ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้แอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษา

(Factors affecting the use of animation in students’ learning)

ผู้แต่ง

  • สุวิช ถิระโคตร
  • ชญา หิรัญเจริญเวช

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ / วิเคราะห์ปัจจัย / แอนิเมชันเพื่อการศึกษา / Learning / Factor analysis / Educational animation

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
          แอนิเมชันถูกนำมาใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนรู้แก่ผู้เรียนอย่างกว้างขวาง เนื่องจากแอนิเมชันเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระไปยังผู้เรียนได้ดีแต่ยังไม่มีข้อสรุปว่าปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ผู้เรียนเลือกศึกษาด้วยสื่อแอนิเมชัน งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้แอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษา รวมทั้งพยากรณ์ระดับการรับรู้เนื้อหาจากแอนิเมชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิต และนิสิตของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 205 คน ที่มีคุณสมบัติหลัก คือ มีประสบการณ์ในการใช้และเรียนด้วยแอนิเมชัน เครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีข้อคำถามรวม 29 ข้อ วัดค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาซได้เท่ากับ 0.94 การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้วยวิธีสกัดองค์ประกอบหลัก หมุนแกนองค์ประกอบตั้งฉากด้วยวิธีแวริแมกซ์ และวิเคราะห์
ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ กำหนดวิธีวิเคราะห์แบบนำตัวแปรทั้งหมดเข้า พบว่า ปัจจัยที่สามารถจัดกลุ่มได้ทั้งสิ้น 4 ปัจจัย ได้แก่ (1) คุณลักษณะและคุณสมบัติของสื่อแอนิเมชัน (AA) ประกอบด้วย 9 ข้อ (2) การออกแบบแอนิเมชัน (DA) ประกอบด้วย 7 ข้อ (3) ความคิดเห็นและประสบการณ์ส่วนบุคคลที่มีต่อแอนิเมชัน (IP) ประกอบด้วย 7 ข้อ และ (4) ความสามารถของแอนิเมชันที่มีผลต่อผู้เรียน (EA) ประกอบด้วย มี 6 ข้อ สมการพยากรณ์ ระดับการรับรู้เนื้อหาจากแอนิเมชัน (LP) คือ LP = 8.124 + 0.190AA + 0.187DA + 0.516IP + 0.353EA

คำสำคัญ :  การเรียนรู้ / วิเคราะห์ปัจจัย / แอนิเมชันเพื่อการศึกษา

Abstract
          Animation is widely used as a lesson companion because it is an effective medium in conveying the lesson content to learners. However, it has not yet been proven what factors affect learners’ preference to use animation as a lesson companion. In this research, we studied what factors affect the use of animation in students’ learning process, as well as predicting the level of content perception from animation. Our participants were 205 students from Mahasarakham University and its Demonstration Primary and Secondary Schools, who passed the qualification of having used animation in their education. Participants answered the questionnaire with 29 questions, each representing a factor in using animation. The Cronbach’s alpha was 0.94. Then, the data was analyzed with mean, percentage, principal component analysis (PCA), orthogonal rotation with Varimax, and multiple regression analysis. When we conducted the analysis with all the variables introduced, the factors were categorized into 4 groups: (1) Affordances of Animation (AA) with 9 questions, (2) Design of Animation (DA) with 7 questions, (3) Individual Preferences and Experiences with Animation (IP) with 7 questions, and (4) Effects of Animation on Learners (EA) with 6 questions. The model predicting the level of content perception from animation (LP) was LP  = 8.124 + 0.190AA + 0.187DA + 0.516IP + 0.353EA

Keyword : Learning / Factor analysis / Educational animation

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-01