การวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมการใช้บริการธนาคารดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • วสุธร เตชวิทูล สาขาการออกแบบเพื่อธุรกิจ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นพดล อินทร์จันทร์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

แพลตฟอร์ม, แอปพลิเคชัน, ธนาคาร, ดิจิทัล, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมการใช้บริการธนาคารดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุ มุ่งเน้นการลดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้งานธนาคารดิจิทัลในผู้สูงอายุ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การใช้บริการเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันธนาคารดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุ และ 2) พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมการใช้บริการธนาคารดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุ ขั้นตอนในการวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป ในประเทศไทย จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แพลตฟอร์มต้นแบบที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นโดยได้รับการประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความพึงพอใจในกลุ่มตัวอย่าง

ผลการวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้ การใช้บริการเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันธนาคารดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุ พบว่าจำนวนอุปกรณ์ดิจิทัลที่ใช้งานประจำอยู่ที่ 1 เครื่อง โดยประเภทของอุปกรณ์ดิจิทัลที่ใช้งานประจำ พบว่าอุปกรณ์ประเภทโทรศัพท์มือถือแบบหน้าจอสัมผัสเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานเยอะที่สุด ในขณะที่โทรศัพท์มือถือแบบปุ่มกดกลับเป็นอุปกรณ์ที่ถูกใช้งานน้อยที่สุด พบว่าความถี่ในการใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลมีการใช้งานทุกวัน โดยจำนวนชั่วโมงที่ใช้สูงสุดอยุ่ที่ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ลูกหลานเป็นผู้แก้ไขปัญหาในการใช้งานธนาคารดิจิทัล โดยมีปริมาณของแอปพลิเคชันธนาคารที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมากที่สุดอยู่ที่ 1 แอปพลิเคชัน โดยพบว่าปัญหาความสะดวกสบายในการใช้งานปัญหาด้านความสวยงามทันสมัยในการออกแบบเป็น อุปสรรคหลักด้านการออกแบบในการเลือกใช้งานบริการทางการเงินของผู้สูงอายุ และพบว่าปัญหาการ กดเข้าใช้งานผิดหน้า เนื่องจากปุ่มมีความซับซ้อนเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุด โดยมีสิ่งที่ต้องการให้แอปพลิเคชัน ธนาคารปรับปรุง ได้แก่ ด้านขนาดของตัวอักษร และปุ่มในแอปพลิเคชัน ด้านภาษา และประโยคที่ใช้ใน แอปพลิเคชัน และด้านสีสันในแอปพลิเคชัน การพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมการใช้บริการธนาคารดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุ พบว่าการออกแบบจำเป็นต้องเลือกใช้ขนาดที่เหมาะสม โดยแนะนำให้ใช้ความสูง 90-270 pixel ในปุ่ม แนะนำให้ใช้ตัวอักษรในฟอนต์ “TH Baijam” ในขนาด 40-300 พอยต์ หรือ ความสูง 18-145 pixel และในด้านของการใช้สี แนะนำให้ใช้สีที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น พื้นหลังสีเทาอ่อนรหัส #F4F4F4 และปุ่มสีส้มไล่สีจากรหัส #EB6D01 ไปจนถึง #EB9600

References

เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2560). The Year of Disruption. กสทช. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2561, จาก http://tct.or.th/images/article/special_article/25610110/198410_Disruption.pdf

เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2560). ธนาคารจะอยู่รอดได้ไหม? รอดได้อย่างไรในยุค Digital. จาก http://www.nationtv.tv/main/content/378555846/

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77. ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562. กรมกิจการผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 16 มิ.ย. 2563, จาก http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/275

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2524). การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เจริญกิจ.

พรชิตา อุปถัมภ์. (2559). พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศด้านสุขภาพออนไลน์ของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(1): 252-261.

พัชนี เชยจรรยา. (2559). รูปแบบการใช้ประโยชน์ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารของผู้สูงอายุไทย. วารสารจันทรเกษมสาร. 22(43): 121-135.

พิมลอร ตันหัน. (2559). แนวทางการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทอร์นเอเชีย. ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 10(3): 55-62.

มนัสสินี บุญมีศรีสง่า และ มินตรา สดชื่น. (2560). รูปแบบการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของผู้สูงอายุในสังคมไทย กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2561, จาก http://repository.rmutr.ac.th/bitstream/handle/123456789/800/rmutrconth_153.pdf?sequence=1&isAllowed=y

ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ และ ญาศิณี เคารพธรรม. (2560). สื่อกับผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. 11(2): 367-387.

รัตนโชติ เทียนมงคล. (2560). การศึกษาลักษณะฟอนต์ที่เหมาะสมต่อประจักษภาพสาหรับผู้สูงวัยในบริบทตัวอักษรไทย บนหน้าจอแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์. Veridian E-Journal. 10(3): 1066-1082.

วลัยนุช สกุลนุ้ย และ เรวดี ศักดิ์ดุลยธรรม. (2561). พฤติกรรมการใช้งานระบบหน้าจอสัมผัสของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 12(2): 233-245.

วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และ ธนภรณ์ เนื่องพลี. (2561). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของผู้สูงอายุในอาเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. Veridian E-Journal. 11(1): 3061-3074.

สมประวิณ มันประเสริฐ. (2553). การศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีต่อแบบแผนการบริโภคของครัวเรือนไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สมาน ลอยฟ้า. (2554). ผู้สูงอายุกับเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารสารสนเทศศาสตร์. 29(2): 53-64.

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2557). ประชากรสูงอายุไทย : ปัจจุบันและอนาคต. สํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนําสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2561, จาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/knowledge_th_20160106135752_1.pdf

Featherman M., & Pavlou, P. A. (2003). Predicting E-Services Adoption: A Perceived Risk Facets Perspective. International Journal of Human-Computer Studies. 59(4): 451-474.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29