ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรู้เท่าทันข้อมูลและสื่อดิจิทัลของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร

The Factors Influencing Information and Digital Media Literacy of Youth in Bangkok

ผู้แต่ง

  • ชัชฎา อัครศรีวร นากาโอคะ
  • กฤชณัท แสนทวี

คำสำคัญ:

การรู้เท่าทันสื่อ, สื่อดิจิทัล, Media Literacy, Digital Media

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อและข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัล 2) ศึกษาการตระหนักในทักษะการรู้เท่าทันสื่อและข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัล 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการรู้เท่าทันสื่อและข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัล โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการใช้แบบสอบถามเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อดิจิทัล มากที่สุด 3 ลำดับ คือ ดูคลิปวีดิโอ ส่งข้อความพูดคุย เล่นเกมออนไลน์ 2) การตระหนักรู้ทักษะการรู้เท่าทันสื่อและข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ ทุกด้านอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลทักษะการรู้เท่าทันสื่อและข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร แบ่งตามรายด้าน คือ (1) ด้านสุขภาวะจากการใช้สื่อออนไลน์ และ (2) ด้านจริยธรรมและสำนึกร่วม สามารถร่วมกันอธิบายทักษะการรู้เท่าทันข้อมูลและสื่อดิจิทัล ได้ร้อยละ 52 (R2 = 0.52) ส่วนแบ่งรายคุณลักษณะ คือ เรื่อง (1) ควรศึกษาวิธีการป้องกันและการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการบริโภคสินค้าและจากการเปิดรับข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์(2) ควรเข้าใจถึงสิทธิ์ของตนเองในการใช้สื่อออนไลน์ และ (3) ควรโพสต์ข้อความอย่างรับผิดชอบ สามารถร่วมกันอธิบายทักษะการรู้เท่าทันข้อมูลและสื่อดิจิทัลของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 51.9 (R2 = 0.519)

คำสำคัญ : การรู้เท่าทันสื่อ / สื่อดิจิทัล

Abstract

     This research aimed to study 1) the information and media exposure behaviors through digital media 2) the awareness of information and media literacy skills through digital media 3) the factors influencing the information and media literacy through digital media. The quantitative research was carried out by conducting 400 questionnaires from randomly selected groups of youth in Bangkok. Data were analyzed with descriptive statistics including percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis. The results revealed that 1) top three media exposure behaviors are watching VDO clip, chatting and playing online game 2) the digital media literacy in every dimension are at high level 3) factors influencing information and media literacy skills through digital media of youth in Bangkok were described in each aspect and attribute. The components of the information and digital media literacy were in the following aspects: (1) the health of using the online media and (2) the ethics and consciousness which together explained the correlation of the information and digital media literacy skills at 0.52 (R2 = 0.52) or 52 percent. Moreover, the components of the information and digital media literacy in term of attributes were (1) should study how to prevent and resolve problems from the consumption of goods and from the information exposure through online media, (2) should understand their rights in the use of online media, and (3) should responsibly post online messages which together explained the correlation of the information and digital media literacy skills of youth in Bangkok at 0.519 (R2 = 0.519) or 51.9 percent.

Keywords: Media Literacy / Digital Media

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01