แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในคุ้งบางกะเจ้า

ผู้แต่ง

  • พรมิตร กุลกาลยืนยง สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

คำสำคัญ:

การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน, คุ้งบางกะเจ้า, สิ่งดึงดูดใจ, การเข้าถึง, สิ่งอำนวยความสะดวก, ที่พักกิจกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อองค์ประกอบการท่องเที่ยวในคุ้งบางกะเจ้า 2) ศึกษาปัจจัยองค์ประกอบการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เดินที่มาท่องเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ ในคุ้งบางกะเจ้า 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในคุ้งบางกะเจ้า

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวใน 8 สถานที่ของคุ้งบางกะเจ้า ได้แก่ สวนสาธารณะและสวนพฤษชาติศรีนครเขื่อนขันธ์ วัดป่าเกด วัดกองแก้ว วัดราษฎร์รังสรรค์ บ้านธูปหอม ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย และหมู่บ้านมอญทรงคนอง จำนวนสถานที่ละ 48 คน รวมเป็นจำนวน 384 คน โดยเลือกเก็บข้อมูลจากผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป เนื่องจากเป็นกลุ่มที่สามารถตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวได้เอง ผู้วิจัยได้แบบสอบสอบถามที่สมบูรณ์จำนวน 362 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 94.3

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 ปี  ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี อาชีพเป็นนักศึกษา มีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 20,000 บาท และพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครในเขตอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ในเขตบางนา กลุ่มตัวอย่างให้ความเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบการท่องเที่ยวในคุ้งบางกะเจ้าในระดับดีเรียงลำดับจาก ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านการเข้าถึง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านที่พัก และ ด้านกิจกรรม

งานวิจัยนี้มีข้อเสนอให้ผู้บริหารในตำบลต่าง ๆ ในคุ้งบางกะเจ้าเน้นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละตำบลในเรื่องของเอกลักษณ์ในเชิงประวัติศาสตร์ และสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่าทางศิลปะและสถาปัตยกรรม ควรเน้นในเรื่องความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับชีวิตและทรัพย์สิน สนับสนุนให้เจ้าของบ้านนำบ้านพักมาทำเป็นโฮมสเตย์เพิ่มมากขึ้น ควรมีการติดตั้งระบบสัญญานโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตให้มีสัญญานที่แรงขึ้น ควรจัดให้มีป้ายบอกทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ จัดให้มีศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารตามจุดต่าง ๆ และจัดกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ลงมือปฏิบัติ

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 2555. กำหนดมาตรฐานบริการท่องเที่ยวมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย พ.ศ. 2554 (ระบบออนไลน์). www.ratchakitcha.soc.go.th. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2563.
กรมการท่องเที่ยว. 2558. คู่มือการประเมินมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม (ระบบออนไลน์). www.tourism.go.th. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2563.
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 2561. สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ (ระบบออนไลน์). www.thailandtourismdirectory.go.th. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562.
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. 2550. การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เดลินิวส์. 2561. เดลินิวส์วาไรตี้: รักษ์น้ำ รักษ์ป่า รักษ์คุ้งบางกะเจ้า. ฉบับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561(ระบบ
ออนไลน์). www.forest.go.th/images/stories/file/.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561.
บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตเลี่ยม จำกัด (มหาชน). 2561. ห้องเรียนธรรมชาติ: เก็บธรรมชาติไว้ก่อนสูญ
หาย (ระบบออนไลน์). www.SriNakhonKhueanKhanPark.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561.
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (ม.ป.ป.). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ
เพื่อจัดทํายุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ (ระบบออนไลน์). www.elfhs.ssru.ac.th. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ. 2558. อบจ. นิวส์ ฟ้าใหม่: รู้ลึก รู้ล้ำ เพื่อชาวสมุทรปราการ (ระบบออนไลน์). www.fah-mai.com. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562.
Bennet, A., Jooste, C., and Strydom, L. (2011). Managing Tourism Services: A Southern Africa Perspective. Pretoria: Van Schaik.
Chen, C. F. and Tsai, D. (2007). How Destination Image and Evaluative Factors Affect Behavioral Intentions?. Tourism Management, 28(4), 1115-1122.
Cochran, W. G. (2007). Sampling Techniques. New York: John Wiley and Sons.
Cronbach, L. J. 1951. Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.
Godfrey, K. and Clarke, J. (2000). The Tourism Development Handbook: A Practical Approach to Planning and Marketing. London: Continuum.
ICOMOS Thai. 2011.Thailand Charter on Culture Heritage Management (Online). www.icomosthai.org. Retrieved on August 20, 2020.
Mansfeld Y. and Pizam, A. (2006). Tourism, Security and Safety : From Theory to Practice. (Pp.1–28). Oxford: Elsevier Butteworth-Heinemann.
Murphy, P.E. (2013). Tourism: A community approach. London: Routledge.
Pike, S. D. (2020). Destination Marketing : An Integrated Marketing Communication Aapproach.
Butterworth-Heinmann: Burlington, MA.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28