ปรากฏการณ์ไอดอลในประเทศไทย : การสร้างสรรค์ภาพลักษณ์กับเครื่องแต่งกายสู่การประกอบสร้างตัวตนในสื่อใหม่

ผู้แต่ง

  • รินบุญ นุชน้อมบุญ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ไอดอลในประเทศไทย, ไอดอลไทย, ภาพลักษณ์, การออกแบบเครื่องแต่งกาย, การสร้างสรรค์เครื่องแต่งกาย, การสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายในสื่อใหม่, สื่อใหม่

บทคัดย่อ

ปรากฏการณ์ไอดอลในประเทศไทยที่เกิดขึ้น สะท้อนถึงบริบทสังคมปัจจุบันกับพัฒนาการของเทคโนโลยีในบทบาทของสื่อใหม่ พื้นที่ของสื่อใหม่บนสื่อสังคมออนไลน์ แสดงให้เห็นถึงปรากฏการณ์ด้านหนึ่งของ การประกอบสร้างตัวตนที่สัมพันธ์กับกระแสความนิยม โดยบุคคลและกลุ่มคนที่ได้รับความนิยมถูกเรียกว่า “ไอดอล” การประกอบสร้างตัวตนซึ่งมีที่มาทั้งจากกลุ่มผู้สร้าง จากความเป็นตัวตนของตนเอง และจากผู้เสพซึ่งเป็นกลุ่มผู้ติดตามหรือแฟนคลับ ภาพลักษณ์ที่นำเสนอจึงมีความหลากหลายรูปแบบ ทั้งยังสัมพันธ์กับประเด็นของที่มา เนื้อหา และเรื่องราวของไอดอล ร่วมกับมุมมองของกลยุทธ์เชิงธุรกิจการตลาด หากพิจารณาภาพลักษณ์ของไอดอลที่ปรากฏในกรณีศึกษาปรากฏการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายอันเป็นองค์ประกอบร่วมหนึ่งที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์สู่ภาพจำร่วมกับการเป็นภาพตัวแทนที่สามารถพัฒนาต่อยอดกับการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า การพัฒนาสู่การเป็นภาพตัวแทนสินค้า สามารถเป็นปัจจัยร่วมหนึ่งที่ส่งเสริมต่อการขับเคลื่อนทางด้านธุรกิจและการออกแบบเพื่อธุรกิจ โดยปรากฏการณ์ของไอดอลในประเทศไทย สามารถจำแนกการสร้างสรรค์ภาพลักษณ์เครื่องแต่งกายกับการประกอบสร้างตัวตนในสื่อใหม่ออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ ปรากฏการณ์แรก : ไอดอลกับการสร้างสรรค์ภาพลักษณ์กับเครื่องแต่งกายร่วมกับการประกอบสร้างตัวตนด้วย กลยุทธ์การทำวัฒนธรรมให้กลายเป็นสินค้าภายใต้พื้นที่สื่อใหม่กับการก่อเกิดวัฒนธรรมใหม่ แสดงถึงการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายกับการเป็นภาพตัวแทนไอดอลเหล่านั้นด้วยการเลียนแบบ เปรียบเสมือนการถูกครอบงำทางวัฒนธรรมจากชาติอื่นในที่นี้คือประเทศเกาหลีใต้ นอกจากนี้ในประเด็นของการใช้บริบททางวัฒนธรรมยังมี การสร้างสรรค์ภาพลักษณ์กับเครื่องแต่งกายด้วยการผสมผสานระหว่างสองวัฒนธรรม โดยเป็นการนำเอากลิ่นอายความเป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่นผสานกับวัฒนธรรมไทย ด้วยการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ภายใต้อิทธิพลและแรงบันดาลใจจากยุคสมัยในอดีตของไทย นำเสนอแบบบริบทไทยร่วมสมัย ปรากฏการณ์ที่สอง : ไอดอลกับการสร้างสรรค์ภาพลักษณ์กับเครื่องแต่งกายร่วมกับการประกอบสร้างตัวตนด้วยความเป็นตัวเอง แสดงถึงการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายที่ออกแบบหรือเป็นลักษณะของการจัดวางเลือกใช้ที่สัมพันธ์กับรสนิยมและวิถีชีวิตความเป็นมาของตนเองอย่างเป็นอัตลักษณ์ในแบบเฉพาะตน ปรากฏการณ์ที่สาม : ไอดอลกับการสร้างสรรค์ภาพลักษณ์เครื่องแต่งกายกับการประกอบสร้างตัวตนร่วมกับกระแสความนิยม ด้วยกระแสความนิยมที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการย้อนแย้งสู่การคันหาตัวตนกับภาพความทรงจำในอดีตของไอดอล โดยรูปแบบของเครื่องแต่งกายที่ปรากฏเป็นรูปแบบของการประยุกต์สร้างสรรค์ขึ้นจากการได้รับอิทธิพลเครื่องแต่งกายสไตล์ลูกทุ่งไทย ปรากฏการณ์ดังกล่าวยังส่งผลต่อการเกิดไอดอลรุ่นใหม่กับการสร้างสรรค์ภาพลักษณ์กับเครื่องแต่งกายด้วยลักษณะของการจัดวางแบบปะติด หรือเป็นไปในลักษณะการประกอบสร้างตัวตนแบบข้ามเพศ เน้นรูปแบบ สีสัน และลวดลาย ที่ส่งเสริมต่อสุนทรียะทางอารมณ์แบบมุ่งเน้นความบันเทิง

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). สื่อสารมวลชน : ทฤษฏีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา โชคเหรียญสุขชัย. (2551). การสื่อสารเชิงอวัจนภาษา : รูปแบบและการใช้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จาตุรณ แร่เพชร. (2561). คุยกับ บอล-จาตุรณ แร่เพชร คอสตูมดีไซเนอร์เบื้องหลังชุด Siam Lolita ของ BNK48. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563, จาก https://www.timeout.com

จิรัฐ บวรวัฒนะ และนครินทร์ วนกิจไพบูลย์. (2561). BNK48 ถอดรหัส DNA แห่งความพยายามและปรากฏการณ์ไอดอลครองเมือง. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2563. จาก https://thestandard.com

จุติมาศ เกลี้ยงเกลา. (2558). งานวิจัยเรื่องการศึกษาภาพลักษณ์ของกลุ่มศิลปินนักร้องเกาหลีใต้ผ่านสื่อใหม่และพฤติกรรมแฟนคลับ. กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์สาขานิเทศศาสตร์และสารสนเทศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฐิรวุฒิ เสนาคำ และนฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2553). เหลียวหน้าแลหลังวัฒนธรรมป๊อป. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

พีรภา สุวรรณโชติ. (2551). งานวิจัยเรื่องการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง และการเรียนรู้คุณค่าทางบวกจากศิลปินนักร้องเกาหลีของกลุ่มแฟนคลับ. กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์พัฒนาการ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ระชานนท์ ทวีผล และปริญญา นาคปฐม. วารสารปัญญาภิวัฒน์, ปีที่ 9 ฉบับพิเศษ, ประจำเดือนกรกฎาคม 2560.วาสนา ธนะสีรังกลู. (2559). งานวิจัยเรื่องอิทธิพลของเนต็ไอดอลที่มีต่อพฤติกรรมของเยาวชน. กรุงเทพฯ : วิทยานพนธ์สาขาวิชานโยบายและการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Assael.H. (2004). Consumer Behavior : A Strategic Approach. Boston : Houghton Mifflin Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29