การพัฒนาทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยโดยการใช้สื่อการสอนชุดฝึกลีลามือ
Development of early childhood writing skills through the use teaching materials of training hands kit
คำสำคัญ:
เด็กปฐมวัย, สื่อการสอน, ชุดฝึกลีลามือ, ทักษะการเขียน, Early Childhood, instructional media, training hands kit, writing skillsบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยโดยการใช้สื่อการสอนชุดฝึกลีลามือ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การศึกษาผลของการใช้สื่อการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมหลังการใช้ชุดฝึกลือลามือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กนักเรียนชาย - หญิง อายุระหว่าง 3 - 4 ปี ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสาธิตอนุบาลราชมงคล คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 30 คน โดยเป็นกลุ่มทดลองเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที รวม 24 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้คือ สื่อการสอนชุดฝึกลีลามือและชุดทดสอบการเขียนของเด็กปฐมวัย แบบแผนการวิจัยเป็นแบบ Pretest - Posttest Design ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ด้วยการทดสอบค่าทีชนิด t-test independent test ผลการศึกษาพบว่า ทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยหลังการใช้สื่อการสอนชุดฝึกลีลามือ อยู่ในระดับสูงขึ้นทุกด้าน โดยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีคะแนนแตกต่างกันโดยกลุ่มทดลองมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุมหลังการใช้ชุดฝึกลีลามือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ: เด็กปฐมวัย / สื่อการสอน / ชุดฝึกลีลามือ / ทักษะการเขียน
Abstract
Development of early childhood writing skills through the use Teaching materials of training hands kit. This research aimed to 1) The study of the effects of using instructional media to improve early childhood writing skills. 2) To compare the writing skills of early childhood between the experimental group and the control group after using the hands-on training kit.The target group for this study was male students aged 3-4 years. Study in Kindergarten Year 1 Semester 1 Academic Year 2017 Rajamangala Demonstration School Faculty of Home Economics Rajamangala University of Technology Thanyaburi. amount 30 people. The experimental group. Select Specific And control group. 30 persons, 8 weeks per week, 3 times a day, 40 minutes per day, 24 sessions. Tools used Teaching materials, hands-on exercises and early childhood writing tests. Research Pretest - Posttest Design. Data were analyzed by t-test independent test. The study indicated that Early Childhood Writing Skills. In every higher level. The experimental group and the control group. The experimental group had higher scores than the control group after the use of hands-on training. At the .01 level of significance
Keywords : Early Childhood / instructional media / training hands kit / writing skills
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ