การศึกษาอัตลักษณ์ประเพณีแห่หางหงส์ ธงตะขาบ สู่การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม: การออกแบบสร้างสรรค์ชุดการแสดงสำหรับการนำเสนอภาพลักษณ์การท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี

(A Study the Traditional Identities of Hae Hang Hong Thong Ta Khab to be Development of Cultural Capital: The Creative Design Performance for Presentation of Tourism Image in Pathumthani Province)

ผู้แต่ง

  • ประวิทย์ ฤทธิบูลย์

คำสำคัญ:

แห่หางหงส์ ธงตะขาบ, นาฏศิลป์สร้างสรรค์, การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม, Hae Hang Hong Thong Ta Khab, Creative Dance, Development of Cultural Capital

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การศึกษาอัตลักษณ์ประเพณีแห่หางหงส์ ธงตะขาบ สู่การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม:  การออกแบบสร้างสรรค์ชุดการแสดงสำหรับการนำเสนอภาพลักษณ์การท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี  มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของประเพณีแห่หางหงส์ ธงตะขาบในจังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อกำหนดรูปแบบ และองค์ประกอบการสร้างสรรค์การแสดงชุด “แห่หางหงส์ ธงตะขาบ” จากการตีความของอัตลักษณ์ รูปแบบ และการเลื่อนไหลทางวัฒนธรรมของประเพณีแห่หางหงส์ ธงตะขาบในจังหวัดปทุมธานี  และ 3) เพื่อหาประสิทธิภา0พของการสร้างสรรค์การแสดงชุด “แห่หางหงส์ ธงตะขาบ” ในด้านความคิดสร้างสรรค์ ในด้านความเหมาะสม และความพึงพอใจของผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับชมการแสดงก่อนการเผยแพร่สู่สังคมกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยใช้วิธีการเจาะจง โดยเลือกจากปราชญ์ชาวบ้าน ตัวแทนจากวัฒนธรรมจังหวัด และชาวบ้านในชุมชนที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีแห่หางหงส์ธงตะขาบ ของจังหวัดปทุมธานี ใช้เทคนิคการสโนว์บอล เขตพื้นที่ชุมชนมอญบางหลวง ตำบลบางหลวงอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี และเขตพื้นที่ชุมชนมอญสามโคก ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน การสนทนากลุ่ม และการระดมความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบประเมิน โดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์และในรูปแบบการแสดง ผลการศึกษาพบว่า

1. อัตลักษณ์ของประเพณีแห่หางหงส์ ธงตะขาบในจังหวัดปทุมธานี หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า ประเพณีถวายธงตะขาบนี้เป็นประเพณีสำคัญของชาวมอญในช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือ การแห่ธงไปถวายเป็นพุทธบูชาที่เสาหงส์ ซึ่งเป็นประเพณีประจำปีจัดกันเพียงปีละครั้ง ถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวมอญ เสาหงส์จึงเป็นสัญลักษณ์ของการสร้างวัดมอญในประเทศไทย โดยจะมีธงที่ใช้ประดับเสาหงส์ ในการจัดทำธงสำหรับแห่นั้นจะเริ่มต้นขึ้นก่อนวันสงกรานต์ โดยชาวบ้านจะไปรวมตัวกันที่วัดเพื่อช่วยกันเย็บผ้า และประดิษฐ์ดอกไม้สำหรับประดับที่หางหงส์ หลังจากจัดทำธงเสร็จเป็นที่เรียบร้อย จะมีการตั้งขบวนแห่ธง มีกลองยาวนำหน้า แห่ไปรอบหมู่บ้านจนสิ้นสุดยังวัดที่จะถวายธง ในระหว่างทางชาวบ้านที่เห็นขบวนก็จะออกมาร่วมอนุโมทนาด้วยการถวายเงินหรือสิ่งของปัจจัยให้กับวัด เมื่อไปถึงวัดแล้วก็จะกำหนดวันทำพิธีแขวนธงขึ้นยอดเสาหงส์อีกหนึ่งวัน โดยพิธีแขวนธงมักจะกำหนดให้ตรงกับวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ โดยมีผู้เฒ่ามาเป็นประธานฝ่ายชาวบ้านทำพิธีถวายแด่พระสงฆ์ หลังจากพระสวดทำพิธีเสร็จแล้วจึงมีการอัญเชิญธงขึ้นแขวนยังยอดเสาหงส์

 2. การกำหนดรูปแบบ และองค์ประกอบการสร้างสรรค์การแสดงชุด “แห่หางหงส์ ธงตะขาบ” เป็นการนำแนวคิด และแรงบันดาลใจมาจากองค์ประกอบที่อยู่ในประเพณีเข้ามาวิเคราะห์ ตีความหมายและค้นหาคุณค่าในคติชน ความเชื่อ และขั้นตอนของประเพณีออกมาเป็นชุดการแสดง โดยแบ่งออกเป็นช่วงที่ 1 “รวมจิตรอาสา”  ช่วงที่ 2 “ศรัทธารามัญ” และช่วงที่ 3 “สังสรรค์ประเพณี” ซึ่งดนตรีที่ใช้ในการประกอบการแสดง ชุด “แห่หางหงส์ ธงตะขาบ” นี้จะใช้ปีพาทย์ในลักษณะเครื่องใหญ่โดยจะแบ่งท่วงทำนองออกเป็น 3 ช่วง ซึ่งในแต่ละช่วงจะมีอัตราจังหวะ 3 ชั้น 2 ชั้น และชั้นเดียว การแต่งกายได้นำรูปแบบการแต่งกายของชาวมอญมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในการแสดง โดยมีการดัดแปลงวัสดุที่ใช้ และเพิ่มลวดลายเชิงสไบของผู้ชาย และเชิงผ้านุ่งของผู้หญิง โดยนำมาจากลายขนมผิงที่เป็นลายสถาปัตยกรรมที่ฉลุไม้ประดับตกแต่งตามช่องลมเหนือประตู และหน้าต่าง ศูนย์ประวัติศาสตร์เมืองปทุมธานี (ศาลากลางหลังเก่า) ในส่วนของอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบในการแสดงก็จะประกอบไปด้วย เสาหงส์ และธงตะขาบ โดยผู้วิจัยจะยึดรูปแบบดั้งเดิมของเสาหงส์ และธงตะขาบไว้อยู่ แต่จะปรับขนาด น้ำหนัก และวัสดุที่ใช้เพื่อให้เหมาะสมในการแสดง ท่ารำที่ใช้ประกอบในการแสดงชุด “แห่หางหงส์ ธงตะขาบ” จะเป็นรูปแบบของการใช้ภาษาท่าทาง อากับกิริยาตามธรรมชาติ ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย และท่ารำแม่บทของการรำมอญ เพื่อนำเสนอให้เห็นรูปแบบ และการสื่อความหมายที่เข้าใจได้อย่างชัดเจน

3. ประสิทธิภาพของการสร้างสรรค์การแสดงชุด “แห่หางหงส์ ธงตะขาบ” ในด้านความคิดสร้างสรรค์ ในด้านความเหมาะสม และความพึงพอใจของผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับชมการแสดงก่อนการเผยแพร่สู่สังคม จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่าน พบว่า ประสิทธิภาพในด้านความคิดสร้างสรรค์ผลงานการแสดงสร้างสรรค์ ชุด แห่หางหงส์ ธงตะขาบ อยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.16 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.46 และความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อผลงานสร้างสรรค์ พบว่า ความเหมาะสม และความพึงพอใจของผู้ทรงคุณวุฒิต่อการแสดงสร้างสรรค์ ชุด แห่หางหงส์ ธงตะขาบ อยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.30 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.50

 

คำสำคัญ :แห่หางหงส์ ธงตะขาบ /นาฏศิลป์สร้างสรรค์ /การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม

 

Abstract

        The research about the study of the identities of Hae Hang Hong Tong Ta Khab tradition for development of cultural capital: the creative design of the performance presenting tourism image in Pathumthani aimed to 1.) study the identities of Hae Hang Hong Tong Takhab tradition in Pathumthani, 2.) determine patterns and the creative elements of the performance named “Hae Hang Hong Tong Ta Khab” from the interpretation of the identities, standard and the cultural flow of Hae Hang Hong Tong Ta Khab tradition in Pathumthani and 3.) search for the efficiency of the creative design of the performance named “Hae Hang Hong Tong Takhab” in aspect of creative idea, appropriateness and the satisfaction of the qualifiers who reviewed the performance before get announced to the society. The example groups used for gathering information were savants, provincial culture representatives and ordinary people who were able to give information about Hae Hang Hong Tong Takhab tradition in Pathumthani. They were selected by purposive sampling method and Snow Ball sampling at the Burmese community in Bang Luang sub-district, Mueang district, Pathumthani and Burmese community in Samkok sub-district, Samkok district, Pathumthani. The tools used in gathering information were interview, evaluation form, discussions and brainstorm stages for content analysis on the qualitative data and quantitative data from the evaluation form by the basic statistic such as Mean and Standard Deviation then, presented with the descriptive analysis and performance.

        The study found that;

        1. The identities of Hae Hang Hong Tong Ta Khab tradition called as Tawai Tong Ta Khab Tradition, in Pathumthani was the important tradition of Burmese that would be celebrated during Songkran festival. It was the flag parade moving to the Swan Pole for celebrating as offerings to the Buddha. The event was annually performed only as the Burmese’s identities. So, the Swan Pole, the pole with flags decorating, was the symbol of creating Burmese temples in Thailand. The preparation of flags used in the parade would be made before the Songkran day, a lot of people gathered at the temple to do the sewing, make the artificial flower for decorating at the top of the pole. After finishing flags preparation, the parade, leading by Thai tom-tom players, would be formed up and moved around the village then, moved to the temple where the ceremony would be performed. During the trip, people would join the parade and donate things or money to the temple. When the parade was arrived the temple, they kept the offerings there 

and came back the next day for the Flags-Raising ceremony. The Flags-Raising ceremony, often set on the last day of Songkran festival, would be leading by the elders to offer the donations to the monks then, the monks would pray for them. After that, the Flags-Raising ceremony would be started.

2. Determination patterns and the creative elements of the performance named “Hae Hang Hong Tong Ta Khab” were established by analyzing and interpreting the concept and the inspiration from the elements of the traditions as well as adapting the folk wisdom, belief and tradition’s procedures into a performance. The performance was divided into 3 parts; 1. “Ruam Jit ArSa”, 2. “Sattra Raman” and 3. “Sangsan Prapenee”. The Piphat, oboe-based Thai orchestra, was originally used in the “Hae Hang Hong Tong Ta Khab” performance divided into 3 parts which each part contained 3 levels of rhythms (slow, medium and fast). For the costumes, there was adaptation of Burmese dressing into the performance, adapting materials, adding more patterns on the end of male breast clothesand the Panung, the brocade worn over the trunks, for female. The pattern was imitated from the Ginger bread architecture style decorating at the ventilators above the doors or windows of the Pathumthani Historical Centre (the old Hall). The equipment used in the performance were Swan Pole and Tong Ta Khab (centipede flags), the researcher still stick to the original style of Swan Pole and Tong Ta Khab, but reduced in sizes, weight and materials conforming to the performance. The dancing movements of the “Hae Hang Hong Tong Ta Khab” performance were the gestures, natural movement imitating, Thai dance arts movement and Burmese standard dancing movements to present the pattern and clear interpretation.

3. The Efficiency in the creative design of the performance named “Hae Hang Hong Tong Takhab” in aspect of creative idea, appropriateness and the satisfaction of the 6 qualifiers who reviewed the performance before get announced to the society, it found that the level of efficiency in the creative design of the performance named HAE HANG HONG TONG TAKHAB was at high, which had the Mean at 4.16, SD at 0.46 and the comments from the qualifiers to the creative works said that the appropriateness and the satisfaction of the qualifiers from the performance of HAE HANG HONG TONG TA KHAB was at high level which had the Mean at 4.30 and the SD at 0.50.

Keyword: Hae Hang Hong Thong Ta Khab / Creative Dance / Development of Cultural Capital

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-01