การพัฒนารูปแบบสมรรถนะระดับผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

การพัฒนารูปแบบสมรรถนะระดับผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • เทอดพงษ์ หงษ์หิรัญเรือง
  • ชุลีวรรณ โชติวงษ์
  • ปรีดา อัตวินิจตระการ

คำสำคัญ:

รูปแบบสมรรถนะผู้บริหาร, การพัฒนาสมรรถนะ, ธนาคารพาณิชย์ไทย, เศรษฐกิจดิจิทัล, การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากนวัตกรรม, Competency Model, Competency Development, Thai Commercial Bank, Digital Economy, Digital Transformation

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

       การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบสมรรถนะสำหรับผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์หาองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนารูปแบบสมรรถนะสำหรับผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 2. สร้างและพัฒนารูปแบบสมรรถนะสำหรับผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และ 3. จัดทำคู่มือการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล กลุ่มประชากรคือผู้จัดการสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 จำนวนทั้งสิ้น 6,522 สาขา จาก 14 ธนาคารพาณิชย์ไทย ในการศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษาแบบผสมผสานในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมสนทนากลุ่ม และเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และการสร้างโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling)

       ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบสมรรถนะสำหรับผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล มีองค์ประกอบทั้งสิ้น 13 องค์ประกอบ นำผลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบมาจัดทำโครงร่างรูปแบบสมรรถนะสำหรับผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และนำเข้าสู่การประชุมสนทนากลุ่ม โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการเงินการธนาคาร ด้านนวัตกรรม ด้านทรัพยากรมนุษย์ และนักวิชาการ เพื่อลงมติรูปแบบสมรรถนะสำหรับผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ผลการลงมติเป็นเอกฉันท์ พบว่าองค์ประกอบสมรรถนะสำหรับผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล สามารถนำมาจัดกลุ่มเพื่อเป็นรูปแบบสมรรถนะสำหรับผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 10 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ 2) การเจรจาต่อรอง 3) การวางตัว 4) ภาวะผู้นำ 5) การจัดการอย่างเป็นระบบ 6) นวัตกรรมที่เกิดจากพัฒนาผลิตภัณฑ์ 7) นวัตกรรมที่เกิดจากกรอบแนวคิด 8) ผลกระทบจากนวัตกรรม 9) ช่องทางที่จะใช้นวัตกรรม และ10) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี นำรูปแบบสมรรถนะสำหรับผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ได้รับการเห็นชอบด้วยมติเอกฉันท์มาสร้างเป็นคู่มือการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ผลการประชุมสนทนากลุ่มสรุปว่าสามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลได้

คำสำคัญ:  รูปแบบสมรรถนะผู้บริหาร / การพัฒนาสมรรถนะ / ธนาคารพาณิชย์ไทย / เศรษฐกิจดิจิทัล / การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากนวัตกรรม 

Abstract

     The purposes of this research were: 1) to analyze the essential components for Thai Commercial Bank’s Managers in Digital Economy, 2) to develop a competency model for Thai Commercial Bank’s Managers in Digital Economy, and 3) to develop the manual for Thai Commercial Bank’s Managers. The population was 6,522 branches from 14 Thai Commercial Banks and participants were Thai Commercial Bank Executives, Thai Commercial Bank’s Managers, Innovation Experts, Competency Development Experts, and Academics. The study was a mixed method of qualitative and quantitative approaches. The methods of the qualitative approach were in-depth interview and focus group and the method of quantitative approach was questionnaire. The analysis technique for qualitative was content analysis and the analysis techniques for quantitative were statistical frequency, average, standard deviation, exploratory factor analysis, confirmatory factor analysis, and structural equation modeling.

     The results showed that there were 13 essential components. The draft of competency development model for Thai commercial bank’s Managers in digital economy has been developed, and calibrated during the focus group discussion. In the focus group committee, the model was revised into 10 components. There were: Technological Literacy, Product Innovation, Paradigm Innovation, Innovation Impact, Innovation Channel, Business Opportunity, Negotiation, Demeanor, Leadership and Systematic Management. Based on the research findings, the instructional manual was developed and verified by the focus group committee for its appropriateness in application.                                                                             

Keywords: Competency Model / Competency Development / Thai Commercial Bank / Digital Economy / Digital Transformation

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30