พฤติกรรมการเปิดรับสื่อกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของบุคลากรโรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา

Media Exposure and Political Participation of Officials of Fort Suranari Hospital, Nakhon Ratchasima Province

ผู้แต่ง

  • สุจิตรา กิตติศัพท์
  • เนตรชนก บัวนาค
  • พีรวิชญ์ คำเจริญ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, บุคลากรโรงพยาบาลค่ายสุรนารี, Media exposure, political participation, Officials of Fort Suranaree hospital

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของบุคลากรโรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของบุคลากรโรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของบุคลากรโรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative//Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรโรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 321 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.821 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบทีและค่าความแปรปรวนทางเดียวได้ผลวิจัยดังนี้

  1. 1. ผลการศึกษาข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของบุคลากรโรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.4 มีช่วงอายุระหว่าง 30-49 ปี ร้อยละ 55 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 60.1 และเป็นบุคลากรสาขาอื่นๆ อาทิ นายทหารธุรการ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราวทั่วไป ร้อยละ 93.8 ซึ่งบุคลากรมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อเพื่อเปิดรับข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 96 รองลงมา คือ Facebook ร้อยละ 1 และ YouTube ร้อยละ 87.2 ตามลำดับ
  2. ผลการมีส่วนร่วมทางการเมืองของบุคลากรโรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมทางการเมือง อยู่ในระดับต่ำ ในด้านการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุด//ร้อยละ 92.8 รองลงมา คือ การติดตามข่าวสารทางการเมือง ร้อยละ 77.9 และ การพูดชักชวนให้คนอื่นไปออกเสียงเลือกตั้ง ร้อยละ 63.9 ตามลำดับ
  3. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของบุคลากรโรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ พบว่า ระดับการศึกษา และวิชาชีพ ที่แตกต่างกันบุคลากรมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อเพื่อเปิดรับข่าวสารทางการเมือง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ เพศ และ อายุ ที่แตกต่างกันของบุคลากรมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อไม่แตกต่างกัน

คำสำคัญ : พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ / การมีส่วนร่วมทางการเมือง / บุคลากรโรงพยาบาลค่ายสุรนารี  

Abstract

           The objectives of this research were 1) to study media exposure of Fort Suranaree Hospital officials, Nakhonratchasima Province. 2) to study the political participation of the officials of Fort Suranaree Hospital, Nakhonratchasima Province. 3) to compare media exposure of official in Fort Suranaree hospital, Nakhon Ratchasima province by characteristics demography. The research was based on the quantitative.The samples used in this research were 321 officials of Fort Suranaree Hospital. The Multi-stage Sampling was used. The questionnaire, which the Cronbach's Alpha was equal to 0.821, was the tool for data collection. The data was analyzed with the percentage, Mean, the Standard deviation, t-test and One-way Anova. The results were as the following;

  1. 1. For the results of the demographic characteristic data, it showed that : most of the samples were female (70.4%) with an average age of 30-49 years old (55.1%), graduated of bachelor's degree (60.1%) and had professions in other fields (93.8%) such as clerk soldiers, temporary civil servants etc. The political media exposure via television was the highest (96%), respectively Facebook (89.1%) and YouTube (87.2%)
  2. 2. For the political participation of the officials, the samplings participated in politics in aspect of the election vote at lowest level (92.85%), respectively exposing to the political news (77.9%) and persuading others to vote for the election (63.9%).
  3. 3. For the comparison of the media exposure of the officials in aspect of the demographic characteristics, it was found that samplings, who had differences in education and careers ,exposed to political media differently at the level of significance at 0.05 samplings who had differences in sexes and ages also exposed to the media not differently.

Keywords : Media exposure / political participation / Officials of Fort Suranaree hospital

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01