การพัฒนาสื่อดิจิทัลในการประชาสัมพันธ์การตลาดของธุรกิจชุมชน กรณีชุมชนหินตั้ง – บ้านดง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • ฐะณุพงศ์ ศรีกาฬสินธุ์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรโรฒ
  • ฉัตรเมือง เผ่ามานะเจริญ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

สื่อดิจิทัล, การตลาด, ธุรกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์การผลิตสินค้า ข้อมูลผู้ผลิตสินค้า และผลิตภัณฑ์ชุมชน 2) พัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์ธุรกิจชุมชน และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพสื่อที่พัฒนาขึ้น การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินการในชุมชนหินตั้ง และชุมชนบ้านดง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก การดำเนินการวิจัยจะแบ่งขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพการณ์การผลิตสินค้าและบริการ และรูปแบบการดำเนินธุรกิจ โดยการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ผลิตสินค้า 2) พัฒนาสื่อดิจิทัล และ 3) ประเมินประสิทธิภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญ และประเมินจากการสำรวจความพึงพอใจผู้ใช้งานสื่อดิจิทัลที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัยพบว่าในชุมชนหินตั้งและชุมชนบ้านดงมีการประกอบการธุรกิจในสองรูปแบบ คือ ผลิตภัณฑ์ชุมชนและการให้บริการ การประกอบการจะสนองตอบต่อการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่นคือการแปรรูปผลไม้ ส่วนการให้บริการจะเป็นบริการเพื่อการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย ในส่วนของการพัฒนาสื่อดิจิทัลในการประชาสัมพันธ์จะพัฒนาสื่อเว็บไซต์และเฟซบุ๊กในลักษณะของบทความเชิงโฆษณา ผลการประเมินประสิทธิภาพสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญมีประสิทธิภาพในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.32 และผู้ใช้สื่อมีความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย 4.40  สื่อดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นมีลักษณะเด่นในเรื่องของการนำเสนอเนื้อหาประเภทศูนย์การเรียนรู้ชุมชนที่ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรผสมผสานกับองค์ประกอบด้านภาพที่สวยงาม

References

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2562). องค์ประกอบของวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562, จาก http://smce.doae.go.th/faq/show.php?faq_id=97
กัญญามน อินหว่าง; สุพจน์ อินหว่าง; และอภิชาติ วรรณภิระ. (2554). การจัดการวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.
ไทยตำบลดอทคอม. (2562). ข้อมูลตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง นครนายก. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2562, จาก https://www.thaitambon.com/tambon/260111
ประมา ศาสตระรุจิ และคณะ. (2559). รายงานการวิจัย เรื่อง การสร้างเครือข่ายเยาวชนและผู้ผลิตสินค้าเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศและตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดนครนายก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปุญญพัฒน์ อนันตธนวิทย์. (2558). การศึกษาและพัฒนาเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาจังหวัดอ่างทอง. ปริญญานิพนธ์ ศป.ม. (นวัตกรรมการออกแบบ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
พิชิต พวงภาคีศิริ; นารีวรรณ พวงภาคีศิริ; และ สุรพล ชุ่มกลิ่น. (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิปัญญาชาวบ้านตำบลนานกกก อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2562, จาก http://gs.nsru.ac.th/NSRUNC/research/pdf/23.pdf
พีระ พันลูกท้าว. (2562). ทฤษฎีการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562, จาก https://fineart.msu.ac.th/e-documents/myfile/0601015%20ศิลปกรรมกับการสื่อสาร.pdf
ศศิประภา ชัยประสิทธิ์. (2554). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด : เคล็ดลับแห่งการอยู่รอดของผู้ประกอบการปัจจุบัน. วารสารนักบริหาร. 31 (2): 51-54.
สำนักงานจังหวัดนครนายก. (2562). ประวัติความเป็นมาของจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2562, จาก http://ww2.nakhonnayok.go.th
สุธาศินี สีนวนแก้ว. (2553). ปัจจัยความสำเร็จของการใช้ ICT เพื่อการพัฒนาสังคมสู่สังคมคุณภาพในประเทศกำลังพัฒนา. วารสารวิทยบริการ. 21 (1): 126-138.
อานันท์ ตะนัยศรี. (2555). รูปแบบและปัจจัยในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยศักยภาพ เพื่อการ
พัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
JD Peterson. (2015). The Power of Long-form Content in the Age of Short-form Content. Retrieved January 17, 2019 from https://www.scripted.com/content-marketing-2/the-power-of-long-form-content-in-the-age-of-short-form-content

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28