องค์ประกอบทางศิลปะของภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลด้านองค์ประกอบศิลป์ จากรางวัลออสการ์ปี ค.ศ. 2015 – 2019

ผู้แต่ง

  • ปิลันลน์ ปุณญประภา วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

รางวัลออสการ์, รางวัลองค์ประกอบศิลป์ยอดเยี่ยม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง องค์ประกอบทางศิลปะของภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลด้านองค์ประกอบศิลป์จากรางวัล ออสการ์ ปี ค.ศ. 2015 2019 เป็นงานวิจัยแบบ Content Analysis มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้องค์ประกอบศิลป์ในงานภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลออสการ์ด้านองค์ประกอบศิลป์ในปี ค.ศ.2015-2019 และเพื่อทราบแนวทางในการใช้องค์ประกอบศิลป์ในการผลิตงานภาพยนตร์ โดยแต่ละขั้นตอนนั้นได้มีการดำเนินงาน โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากภาพยนตร์ซึ่งบันทึกลงในวีซีดีภาพยนตร์ และดีวีดีภาพยนตร์ รวมถึงแหล่งข้อมูลประเภทเอกสาร รวมทั้งการวิเคราะห์ประมวลผลโดยผู้วิจัย โดยประชากรที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้ คือ ภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลออสการ์ สาขาองค์ประกอบศิลป์ยอดเยี่ยมในปี ค.ศ. 2015 - 2019 รวมทั้งสิ้น   5 เรื่อง ได้แก่ ปี ค.ศ. 2015 The Grand Budapest Hotel, ปี ค.ศ. 2016 Mad Max: Fury Road, ปี ค.ศ.2017 La La Land, ปี ค.ศ. 2018 The Shape of Water, ปี ค.ศ. 2019 Black Panther ซึ่งได้ผลการวิจัยคือแนวทางในการใช้องค์ประกอบศิลป์ในงานภาพยนตร์นั้น จำเป็นจะต้องใช้องค์ประกอบศิลป์พื้นฐานทั้งหมดอันได้แก่ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง สี ค่าน้ำหนัก พื้นผิว และพื้นที่ นำมาใช้ในการจัดวางและออกแบบโดยมีพื้นฐานจากการวิเคราะห์ผ่าน บทภาพยนตร์ ที่จำเป็นต้องมีการวางแก่นความคิดและสร้างความคิดรวบยอดไปในทิศทางเดียวกัน ในส่วนของเรื่ององค์ประกอบศิลป์ที่สำคัญและทำให้น่าจับตามองจนได้รับรางวัล ภาพยนตร์ด้านองค์ประกอบศิลป์ยอดเยี่ยมของรางวัลออสการ์นั้น เห็นได้ว่าการคุมโทนและการเล่นค่าน้ำหนักของสีในการสื่อสารต่อผู้ชม ถือว่าเป็นส่วนสำคัญมากที่สุดเพราะในทุกเรื่องที่ผ่านมาที่ได้รับรางวัลองค์ประกอบศิลป์ยอดเยี่ยม จะมีการใช้ค่าน้ำหนักของสีที่ชัดเจนในแต่ละเรื่องอีกส่วนหนึ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือการสร้างสรรค์โลกของงานภาพยนตร์ โดยการผสานเอาความคิดด้านวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ถ่ายทอดผ่านองค์ประกอบศิลป์ทั้งหมดดังที่กล่าวข้างต้น จึงถือได้ว่าการใช้องค์ประกอบศิลป์ในการออกแบบจนได้รับรางวัลออสการ์ด้านองค์ประกอบศิลป์ยอดเยี่ยมในแต่ละปี

References

กาญจนา แก้วเทพ. 2542. การวิเคราะห์สื่อแก่นความคิดและเทคนิค. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.
กาญจนา แก้วเทพ. 2547. สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
กุหลาบ มัลลิกะมาส. 2540. วรรณคดีวิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กฤษฎา เกิดดี. 2543. ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์: การศึกษาว่าด้วย 10 ตระกูลสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ.
กำจร หลุยยะพงศ์. 2540. ภาพยนตร์บู๊ฮอลลีวูดกับการสะท้อนภาพของความเป็นชาย. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เขมิกา จินดาวงศ์. 2551. การวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จีรบุณย์ ทัศนบรรจง. 2534. การศึกษาเชิงวิเคราะห์ลักษณะของภาพยนตร์ไทยยอดนิยมประเภทวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารมวลชน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จำเริญลักษณ์ ธนะวังน้อย. 2544. พัฒนาการของศิลปะภาพยนตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ฉลองรัตน์ ทิพย์พิมาน. 2539. วิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์อเมริกันที่มีตัวเอกเป็นสตรี. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารมวลชน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฉัตรชัย อรรถปักษ์. (2548). องค์ประกอบศิลป์. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.
ชลูด นิ่มเสมอ. (2557). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์.
ชลธิชา ทุมกานนท์. 2551. ภาพยนตร์ไทย: ภาพสะท้อนทางสังคมไทยระหว่าง พ.ศ.2470-2540.
วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. 2545. สัญวิทยา, โครงสร้างนิยม, หลังโครงสร้างนิยมกับการศึกษารัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิภาษา.
เทียนชัย ตั้งพรประเสริฐ. (2549). องค์ประกอบศิลป์1. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.
บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา. 2552. โรงงานแห่งความฝันสู่การวิจารณ์ภาพยนตร์สำนักบริบท.กรุงเทพฯ: พับลิค
บุเคอรี.
ประเสริฐ พิชยะสุนทร. (2557). ศิลปะและการออกแบบเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
ปาริชาต สถาปิตานนท์. 2546. ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. 2545. ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ:สถาบันวิถีไทย และสมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย.
ฟีลิปดา(นามแฝง). 2548. ตัวละคร (Online). http://www.forwriter.com/mysite/forwriter.com/
newwriterroom/newwritebasic.htm#basic2, 7 กรกฎาคม 2563.
วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร. 2549. ฮอลลีวูดยุคทองกับดาราสุดยอดนิยม. กรุงเทพฯ: วศิระ.
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. 2548. การวิเคราะห์เนื้อหา (Online) http://www.analusis.ispace.in.th/webpage/mean_analysis.html, 5 กรกฎาคม 2563.
Dirks, T. 2009. Main Film Genres (Online). http://www.filmsite.org/genres.html, January10, 2020.
Major Cineplex Group. 2011. Life Style Entertainment Quarterly Briefing 4Q10 (Online). http://major-th.listedcompany.com/misc/quarterly/slide_q410.pdf, July 5, 2020
Major Cineplex group. 2011. Life Style Entertainment Quarterly Briefing 4Q10 (Online). http://major-th.listedcompany.com/misc/quarterly/slide_q410.pdf, July 5, 2011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28