การพัฒนาตลาดของสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นประมงสู่การท่องเที่ยวในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในจังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • สิทธิชัย ศรีเจริญประมง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จันทบุรี
  • นภดล แสงแข คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จันทบุรี
  • นิศารัตน์ แสงแข คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จันทบุรี
  • ณัฐวรรธน์ วิวัฒน์กิจภูวดล บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) นนทบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาตลาด, สินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นประมง, โควิด-19

บทคัดย่อ

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปจนกลายเป็น “ความปกติใหม่” ซึ่งเป็นปัจจัยเร่งให้การดำเนินการทางธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นประมงในจังหวัดระยอง และ 2) เสนอ
การพัฒนาตลาดของสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นประมงสู่การท่องเที่ยวในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในจังหวัดระยอง เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณซึ่งใช้แบบสอบถามสำรวจความต้องการสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นประมง
จากนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) นักท่องเที่ยวมีความต้องการสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นประมง ด้านผลิตภัณฑ์ สูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านสิ่งกระตุ้นอื่นๆ และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อสิ่งกระตุ้นความต้องการสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นประมง
โดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อสิ่งกระตุ้นความต้องการสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นประมง ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในจังหวัดระยอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ได้แก่ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด และ 2) การพัฒนาตลาดควรเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นประมง กำหนดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ให้สั้นลง โดยมีรูปแบบในการชำระค่าสินค้าที่หลากหลาย และนำเสนอการตลาดทางอารมณ์ที่สอดรับกับมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยผ่านสื่อสังคมออนไลน์

References

Ahmet, C. & Oya, O. (2020). Competitiveness During Covid-19 Pandemic: New Product Development and Supply Chain Agility. Gaziantep University Journal of Social Sciences, Special Issue: 313.
Azzam, K. (2014). The Impact of Customer Relationship Management on Customer Satisfaction in the Banking Industry– A Case of Jordan. European Journal of Business and Management, 6(32): 99- 112.
Constanzo, L. et al. (2014). Dual-Mission Management in Social Entrepreneurship: Qualitative Evidence from Social Firms in the United Kingdom. Journal of Small Business Management, 52(4): 655–677.
Drugău-Constantin, A. L. (2018). Emotional and Cognitive Reactions to Marketing Stimuli: Mechanisms Underlying Judgments and Decision Making in Behavioral and Consumer Neuroscience. Economics, Management, and Financial Markets, 13(4): 46-52.
Hoang, H., & Antoncic, B. (2003). Network-Based Research in Entrepreneurship: A Critical Review. Journal of Business Venturing, 18(2): 165–187.
Hurmak, N., & Yakubiv, V. (2017). Efficiency of Intermediary Activity of Agricultural Enterprises: Methods and Assessment Indicators. Bulgarian Journal of Agricultural Science, 23(5): 712-716.
Kim, E. S. (2020). Online Marketing: Benefits and Difficulties to online Business Sellers. International Journal of Advanced Engineering Research and Science (IJAERS), 7(3): 159-163.
Klaus, S. (2019). The global competitiveness report 2019. World Economic Forum. Cologny: Switzerland.
National Statistical Office. (2018). Tourism statistics of Rayong. Retrieved on June 15, 2020, from:
http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/17.aspx (In Thai)
Mahapornprajak, T. (2020). Adjust business to survive in the era of new normal. Retrieved on February 15, 2021, from: https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_19Oct2020.aspx (In Thai)
Office of the National Economic and Social Development Council. (2016). The 2nd. national economic and social development plan (2018-2021). Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Council. (In Thai)
Pattaratanakun, A. (2020). Marketing challenges on the COVID-19 crisis. Retrieved on October 10, 2020, from: https://www.brandbuffet.in.th/2020/05/4-principles-of-marketing-in-the-post-covid-19/ (In Thai)
Peretti, J. M. (2013). Tous Solidaires, Un Impératif Pour Les Organisations. Tous solidaires : Les meilleures pratiques par 91 professionnels. Eyrolles, 15-25.
Rayong Provincial Office. (2019). Rayong Province Development Strategy 2017-2021. Rayong: Rayong Provincial Office. (In Thai)
Stuart, T. E., & Sorenson, O. (2005). Social Networks and Entrepreneurship. In S. Alvarez, R. Agarwal, & O. Sorensen (Eds.), Handbook of entrepreneurship research: interdisciplinary perspectives. New York: Springer.
Sullivan, D., & Marval, M. (2011). How Entrepreneurs Knowledge and Networks Ties Relate to the Number of Employees in New SME’s. Journal of Small Business Management, 49(2): 185-206.
Tourism Authority of Thailand. (2020). Amazing Thailand Safety and Health Administration. Bangkok : Tourism Authority of Thailand. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28