การศึกษาแนวโน้มการออกแบบเครื่องประดับในศตวรรษ 21 เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับหินดิบด้วยกระบวนการออกแบบ

The Study on Jewelry Design Trends in The 21st Century to Create Value Added for Raw Stone by the Design Process

ผู้แต่ง

  • พรพิมล พจนาพิมล

คำสำคัญ:

การออกแบบ, เครื่องประดับ, หินดิบ, การสร้างมูลค่าเพิ่ม, ศตวรรษ 21, Design, Jewelry, Raw stones, Value added, 21st century

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  1)เพื่อศึกษาแนวโน้มการออกแบบเครื่องประดับในศตวรรษ 21  2) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับหินดิบด้วยกระบวนการออกแบบ และสร้างสรรค์ผลงานต้นแบบเครื่องประดับ  ผู้วิจัยทำการศึกษาแนวโน้มการออกแบบเครื่องประดับในศตวรรษ 21 ช่วงปี ค.ศ. 2017-2018 ซึ่งเป็นการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ที่สอดรับกับนโยบาย Thailand 4.0  ในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับหินดิบด้วยกระบวนการด้านออกแบบเครื่องประดับ  โดยทำการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มสตรีอายุ 18 - 60 ปี ในกรุงเทพมหานคร ที่มีการเลือกซื้อเครื่องประดับ โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  Selected Sampling) จำนวน 500 คน ทำการกำหนดแนวทางการออกแบบและพัฒนาแบบร่างเครื่องประดับหินดิบ และประเมินแบบร่างเครื่องประดับหินดิบโดยผู้เชี่ยวชาญ

              ผลการศึกษาพบว่าแนวโน้มการออกแบบเครื่องประดับในปี 2017-2018 ได้กล่าวถึงแนวคิดในการออกแบบเครื่องประดับที่แตกต่างกัน 8 แนวคิด  และพบว่าทั้ง 8 แนวคิดนี้มีการใช้รูปแบบและลวดลายในการออกแบบเครื่องประดับสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท คือ เครื่องประดับที่ใช้รูปแบบและลวดลายเรขาคณิต   เครื่องประดับที่ใช้รูปแบบและลวดลายจากธรรมชาติ  เครื่องประดับที่ใช้รูปแบบและลวดลายที่มีความเป็นศิลปะ รูปแบบอิสระ  และเครื่องประดับที่ใช้รูปแบบและลวดลายที่มีความร่วมสมัย

            ผลการวิจัยพบว่าในด้านรูปแบบและลวดลายเครื่องประดับหินดิบที่ผู้ตอบแบบสอบถามชื่นชอบมาก คือ รูปแบบและลวดลายเรขาคณิต เช่น วงกลม วงรี สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม  หกเหลี่ยม ดาว หัวใจ เป็นต้น (ค่าเฉลี่ย 3.93)  และรูปแบบและลวดลายจากธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ ใบไม้ เถาวัลย์ ผึ้ง ผีเสื้อ สัตว์ต่างๆ เป็นต้น (ค่าเฉลี่ย 3.77) รองลงมาเป็นรูปแบบและลวดลายที่มีความเป็นศิลปะ รูปแบบอิสระ เช่น เส้นตรง เส้นโค้ง รูปร่างไร้เหลี่ยมมุม รูปทรงตามวัสดุ เป็นต้น(ค่าเฉลี่ย 3.38)  และรูปแบบและลวดลายที่มีความร่วมสมัย เช่น ย้อนยุค งานสมัยเก่ามาทำใหม่ อ้างอิงประวัติศาสตร์ เป็นต้น (ค่าเฉลี่ย 3.33)

            นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและเก็บข้อมูลมาออกแบบและพัฒนาเครื่องประดับหินดิบ  โดยใช้แนวคิดการออกแบบผสมผสานกันเพื่อให้เกิดรูปแบบใหม่  ทำการออกแบบร่างทั้งหมด 70 แบบร่าง ทำการคัดเลือกแบบร่างโดยผู้เชี่ยวชาญให้เหลือเพียง 5 แบบร่างที่มีคะแนนสูงสุด  พัฒนาปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ คัดเลือก 3 แบบร่างที่ได้คะแนนสูงสุดจะถูกนำไปผลิตเป็นชิ้นงานต้นแบบเครื่องประดับหินดิบ 

การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับหินดิบด้วยกระบวนการด้านการออกแบบร่วมกับการพัฒนาด้านรูปแบบเครื่องประดับจากแนวโน้มการออกแบบเครื่องประดับในศตวรรษ 21 ในช่วงปี ค.ศ 2017-2018 สามารถสร้างสรรค์และพัฒนาเครื่องประดับที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเป้าหมายในช่วงเวลาดังกล่าวได้ โดยผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อต้นแบบเครื่องประดับหินดิบมีคะแนนเฉลี่ย 4.51อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

 คำสำคัญ:  การออกแบบ / เครื่องประดับ / หินดิบ / การสร้างมูลค่าเพิ่ม / ศตวรรษ 21 

Abstract

            This research aims 1) to study the trends in jewelry design in the 21st century 2) to create value added for raw stone by the design process and to innovate jewelry masterpieces. The researcher studied the trends in jewelry design in the 21st century during the year of 2017-2018, which is a creative design that is consistent with Thailand 4.0 policy regarding innovation. By creating value added for raw stone by the design process of jewelry, this study relied on information from relevant documents and research data which were purposively collected by the total of 500 questionnaires from 18- 60year-old female respondents in Bangkok who purchased jewelry. The study sets guidelines for the design and development of raw stone jewelry drafts and evaluates the draft of raw stone jewelry by experts

            The results presented that the trend of jewelry design during 2017-2018 reveals the eight different jewelry design concepts and found that all eight concepts use patterns in jewelry design, which can be divided into 4 types, namely jewelry with geometric patterns, ornaments that use natural patterns and the ones with artistic patterns and independent art and the ones with contemporary styles and patterns.

            The research found that the form and pattern of raw stone jewelry that respondents are very fond of, namely general patterns and geometric patterns such as circles, ovals, triangles, rectangles, hexagons, stars, hearts, etc. (Mean=3.93)  and natural patterns such as flowers, leaves, vines, bees, butterflies, various animals, etc. (Mean=3.77). Followed by patterns with an independent art form, for instance, straight lines, curves, angular shapes and shapes according to material etc. (Mean=3.38) and contemporary styles and patterns, such as retro work, remake work that derives from historical references etc. (Mean=3.33)

            The data obtained from the study and data collection were designed and developed for raw stone jewelry. By using a combination of design concepts to create a new style. The total of 70 drafts were designed and only 5 drafts were selected by the experts regarding the highest scores. Then the five of remaining drafts was then developed according to the recommendations of the experts followed by selection of 3 drafts with the highest scores will later be made as a prototype of raw stone jewelry.

            Creating value added to raw stone with the design process together with the development of jewelry styles from the 21st century jewelry design trends during the years 2017-2018 can create and develop jewelry that meets the demands of the group that are targeted at that time. The results of the consumer satisfaction rating on raw stone jewelry prototypes have an average score of 4.51 which is at the highest satisfaction level.

Keywords: Design / Jewelry / Raw stones / Value added / 21st century

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30