กระบวนการสร้างสรรค์บทการแสดงจากวรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้ กรณีศึกษาเรื่อง หัวนายแรง
คำสำคัญ:
บทการแสดง, กระบวนการ, สร้างสรรค์, วรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้, หัวนายแรงบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการนำเสนอสาระการสร้างสรรค์บทการแสดงที่พัฒนามาจากการวิเคราะห์ ตีความจากวรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้ เรื่อง นายแรง จากการบอกเล่าในรูปแบบต่าง ๆ นำมาสร้างสรรค์บทการแสดง โดยแบ่งตามโครงสร้างบทละครตะวันตก ออกเป็น 3 ช่วง คือ ตอนต้น การเริ่มต้นของการเดินทาง ตอนกลาง ปัญหาและอุปสรรคระหว่างการเดินทาง และตอนปลาย จุดสิ้นสุดการเดินทาง มีการวิเคราะห์ตัวละครหลัก จากวรรณกรรมพื้นบ้าน คือ นายแรง ผู้ซึ่งมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาแล้วออกเดินทางไปตามหาเป้าหมาย นำไปใช้ในการออกแบบและสร้างตัวละครในบทการแสดง ซึ่งจะเป็นสื่อหนึ่งในการช่วยเล่าเรื่องให้ผู้ชมเข้าใจในจุดประสงค์ของผู้สร้างสรรค์ พร้อมกับใช้กลวิธีในการเล่าเรื่องแบบภายใต้มุมมองของผู้เล่าเรื่อง และเปรียบเทียบการเดินทางเป็นดั่งเกมส์บันไดงูกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น
ผู้วิจัยจึงให้ความสำคัญกับสร้างสรรค์และพัฒนาบทการแสดงเรื่องนี้ เพราะบทการแสดงถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการแสดง นำไปสู่การก่อเกิดจินตภาพ อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์การแสดงตามองค์ประกอบทางด้านนาฏยศิลป์ เพื่อสื่อสารให้กับผู้ชมหรือผู้รับสารเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของผู้สร้างสรรค์บทการแสดง ดังนั้น บทการแสดงนี้ จึงได้นำมาตีความหมายใหม่ ที่สะท้อนเรื่องราวของวีรบุรุษในชุมชนผ่านตัวละครหลัก เกิดจากความคิดของบุคคลต่าง ๆ และสถานการณ์ในอดีตตามวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องนายแรง แล้วมีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของพื้นที่ชุมชน ขนบ(พิธีกรรม) และศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ทั้งยังเป็นสื่อสะท้อนภาพในมิติเชิงจินตนาการในรูปแบบของโลกความเป็นจริงที่สอดคล้องกับสังคมร่วมสมัยในปัจจุบัน และปรัชญาชีวิตที่ให้เห็นทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม แล้วเชื่อมโยงเข้าสู่ประสบการณ์ของชีวิตผู้ชมหรือผู้รับสาร
References
นพมาส แววหงส์ (บรรณาธิการ). (2558). องค์ประกอบของบทละครใน. ปริทัศน์ศิลปการละคร. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วงศ์วรุฒม์ อินตะนัย. (2561). การออกแบบตัวละครนายแรงสำหรับสื่ออินโฟกราฟิก จากตำนานหัวนายแรง. รายงานการประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 41-50.
มัทนี รัตนิน. (2559). ศิลปะการแสดงละคอน : หลักเบื้องต้นและการฝึกซ้อม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โมฬี ศรีแสนยงค์. (2549). การวิเคราะห์วรรณกรรมเพื่อสร้างบทแสดงพื้นบ้านอีสาน เรื่อง อุษา-บารส. มหาสารคาม : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ศิราพร ณ ถลาง. (บรรณาธิการ). (2559). คติชนสร้างสรรค์ : บทสังเคราะห์และทฤษฎี. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน).
สรณัฐ ไตลังคะ. (2560). ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สกุล บุณยทัต. (2560). โรงมหรสพแห่งความสงบงาม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ArtHOUSE.
Devdutt Pattanaik. (2007). Playing with fate and free will. September 17, 2007.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ