รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ

ผู้แต่ง

  • จุฑามาส ศรีชมพู สาขาพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ชุลีวรรณ โชติวงษ์ สาขาพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ธีรวัช บุณยโสภณ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
  • ปรีดา อัตวินิจตระการ สาขาพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา, ศักยภาพผู้ประกอบการ, อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ, Development Model, Entrepreneurs Potential, Biochemical Industry

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของศักยภาพผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ และ 3) เพื่อจัดทำคู่มือการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษาแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมสนทนากลุ่ม เครื่องมือเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม ประชากรในการศึกษา ได้แก่ ผู้ประกอบการ ผู้บริหารและบุคลากรในอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ ด้านศักยภาพผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพมี  6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) สมรรถนะในงาน 2) การบริหารธุรกิจ 3) กฎหมายและจริยธรรม 4) การสร้างมูลค่าเพิ่ม 5) เทคโนโลยีและนวัตกรรม และ 6) พลังขับเคลื่อน สำหรับด้านสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) คู่แข่งและซัพพลายเออร์ 2) พฤติกรรมผู้บริโภค และ 3) นโยบายภาครัฐ รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพได้รับมติเอกฉันท์จากผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสนทนากลุ่มมาสร้างคู่มือการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพและคู่มือการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ ด้านความเหมาะสมของคู่มือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพได้

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2557). จริยธรรมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2559). คู่มือการพัฒนามูลค่าเพิ่ม (Value Creation. Handbook). สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.dbd.go.th/download/article/article_20161103115457.pdf

ชญาภัทร์ กี่อาริโย. (2557). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ไชยยศ ร่มรื่นบุญกิจ. (2556). การพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการใหม่ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

บิล ออเล็ท. (2560). Disciplined Entrepreneurship (วิชาสร้างธุรกิจฉบับ MIT ). แปลโดย วิญญู กิ่งหิรัญ วัฒนา. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์บุ๊ค เซนเตอร์.

ปฏิภาณ สุคนธมาน. (2561, พฤษภาคม-สิงหาคม). แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีเพื่อสิ่งแวดล้อมเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชีวภาพ. รัฏฐาภิรักษ์. 60(2): 35-57.

ประสิทธิ์ ฉัตรแสงอุทัย. (2557). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารองค์กรธุรกิจในประชาคมอาเซียน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พสุ โลหารชุน. (2559). กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดสถิติ 8 ปัญหา SMEs ไทย. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2561, จาก https://www.smethailandclub.com/news-6745-id.html

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2550). Biotechnology เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับโลกยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์.

สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2560). รายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2561, จาก http://www.ipthailand.go.th/images/3534/web_01052018/Report_CHU/4_ Biofuel_and_biochemical_04.12.2017_CHU.pdf

สถาบันพลาสติก กระทรวงอุตสาหกรรม. (2560). Introduction to Petrochemical, Biochemical & Bioplastics & Opportunity for Thailand. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2561, จาก http://www.ocsb.go.th/upload/bioindustry/fileupload/9919-1403.pdf

สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์. (2559). เศรษฐกิจชีวภาพ. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2561, จาก http://forbesthailand.com/commentaries-detail.php?did=1097

สรวงอัยย์ อนันทวิจักษณ์. (2558). การพัฒนาพลังเสริมสร้างศักยภาพในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสายการผลิตอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน. (2558). แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2561, จาก https://ienergyguru.com/wp-content/uploads/2015/09/AEDP2015_Final_version.pdf

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). (2560). กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2561, จาก https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สุชาติ ไตรภพสกุล. (2558). ผู้ประกอบการไทยในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2561, จาก http://www.forbesthailand.com/commentaries-detail.php?did=697

สุเทพ เพชรมาก. (2562). วิธีการเลือกคนของแจ๊ค เวลช์. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562, จาก https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/how_to_select_a_jack_welch/index.html

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และคณะ. (2553, ตุลาคม-ธันวาคม). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจ. 33(128): 49-65.

อรรวีวรร โกมลรัตนวัฒนะ. (2557). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารระดับสูงในการบริหารงานเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Aguilar, F. J. (1967). Scanning the business environment. New York: Macmillan.

Bacigalupo, M., Kampylis, P., Punie, Y., Van den Brande, G. (2016). EntreComp: The Entrepreneurship Competence Framework. Luxembourg: Publication Office of the European Union.

Campos, H. Montiel. (2017). Impact of entrepreneurial passion on entrepreneurial Orientation with the mediating role of entrepreneurial alertness for technology-based firms in Mexico. Journal of Small Business and Enterprise Development. 24(2). Retrieved May 20, 2019, from https://doi.org/10.1108/JSBED-10-2016-0166

Drucker, P. F. (1999). Management challenges for the 21st century. New York: Harper Business.

Deakins, D., Bensemann, J., Battisti , M. (2016). Entrepreneurial skill and regulation: Evidence from primary sector rural entrepreneurs. International Journal of Entrepreneurial Behavior & Research, 22 (2). Retrieved May 20, 2019, from https://doi.org/10.1108/IJEBR-12-2014-0240

Foxall, G. R., & Sigurdsson, V. (2013). Consumer behavior analysis: Behavior economics meets the marketplace. The Psychological Record. 63(2). Retrieved May 20, 2019, from https://link.springer.com/content/pdf/10.11133%2Fj.tpr.2013.63.2.001.pdf

Frederick, H. H., Kuratko, D. F. and Hodgetts, R. M. (2007). Entrepreneurship: theory, process and practice. South Melbourne: Thomson Learning.

Hatten, T.S. (2006). Small Business Management: Entrepreneurship and Beyond. 3rd Ed. Boston: Houghton Mifflin.

Hisrich, R. D., Peters, M. P., and Shepherd, D. A. (2008). Entrepreneurship. New York: McGraw-Hill.

Porter, M.E. (1990). The Competitive Advantage of Nations. New York: Free Press.

Porter, M. E. (1998). Competitive Strategy: Techniques for Analyzing Industries and competitor. Competitive Analysis: Porter’s five forces. New York: Free Press.

Shukla, Amitabh. (2009). Top 7 Personal Competencies of an Entrepreneur. Retrieved Nov 25, 2018, from https://www.paggu.com/entrepreneurship/top-7-personal-competencies-of-an-entrepreneur/

Zainol, N. R., Mamun, A. A. (2018). Entrepreneurial competency, competitive advantage and performance of informal women micro-entrepreneurs in Kelantan, Malaysia. Journal of Enterprising Communities: People and Places in the Global Economy. 12(3). Retrieved May 20, 2019], from https://doi.org/10.1108/JEC-11-2017-0090

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29