การยอมรับการชำระเงินทางธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย: การศึกษาเชิงประจักษ์

การยอมรับการชำระเงินทางธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย: การศึกษาเชิงประจักษ์

ผู้แต่ง

  • สิริพรรณ แซ่ติ่ม

คำสำคัญ:

ธนาคาร, โมบายแบงค์กิ้ง, การชำระเงิน, การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ, การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์, Bank, Mobile Banking, Payment, Mobile Payment, Electronic Payment

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          จากการส่งเสริมสังคมไร้เงินสดของรัฐบาล ช่วยให้ประชาชนสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องเดินทางไปยังธนาคาร ส่งผลให้การทำธุรกรรมผ่านธนาคารทางโทรศัพท์มือถือมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่ พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามประชาชนส่วนหนึ่งยังคงนิยมชำระเงินด้วยวิธีการดั้งเดิม งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการชำระเงินผ่านธนาคารทางโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้งานในประเทศไทย และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจชำระเงินผ่านธนาคารทางโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้งานในประเทศไทย โดยใช้ส่วนขยายทฤษฎีรวมการยอมรับการใช้เทคโนโลยี (UTAUT2) ร่วมกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การรับรู้ความปลอดภัย และความเชื่อมั่น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ประสบการณ์ชำระเงินผ่านธนาคารทางโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย จำนวน 449 คน โดยการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก (Convenience sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามออนไลน์แบบมาตรประมาณค่า 7 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และสถิติการวิเคราะห์ด้วยโมเดลสมการโครงสร้างแบบวิธีกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน    (PLS-SEM) ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพในหน่วยงานรัฐบาลหรือนักเรียนนักศึกษา รายได้น้อยกว่า 10,000 บาท/เดือน มีประสบการณ์ชำระเงินผ่านธนาคาร
ทางโทรศัพท์มือถือ 1-3 ปี และมีความถี่ในการใช้งาน 1-5 ครั้งต่อเดือน สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้งใจ ชำระเงินผ่านธนาคารทางโทรศัพท์มือถืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความเชื่อมั่น ความเคยชิน และสภาพสิ่งอำนวยความสะดวก โดยการรับรู้ความปลอดภัยมีอิทธิพลทางบวกต่อความเชื่อมั่น ในขณะที่ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลมีอิทธิพลทางลบต่อความเชื่อมั่น ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ ความคาดหวังด้านประสิทธิภาพ ความคาดหวังด้านความพยายาม อิทธิพลของสังคม  แรงจูงใจด้านความบันเทิง และมูลค่าตามราคา ไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้งใจชำระเงินผ่านธนาคารทางโทรศัพท์มือถือ

 คำสำคัญ: ธนาคาร / โมบายแบงค์กิ้ง / การชำระเงิน / การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ / การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ 

 Abstract

           To promote cashless society. Thai government has driven mobile banking applications since year 2016. This enables Thai people to do their financial transactions anytime and anywhere. However, it has been found that most of them still prefer traditional cash payments. This quantitative research aims to 1) study consumer behaviors of mobile banking usage in Thailand, 2) study factors influencing consumer behaviors of intentions to use mobile banking in Thailand. By using the extended unified theory of acceptance and use of technology (UTAUT2) along with trust, privacy, and perceived security, 449 convenience samples with mobile banking experiences are investigated. The research instrument is online questionnaire with seven levels rating scales. The statistics used for data analysis are frequency, percentage, and partial least squares structural equation modeling (PLS-SEM). The statistical results reveal that most respondents are female aged 21-40 years old with the Bachelor's degrees from universities either working in government sections or studying. Their average income is less than 10,000 baht per month. They have used mobile banking for 1-3 years with the monthly frequency of 1-5 times. The significant factors that influence their behavioral intention to use mobile banking payment are trust, habit, and facilitating conditions. It is found that perceived security has a significant positive influence on trust; while privacy has a significant negative influence on trust. It is also revealed that performance expectancy, effort expectancy, social influence, hedonic motivation, and price value are not significant to behavioral intentions.

Keywords: Bank / Mobile Banking / Payment / Mobile Payment / Electronic Payment

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30