เครื่องประดับอัตลักษณ์จันทบุรี : การศึกษาอัตลักษณ์ เพื่อพัฒนารูปแบบเครื่องประดับในเชิงพาณิชย์
Chanthaburi’s Identity Jewelry: Studying The Identity to Develop Patterns Jewelry in Commercial
คำสำคัญ:
การออกแบบ, เครื่องประดับ, จังหวัดจันทบุรี, อัตลักษณ์, Design, Jewelry, Chanthaburi Province, Identityบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และจำแนกอัตลักษณ์จังหวัดจันทบุรี และ2) เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องประดับอัตลักษณ์จันทบุรี ให้ตรงตามความต้องการของตลาดและสอดคล้องกับการผลิตเชิงพาณิชย์ ผู้วิจัยทำการศึกษาอัตลักษณ์จันทบุรี จากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และการเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากผู้อาศัยในจังหวัด ทำการศึกษากลุ่มตลาดและผู้บริโภคเครื่องประดับในปัจจุบัน และกำหนดแนวทางการออกแบบและพัฒนาแบบร่างเครื่องประดับ และประเมินแบบร่างเครื่องประดับโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อคัดเลือกแบบร่างเพื่อการผลิต
ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ของจันทบุรีแบ่งออกเป็น 4 บริบท ดังนี้ 1) บริบททางด้านธรรมชาติ 2) บริบททางด้านประวัติศาสตร์ 3) บริบททางด้านเศรษฐกิจวิถีชีวิต และ 4) บริบททางด้านศิลปวัฒนธรรม โดยการประเมินการรับรู้และเข้าใจอัตลักษณ์ของจันทบุรีของคนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรีผ่านบริบทด้านต่างๆ นั้น บริบทที่มีการรับรู้มากที่สุด คือ บริบทด้านธรรมชาติ และบริบททางด้านศิลปวัฒนธรรม โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.31 รองลงมาคือ บริบททางด้านประวัติศาสตร์ โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.28 และสุดท้ายบริบททางด้านเศรษฐกิจวิถีชีวิต โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.17 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ค่าเฉลี่ยการรับรู้และเข้าใจอัตลักษณ์จันทบุรีโดยร่วมอยู่ในเกณฑ์ ดี ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 4.26 การแบ่งกลุ่มผู้บริโภคในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่มีอายุระหว่าง 51-69 ปี (Baby Boomer (Gen-B), กลุ่มที่มีอายุระหว่าง 36-50 ปี (Generation X (Extraordinary Generation) และกลุ่มที่อายุระหว่าง 18-35 ปี (Generation Y (Millennial) โดยกลุ่มตลาดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตลาดคือ กลุ่มตลาดบน กลุ่มตลาดกลาง และกลุ่มตลาดล่าง ข้อมูลที่ได้นำไปออกแบบและพัฒนาเครื่องประดับอัตลักษณ์จันทบุรี โดยใช้แนวคิดการออกแบบผสมผสาน (Hybridization) เพื่อให้เกิดรูปแบบใหม่ ทำการออกแบบร่างทั้งหมด 12 ชุดแบบร่าง โดยแบ่งเป็น 3 ชุดแบบร่างต่อ 1 บริบทอัตลักษณ์จันทบุรี แบบร่างที่มีผลคะแนนประเมินสูงสุดในแต่ละบริบทจะถูกนำไปผลิต งานวิจัยนี้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องประดับให้มีเอกลักษณ์สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและสามารถผลิตได้ในเชิงพาณิชย์
คำสำคัญ: การออกแบบ / เครื่องประดับ / จังหวัดจันทบุรี / อัตลักษณ์
ABSTRACT
This research aims 1) to study identify and analyze the Chanthaburi’s identity and 2) to design and develop the Chanthaburi’s identity jewelry to suit the marketing demand and accord with commercial productions. The researcher studies the Chanthaburi’s identity from the interview of the professional group and collecting data from public, study the marketing group and jewelry’s consumer currently and define the guild line of design and develop pattern jewelry drafts including evaluate jewelry drafts by professional to nominate drafts for production.
The result found that the Chanthaburi’s identity has divided to 4 contexts as follow: 1) Natural context 2) Historical context 3) Economic lifestyle context 4) Arts and Culture context by evaluating the perception and understanding of Chanthaburi identity of people living in Chanthaburi through various contexts. The most perceived contexts are Natural context and Cultural context which average of 4.31, followed by a historical context with average of 4.28 and finally the economic context, lifestyle with an average of 4.17.Those shows that Average perception and understanding of Chanthaburi identity with participation is good that has an average of 4.26The current consumer has divided to 3 big groups such as: the group of ages 51-69 years (Baby Boomer (Gen-B), the group of ages 36 – 50 years (Generation X (Extraordinary Generation) and the group of ages 18 – 30 years (Generation Y (Millennial). The market group has divided by 3 markets as follow: Top market, Middle market and Bottom market. The information will be taken to design and develop the Chanthaburi’s identity jewelry by concept of Hybridization to create the new pattern and design drafts total 12 drafts by dividing 3 drafts to 1 context of the Chanthaburi’s identity. The draft which has top scores from evaluation in each context will be taken to produce. This research is the guild line to develop jewelry productions which have the identity according with demand of consumers and can produce in commercial.
Key words: Design / Jewelry / Chanthaburi Province / Identity
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ