รูปแบบการบริหารธุรกิจและกลยุทธ์ธุรกิจสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

ผู้แต่ง

  • ชุลีวรรณ โชติวงษ์ สาขาพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

การบริหารธุรกิจสิ่งพิมพ์, การจัดการเชิงกลยุทธ์, หนังสือ/ตำราเรียน, มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

บทคัดย่อ

การศึกษารูปแบบการบริหารธุรกิจและกลยุทธ์ธุรกิจสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารธุรกิจสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ  2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารธุรกิจสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และ 3) เพื่อกำหนดกลยุทธ์สำหรับธุรกิจสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบบูรณาการที่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์ บุคลากร นักศึกษาและผู้ที่ใช้บริการเลือกซื้อหนังสือ/ตำราเรียนของศูนย์ผลิตตำราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) การระดมสมองในการวิเคราะห์ SWOT ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป  ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารธุรกิจสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) มาตรฐานการบริการ 2) การผลิตและการออกแบบ 3) คุณภาพสิ่งพิมพ์ 4) การกำหนดราคา 5) คุณลักษณะผู้ใช้บริการ 6) ภาพลักษณ์องค์กร และ 7) ทำเลที่ตั้ง ผลการประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในด้านธุรกิจสิ่งพิมพ์พบว่าผู้ทรงคุณวุฒิเห็นชอบรูปแบบการจัดการธุรกิจสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ด้วยมติเอกฉันท์ ผลการวิเคราะห์ SWOT พบว่ากลยุทธ์สำหรับธุรกิจสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมี 3 ระดับ คือ กลยุทธ์ระดับองค์กร ได้แก่ กลยุทธ์แบบมุ่งเน้นการเจาะจงตลาดลูกค้า กลยุทธ์ระดับธุรกิจ ได้แก่ กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างด้านราคา และกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ ได้แก่ กลยุทธ์การตลาด 7P’s

References

จันจิรา ศิริเมตไต. (2556). การเปลี่ยนแปลงของหนังสือพิมพ์ในยุคอินเตอร์เน็ต. วารสารสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2(1).

ณัฏฐ์ชดา วัฒนาชัยผล. (2560). สื่อใหม่กับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสื่อข่าว. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 7(1).

ณัฐสิทธิ์ รามอินทร. (2555). การศึกษากลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อเพิ่มยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์ในธุรกิจประกันวินาศภัย กรณีศึกษาบริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน). ปริญญานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

บุษบง ดุรงคเวโรจน์. (2553). ปัจจัยด้านคุณประโยชน์ของหนังสือและรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อพฤติกรรมการอ่านหนังสือของบุคคลวัยทำงานในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บ.ธ.ม. (การจัดการ) กรุงเทพ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปรียลดา พรเจริญ. (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อวรรณกรรมแปลประเภทนวนิยายในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ บธ.ม. (การตลาด). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปรียาพร จิระไพฑูรย์. (2557). การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายของร้านจิระพาณิชย์อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พัชรินทร์ มณีขัติย์. (2555). พฤติกรรมของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ในการซื้อหนังสือธรรมะทางพุทธศาสนา. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ละออทิพย์ เกิดน้อย. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขต อ.เมือง จ.เชียงใหม่. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2559). แนวทางการพัฒนาสิ่งพิมพ์ออนไลน์ในยุคดิจิทัล วารสารนิด้า. ภาษาและการสื่อสาร, 21(29).

สมฤทัย สินเรืองสุข. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความสำคัญกับระดับความจงรักภักดีที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการของลูกค้าร้านหนังสือนายอินทร์ในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุพิมพรรณ เม็งขาว. (2554). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและการซื้อนิตยสารบันเทิงของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุภาวรรณ ภู่สกุลสุข และนิตนา ฐานิตธนกร. (2556). คุณภาพบริการและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อความภักดีต่อตราสินค้าในศูนย์การค้า อินเด็กซ์ลิฟวิ่งมอลล์กรุงเทพมหานคร. ในการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ 2556. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Kotler, P. & Keller, K. (2006). Marketing management (13th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Peters, T.J. and Waterman, R.H. (1982). “In Search of Excellence : Lessons from America's Best-Run Companies.” Harper & Row.

Michael, E. (1998). “Competitive Strategy:Techniques for Analyzing Industries andcompetitor” Competitive analysis : Porter’s five forces. New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29