การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ: การสื่อสารสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • ชนญญา ชัยวงศ์โรจน์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรโรฒ

คำสำคัญ:

สังคมผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุ, การสื่อสารสุขภาพ, จังหวัดนครนายก

บทคัดย่อ

การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทยนั้น มีผลกระทบต่อประชาชนไทยในวงกว้างทุกช่วงอายุ มีผลกระทบต่อทุกด้านของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม การศึกษา รวมทั้งการดูแลสุขภาพของประชาชนไทยด้วย ดังนั้นการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวก่อนที่จะต้องมาแก้ปัญหานั้น ผู้วิจัยจึงเลือกพื้นที่ที่มีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก คือ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นพื้นที่บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒด้วย การลงพื้นที่เป็นการทำวิจัยแบบผสม คือ ใช้แบบสอบถามเพื่อสำรวจข้อมูลทั่วไปและการรับสื่อทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และการทำสนทนาในกลุ่มผู้สูงอายุ, เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล ผลวิจัยจากการตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้สูงอายุส่วนมากเป็นเพศหญิง  โดยมีช่วงอายุ 60-80 ปีมากที่สุด ระดับการศึกษาสูงสุด คือ ประถมศึกษา  รองลงมาคือ ปริญญาตรี  ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการบำนาญและประกอบอาชีพเกษตรกร ผลวิจัยจากการทำสนทนากลุ่ม ผู้สูงอายุเกือบทุกคนทราบว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและทราบถึงผลกระทบ อาจเป็นเพราะผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอปากพลีส่วนมากเป็นข้าราชการเกษียณที่ติดตามข่าวสาร จึงทำให้เข้าใจและเตรียมใจรับปัญหาที่จะตามมาได้ อีกทั้งเรื่องความเป็นอยู่ การรักษาพยาบาล สังคมรอบ ๆ บ้านที่อยู่อาศัยและเบี้ยยังชีพ ทำให้ผู้สูงอายุ มีความเป็นอยู่ที่ดี สุขภาพกายและจิตดี เป็นกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม โดยมาเข้าร่วมกิจกรรมที่หน่วยงานสาธารณสุขจัดอบรมเป็นประจำ ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพตัวเองได้ดีและมารับการตรวจโรคประจำตัว มีวินัยในการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น ผู้สูงอายุจึงแนะนำให้ผู้วิจัยทำสื่อสุขภาพ เพื่อแนะนำในเรื่องสุขภาพให้กับบุคคลทั่วไป รวมถึงบุคคลที่กำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อให้เตรียมพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีความสุข

References

เจษฎา นกน้อย, วรรณภรณ์ บริพันธ์. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. วารสารนราธิวาส ราชนครินทร์, 9(3) กย. – ธค., 94-105.
ชาญชัย จันดี, ธีระ ฤทธิรอด. (2558). การวางแผนเพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุในองค์การบริหาร
ส่วนตำบลไพร อำเภอขุนหาญ จ. ศรีสะเกษ. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 8 (3), 46-59.
ชนาณิศฐ์ อุประ, พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล, พิศิษฐ์ วัฒนสมบูรณ์ และดุสิต สุจิรารัตน์. (2554). สภาวะสุขภาพและ
การปฎิบัติด้านสุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุแห่งหนึ่งกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, ฉบับพิเศษ, 76-86.
ดวงเดือน รัตนะมงคลกุล, สมสมัย สังขมณี, สุธีร์ รัตนะมงคลกุล และคณะ (2558). ภาพสุขภาวะของผู้สูงอายุผ่าน
มุมมองพฤฒพลังในชุมชนจังหวัดนครนายก. วารสารแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2(2), 48-60.
ปิยะธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2554). กระบวนการกิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่และแกนนำผู้สูงอายุ ชุมชน. สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน สถาบันสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล , จังหวัดนครปฐม.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยพ.ศ. 2559. หน้าที่ 4.
วิสุทธิ์ รอดคำ. (2560). สถานะสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลโรงช้าง อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสุข
ศึกษาและสื่อสารสุขภาพ, 3 (1) มค.- มิย., 6-17.
ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย (Thailand Information Center) (2554). จังหวัดนครนายก , สืบค้นจาก www.nakhonnayok.kapook.com วันที่ 2 มิถุนายน 2561.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก ข้อมูล ณ ตุลาคม 2558
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2550). จุลสารประชากร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28