ชื่อเสียง และความพึงพอใจ ที่ส่งผลต่อความภักดีต่อองค์กร ของนิสิตวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้แต่ง

  • อุบลวรรณ บุญบำรุง คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ณักษ์ กุลิสร์ คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ชื่อเสียง, ความพึงพอใจ, ความภักดีต่อองค์กร

บทคัดย่อ

งานศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความภักดีของนิสิตวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒที่มีต่อองค์กร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่มีผลต่อความภักดีต่อองค์กร และ 3) เพื่อศึกษาชื่อเสียงขององค์กรที่มีผลต่อความภักดีของนิสิตวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 315 คน ผลการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ศึกษาอยู่ในสาขาวิชานวัตกรรมสื่อสารสังคม ชั้นปีที่ 2 มีอายุ 20 ปี ชื่อเสียง และความพึงพอใจ สามารถทำนายความภักดีต่อองค์กรของนิสิตวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคมมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
และ .01 ตามลำดับ ชื่อเสียง ของวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้แก่ ด้านสินค้าและบริการขององค์กร ด้านนวัตกรรม ด้านสถานที่ทำงาน ด้านการกำกับดูแล ด้านความเป็นพลเมือง ด้านความเป็นผู้นำ และด้านผลประกอบการหรือผลการดำเนินงาน มีผลต่อความภักดีต่อองค์กร ของนิสิตวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคมมหาวิทยาลัยศรีนคริน  ทรวิโรฒ โดยชื่อเสียงที่ส่งผลมากที่สุด ได้แก่ ด้านความเป็นผู้นำ คือ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคมมีผู้นำองค์กรที่มีความรู้ความสามารถ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคมให้เติบโตในระดับประเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจ ได้แก่ ด้านค่านิยมร่วม
ด้านบุคลากร ด้านกลยุทธ์ ด้านทักษะ ด้านโครงสร้าง ด้านระบบการปฏิบัติงาน และด้านรูปแบบการบริหารจัดการ ซึ่งความพึงพอใจที่ส่งผลมากที่สุดคือ ด้านค่านิยมร่วม คือ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และบุคลากรให้ความร่วมมือ
ในด้านต่าง ๆ ด้วยความเต็มใจและวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคมมีการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
โดยความพึงพอใจมีผลต่อความภักดีต่อองค์กรของนิสิตวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคมมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ณักษ์ กุลิสร์, ภัทราพร จิตสร้างบุญ, ศุภิณญา ญาณสมบูรณ์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2555). คุณภาพการให้บริการและความคุ้มค่าที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของนิสิตปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย.

ณัฐพงศ์ เกศมาริษ. (2546).ค่านิยม วิสัยทัศน์และพันธกิจ.กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ทบุ๊คส์.

ธีรพันธ์ โล่ทองคำ. (2547). Brandage on Branding. กรุงเทพฯ: เหรียญบุญการพิมพ์.

บุปผา เพิ่มสิน, บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์., & สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2546). ความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนของ นิสิตปริญญาตรีภาคสมทบในโครงการความร่วมมือ ของโรงเรียนพณิชยการเพชรบุรีบริหารธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปัณฑารีย์ ฟองแพ่ร. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาองค์กรให้มีศกัยภาพการทำงานสูง: กรณีศึกษาธนาคารยูโอบี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก, มหาวิทยาลัยบูรพา

ปทุมวดี แสงสุข. (2548). ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการบริการให้บริการ กรณีศึกษาหอพักหญิงบุญรี จังหวัดชลบุรี. ภาคนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

รุ่งนภา พิตรปรีชา. (2556). ตัวชี้วัดชื่อเสียงของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารวิจัยสังคม, 36(2), 215-251.

รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2558). การสื่อสารองค์กร : แนวคิดการสร้างชื่อเสียงอย่างยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: หน่วยจัดการตำรา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผู้จัดจำหน่าย.

วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม. (2562). History. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฏาคม 2562, จาก http://cosci.swu.ac.th/aboutus

สมพร ตั้งสะสม. (2537). ความพึงพอใจของผู้ประกันตนในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อการบริการทางการแพทย์ภายในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533: กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2533). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2561). สถิติอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

อมรเทพ สีนวนสูง. (2016). ความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 9(1), 1053-1065.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Blanton, M. R., & Roweis, S. (2007). K-corrections and filter transformations in the ultraviolet, optical, and near-infrared. The Astronomical Journal, 133(2), 734

Elliott, K. M., & Healy, M. A. (2001). Key factors influencing student satisfaction related to recruitment and retention. Journal of marketing for higher education, 10(4), 1-11.

Hunt Nigel, & Robbins Ian. (2001). The long-term consequences of war. Aging & mental health, 5(2), 183-190.

Jacoby Jacob, & Kyner David B. (1972). Experimentally Validating a conceptualization of brand loyalty: Pennsylvania State University, College of Business Administration.

Peters, T., & Waterman Jr, R. H. (2011). McKinsey 7-S model. Leadership Excellence, 28(10), 2011.

van Riel, & BM, C. (2013). Corporate reputation and the discipline of public opinion. The handbook of communication and corporate reputation, 11À19.

Wolman Benjamin B. (1973). Handbook of general psychology.

Yamane, T. (1970). Statistics–An Introductory Analysis. Tokyo: John Weather Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28