การศึกษาตัวแบบเชิงกลยุทธ์สำหรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กรณีศึกษางานออกแบบผลิตภัณฑ์

ผู้แต่ง

  • นลพรรณ แสงสุริยัน วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ตัวแบบเชิงกลยุทธ์, เศรษฐกิจสร้างสรรค์, แรงงานสร้างสรรค์, แผนกลยุทธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การศึกษาตัวแบบเชิงกลยุทธ์สำหรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กรณีศึกษางานออกแบบผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงกลยุทธ์กับมูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยงานออกแบบผลิตภัณฑ์ และ 2) เพื่อพัฒนาตัวแบบเชิงกลยุทธ์ที่ใช้ในการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ศึกษากลุ่มตัวอย่างจากแรงงานสร้างสรรค์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณ มีการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ ANOVA (Analysis of Variance) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงกลยุทธ์กับมูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยงานออกแบบผลิตภัณฑ์ และมีการวิเคราะห์ระดับความเห็นด้วยกับตัวแบบเชิงกลยุทธ์สำหรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยใช้เกณฑ์แบบ Likert Scale เพื่อนำมาพัฒนาเป็นแผนกลยุทธ์สำหรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย ผลการศึกษา พบว่า ตัวแปรด้านโครงสร้างพื้นฐาน การตลาด การสร้างเครือข่าย กฎหมายและระเบียบ และกลไกการขับเคลื่อน ส่งอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยงานออกแบบผลิตภัณฑ์ ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถสร้างแผนกลยุทธ์สำหรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย (พ.ศ. 2564 – 2566) ได้อีกด้วย

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (ม.ป.ป.). ความรู้เบื้องต้นด้านทรัพย์สินทางปัญญา. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2562). โครงการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (Clusters). สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2562, จาก http://Info.dip.go.th/โครงการ/โครงการหลกกสCluster/tabid/137/Default.aspx

จารุวรรณ ขำเพชร. (2560). พื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ย่านสุขุมวิท. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 7(1): 42-49.

ณรงค์ชัย อัครเศรณี. (2553). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ แนวคิด กลยุทธ์ และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

ณรงค์ชัย อัครเศรณี. (2555). กระตุกต่อมคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (เล่ม 2). กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์ ลิฟ

ดนุชา พิชยนันท์. (2560). การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2562, จาก https://www.nesdc.go.th/download/document/Yearend/2017/PPT_Group4.pdf

ต่อศกุล พันธุ์พิพัฒน์. (2557). การวิเคราะห์นโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ: กรณีศึกษาการ ประยุกต์ใช้กับการพัฒนาเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (สื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ถ่ายเอกสาร.

ผุสดี วัฒนสาคร. (2557). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยสู่การเสริมสร้างเศรษฐกิจเชิง สร้างสรรค์. ดุษฎีนิพนธ์ ปร.ด. (พัฒนศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2556). เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ ปริทรรศน์สถาบันพัฒนศาสตร์. 7(1): 1-68.

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. (2562). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2562, จาก https://plan.bru.ac.th/แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ-ฉบับที่-12/

วนิดา แช่มพวงงาม. (2559). กฎเกณฑ์ในการปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การแพร่ขยายอาวุธที่มี อานุภาพทำลายล้างสูงตามกฎหมายระหว่างประเทศ และการศึกษาเปรียบเทียบการอนุวัติการ. ปริญญานิพนธ์ น.ม. (กฎหมายระหว่างประเทศ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. (2562). คิด Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์. ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.tcdc.or.th/upload/downloads/facing_challenges09.pdf

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. (2562). เศรษฐกิจสร้างสรรค์อนาคตเศรษฐกิจโลก… เศรษฐกิจไทย.” ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.tcdc.or.th/upload/downloads/ebook-TCDC-Outlook-vol1-th.pdf

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. (2562). Creative Economy in Action.” ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. สืบค้น เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://web.tcdc.or.th/en/Articles/Detail/CreativeEconomyinAction

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2552). รายงานการศึกษาเบื้องต้นเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ THE CREATIVE ECONOMY. กรุงเทพฯ: บริษัท บี.ซี. เพรส (บุญชิน) จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2562, จาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2559, ตุลาคม). อุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์. วารสารส่งเสริม การลงทุน 27(10): 6-21.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2562). จับกระแสอนาคตเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสาร CEA OUTLOOK. 42-59.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2562). มูลค่าของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.cea.or.th/มูลค่าของอุตสาหกรรม/

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2562). แรงงานสร้างสรรค์ของไทย. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2562, จาก http://www.cea.or.th/แรงงานสร้างสรรค์/

สุรชา บุญรักษา. (2557). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าขนมไทยในจังหวัด สมุทรสาครตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. ปริญญานิพนธ์ ศษ.ม. (วิชาพัฒนศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.

หยุด แสงอุทัย. (2552). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29