ปริมาณและหน้าที่ของภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในห้องเรียนของอาจารย์ ภาษาอังกฤษชาวไทย

(Quantity and Functions of Language Use in Classroom Speech of Thai EFL Lecturers)

ผู้แต่ง

  • เฉลิมชัย วงศ์รักษ์

คำสำคัญ:

การสอนภาษาอังกฤษ / การใช้ภาษาที่หนึ่ง / การปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียน / ความหลากหลายทางภาษาในห้องเรียน / English Teaching / L1 Use / Classroom Interaction / Language Diversity in the Classroom

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

       การวิจัยการสอนภาษาที่สองนอกจากจะมุ่งเน้นการศึกษาวิธีการสอนภาษาที่สองในรูปแบบต่างๆ แล้ว ปัจจุบัน นักวิจัยยังให้ความสนใจศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสอน อาทิ การศึกษาบทบาทของภาษาที่หนึ่งในห้องเรียน ภาษาที่สอง บทความนี้นำเสนอผลการวิจัยบทบาทของ ภาษาที่หนึ่งโดยการวิเคราะห์ปริมาณการใช้ภาษาที่หนึ่งของอาจารย์ ที่สอนวิชาภาษาอังกฤษเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไปที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งจำนวนหกคน การเก็บข้อมูลใช้การบันทึกเสียงและ วีดิทัศน์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการนับความถี่ของการใช้ภาษาต่าง ๆ ของอาจารย์ ทุก ๆ 4 วินาที ที่ปรากฏในกรอบการ ปฏิสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้แก่กรอบการปฏิสัมพันธ์เกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียน กรอบการปฏิสัมพันธ์สืบเนื่องจากบทเรียน และกรอบ การปฏิสัมพันธ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของบทเรียน ผลการวิจัยพบว่าอาจารย์ใช้ภาษาที่หนึ่งที่เป็นภาษาราชการคือภาษาไทย ในปริมาณที่สูงกว่าภาษาอังกฤษในทุกรายวิชาและใช้ภาษาที่หนึ่งที่เป็นภาษาถิ่น คือภาษาลาวอีสานน้อยที่สุด ผลการวิจัยจากงานวิจัยขนาดเล็กนี้นำมาเป็นจุดเริ่มการอภิปรายผลบริบทการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศในประเทศไทย

 คำสำคัญ : การสอนภาษาอังกฤษ / การใช้ภาษาที่หนึ่ง / การปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียน / ความหลากหลายทางภาษาในห้องเรียน

 Abstract

          Studies of L2 teaching often focus on teaching methods. At present, however, there is an increasing interest in examining other factors related to teaching such as the roles of L1 in L2 classrooms. This article addresses some of these aspects by presenting an analysis of L1 use by six university lecturers who taught English general education courses. Data collection was carried out by means of voice and video recordings; subsequently, the data were analysed by counting the frequency of language use in every 4 seconds in the lecturer’s speech in three different frames of classroom interactions: lesson frame, lesson support frame, and commentary frame. The results show that the official L1, Thai, was used more than English in all courses. The lecturers used the local L1, Lao Isan, the least. These findings, from a small scale research study, are used as a starting point to discuss teaching English as a foreign language in Thailand.

 Keyword : English Teaching / L1 Use / Classroom Interaction / Language Diversity in the Classroom

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-01