การพัฒนา e - Portfolio สำหรับนักเรียน แสดงผลผ่าน Smart Phone ด้วยการประยุกต์ใช้ QR Code

(The Development of Electronic Student Portfolio Displayed on Smartphone by Applying QR Code)

ผู้แต่ง

  • ผการัตน์ ทองจันทร์

คำสำคัญ:

แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์, สมาร์ตโฟน, คิวอาร์โค้ด, ประสิทธิภาพของ e-Portfolio, E-Portfolio, Smart Phone, QR Code, The e-portfolio’s efficiency

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินe-Portfolio สำหรับนักเรียนแสดงผลผ่าน Smart Phone ด้วยการประยุกต์ใช้ QR Code ประเมินความเหมาะสมในการนำไปใช้จริงโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน เลือกแบบเจาะจง และเพื่อประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศe-Portfolio โดยใช้วิธี Backbox จาก2 กลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง คือ กลุ่มที่ 1 ผู้ใช้ (นักเรียน) มัธยมศึกษาปีที่ 6จำนวน 5 โรงเรียนในจังหวัดนราธิวาส รวมทั้งสิ้น 193 คน และกลุ่มที่ 2 ผู้ใช้ (อาจารย์) คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์จำนวน 8 ท่าน เครื่องมือ คือe-Portfolio แบบประเมินความเหมาะสมของต้นแบบ e-Portfolioแบบประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศe-Portfolioสถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลวิจัยสรุปว่า

1.การพัฒนาe-Portfolio พบว่า มี4 องค์ประกอบได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อม 2) การเตรียมการก่อนการพัฒนา3) กระบวนการพัฒนา 4) การวัดและประเมินผล ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าเหมาะสมที่จะนำไปใช้งานจริงสามารถแยกแยะเป็นหมวดหมู่ แสดงถึงศักยภาพ ความสามารถในการสร้างผลงาน สะท้อนความคิด ความก้าวหน้าในการใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันของนักเรียน

2. ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศe-Portfolio จากผู้ใช้กลุ่มที่ 1 (นักเรียน)พบว่านักเรียนที่พัฒนาe-Portfolio ตามต้นแบบมีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.28, S.D. = 0.81) และกลุ่มที่ 2 (อาจารย์) พบว่า ระบบสารสนเทศ e-Portfolio มีประสิทธิภาพในการนำเสนอผลงานที่น่าสนใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.11, S.D. = 0.85)

คำสำคัญ :แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ /สมาร์ตโฟน /คิวอาร์โค้ด /ประสิทธิภาพของ e-Portfolio

 

Abstract

        The study aimed at developing and evaluating students’ electronic portfolios displayed on a smart phone by applying QR Code. The appropriateness of the e-Portfolio usage was assessed by 5 experts who were selected by purposive sampling method. The study also aimed at evaluating the efficiency of the e-Portfolio system by using Black-box testing techniques in two sample groups selected by purposive sampling method. The first group consisted of 193 students of Matthayomsuksa 6 from five schools in Narathiwat Province. The second group comprised of eight lecturers of Faculty of Management Sciences, Princess of Naradhiwas University. The tools used were the e-Portfolio, the evaluation form of the appropriateness of e-Portfolio’s prototype and the evaluation form of the efficiency of the e-Portfolio system. Statistics used in the study consisted of percentage, mean, and standard deviation. The study revealed that;

1. The e-Portfolios development consisted of four components which were: 1) readiness preparation, 2) pre-production preparation, 3) development process, and 4) measurement and assessment. The experts noted that the e-Portfolio was applicable and appropriate as the structure of the e-Portfolios could be divided into categories. It can reflect the students’ potential and ability to create works, express the idea and knowledge about recent technology.

2. According to the results of E-Portfolio efficiency evaluation from the first user group which composed of the students, revealed that the students who developed the e-Portfolio since the prototype have overall efficiency at a high level (= 4.28, S.D. = 0.81). The result from the second group which composed of the lecturers found that the e-Portfolio system was effective in presenting in interesting way at the highest level (=4.11, S.D. = 0.85).

Keyword: E-Portfolio / Smart Phone / QR Code / The e-portfolio’s efficiency

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-01