, Nakhon Ratchasima Province)
คำสำคัญ:
การสื่อสารการตลาด, ผ้าไท-ยวน, การสร้างมูลค่าเพิ่ม, เศรษฐกิจชุมชนเชิงสร้างสรรค์, Marketing Communication, Thai–Yuan Clothes, Added-Value, Community Creative Economyบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง "การสื่อสารการตลาด ผ้าไท-ยวน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเชิงสร้างสรรค์ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา" มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) เพื่อสร้างสื่อต้นแบบการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าไท-ยวน สีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และ 2) เพื่อการสืบสานวัฒนธรรมผ้าไท-ยวน มุ่งสู่เศรษฐกิจชุมชนเชิงสร้างสรรค์ โดยดำเนินการวิจัยด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อขับเคลื่อนดำเนินการ ประกอบด้วยการสนทนากลุ่มและกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน แล้วนำข้อมูลมาออกแบบสื่อต้นแบบ การสื่อสารตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าไท-ยวนอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา รวมถึงการสืบสานวัฒนธรรมผ้าไท-ยวน อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างสื่อต้นแบบการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าไท-ยวน ประกอบด้วยตราสัญลักษณ์,X-stand, บรรจุภัณฑ์, ใบปลิว, สื่อโปสเตอร์,สื่อไวนิล,สื่อออนไลน์ ได้แก่ เพจเฟซบุ๊กตลาดบ้านยวน นครจันทึก และสปอตโฆษณา และ 2) การสืบสานวัฒนธรรมผ้าไท-ยวน มุ่งสู่เศรษฐกิจชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ดำเนินการด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของ 4 ภาคส่วน ประกอบด้วย วัด ชุมชน หน่วยงานราชการ และสื่อมวลชนในการนำผ้าไท-ยวนเข้ามาจำหน่ายใน“ตลาดบ้านยวน นครจันทึก” ซึ่งผู้วิจัยร่วมกับชุมชนอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารตลาดบ้านยวน นครจันทึก เพื่อสร้างความยั่งยืนของตลาด อันตอบรับต่อนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนแก่ชุมชนต่อไป
คำสำคัญ :การสื่อสารการตลาด/ ผ้าไท-ยวน/การสร้างมูลค่าเพิ่ม/ เศรษฐกิจชุมชนเชิงสร้างสรรค์
Abstract
The research titled“Marketing Communication Adding Value to Thai-Yuan Clothes to Develop Creative Community Economy at Si Kiew District, Nakhon Ratchasima Province”was objected to 1) create the marketing communication media models for Si-Kiew Thai-Yuan cloth products at Nakhon Ratchasima province and 2) to carry down Thai-Yuan clothes to community creative economy. The qualitative methodology; the focus group and the community participation were used to convey the research. Finally, the results were synthesized and created the marketing communication media models for Si-Kiew Thai-Yuan clothes products at Nakhon Ratchasima province.The results were found that 1) the marketing communication media models for Si-Kiew Thai-Yuan cloth products were included with logo, X-stands, packaging’s, leaflet, poster, vinyl banners, online media ; Page of Ban
advertising spots 2) The transferring of Thai-Yuan clothes, which led to community creative economy, was conveyed by the participation of 4 sectors included with the temple, the community, the government and the mass media sectors. Thai-Yuan clothes were sold in “Ban Yuan NakhonChan Tukmarket”. By the cooperation between the research team and the community, the committees were erected toadministrate and sustain the market. This responded to the government policy creating the stability, the opulence and the sustainability to the community.
Keyword :Marketing Communication/ Thai–Yuan Clothes / Added-Value / Community Creative Economy
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ