ความสัมพันธ์ระหว่างบทภาพยนตร์ การแสดง และการตัดต่อ

ผู้แต่ง

  • พัดชา อิทธิจารุกุล วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ปรวัน แพทยานนท์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์, บทภาพยนตร์, การแสดง, การตัดต่อ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบทภาพยนตร์ การแสดง  และการตัดต่อ  รวมถึงการมีเหตุผล  และการร่วมมือกัน  ระหว่างศาสตร์การเขียนบทภาพยนตร์ การแสดง และการตัดต่อ  โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูลบทภาพยนตร์ซึ่งเป็นหัวใจของสร้างภาพยนตร์  หากบทภาพยนตร์ไม่ประสบความสำเร็จก็ไม่สามารถสร้างภาพยตร์ได้อย่างลุล่วงด้วยดี การสร้างบทภาพยนตร์ที่ดีควรมีการยืดหยุ่นให้แก่การแสดงและการตัดต่อด้วย โดยที่ นักแสดงบางคนอาจจพูดบทตามความเข้าใจของตนเองได้ตรงกับผู้เขียนบทที่ต้องการสื่อสารเพียงแค่หนึ่งร้อยเปอร์เซ็น  เช่นเดียวกับการตัดต่อ หากลองเปิดโอกาสให้ผู้ทำหน้าที่ตัดต่อภาพยนตร์ ได้ทดลองเรียงร้อยและตัดภาพที่ถ่ายทำมาก็จะทำให้เกิดการสร้างงานรูปแบบใหม่ เนื่องจากการถ่ายทำตามสตอรี่บอร์ดหรือการแสดงตามบทภาพยนตร์ไม่ได้หมายถึงการประสบความสำเร็จของภาพยนตร์เสมอไป

            บทภาพยนตร์ควรยืดหยุ่นให้ส่วนประกอบอื่นได้เข้ามีร่วม โดยเฉาะถ้าผู้เขียนบทภาพยนตร์ภาพยนตร์มีทักษะทางด้านการแสดง และการตัดต่อ ก็จะส่งผลให้การเขียนบทภาพยนตร์ดีขึ้น ในขณะเดียวกันหากนักแสดงมีทักษะด้านการเขียนบทและการตัดต่อ หรือ คนผู้ทำหน้าที่ตัดต่อภาพยนตร์มีทักษะในการเขียนบทและการแสดง ก็จะทำให้ภาพยนตร์มีความกลมกลืนไปในทิศทางเดียวกันและประสบความสำเร็จโดยง่าย ทั้งนี้การจะเรียนรู้ทั้งสามองค์ประกอบเป็นเรื่องที่สามารถเรียนรู้ได้ไม่ยากเพียงแต่ผู้สร้างงานอาจจะลืมเรื่องการทำงานร่วมกัน ทุกองค์ประกอบจะเกี่ยวโยงกันหมดขาดสิ่งใด ไปสิ่งหนึ่งอาจจะทำให้ภาพยนตร์ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร  ดังนั้นบทความนี้จะแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบสามอย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น    และนำมาวิเคราะห์ รวมทั้งวิธีการปรับเปลี่ยนบางสิ่งบางอย่างในแต่ละองค์ประกอบ เพื่อให้คงความสมดุลย์แก่ภาพยนตร์ และทำให้การสร้างภาพยนตร์ออกมาดี

References

Dmytry, Edward. (1984). OnFilm Editing. Unites\d States of America
ตรีดาว อภัยวงศ์. (2546). More than acting สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 จาก https://web.facebook.com/theatrestudiesandnews/posts/1961980110688575
นิติคุณ ยูกตถนันท์.(2011). การเขียนบทหนังสั้น สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563
www.mesise.com/การเขียนบทหนังสั้น/"เขียนบทหนังสั้น
นิวัฒน์ ศรีสัมมาชีพง. (2551). คิดและเขียนให้เป็น บทภาพยนตร์. กรุ่งเทพมหานคร: สำนักพิมพ์รุ้งกินน้ำ
มหาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2531). การผลิตภาพยนตร์ขั้นสูง หน่วยที่ 6 - 10.
สำนักพิม์มหาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
มหาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2531). การผลิตภาพยนตร์ขั้นสูง หน่วยที่ 11 - 15.
สำนักพิม์มหาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
มหาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2531). การผลิตภาพยนตร์ขั้นสูง หน่วยที่ 1 - 5. สำนักพิม์มหาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
รักศานต์ วิวิตน์สินอุดม. (2546). นักสร้าง สร้างหนัง หนังสั้น. กรุงเทพมหานคร: คณะนิเทศน์ศาสตร์
จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย
รักศานต์ วิวิตน์สินอุดม. (2547). เสกฝัน ปั้นหนัง: บทภาพยนตร์. กรุ่งเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บริษัท บ้านฟ้า
จำกัด
สมพร ฟูราจ. (2554). Mime: ศิลปะท่าทางและการเคลื่อนไหว. กรุงเทพมหานคร: มหาลัยธรรมศาสตร์
สถาบันหนังไทย หอภาพยนตร์.(2558). การตัดต่อภาพสไตล์ ลีชาตะเมธีกุล. นครปฐม: หอภาพยนตร์
สาขาศิปะการแสดงและนาฏศิลป์. (2544). ศิลปะการแสดงในสังคมปัจบัน. กรุงเทพมหานคร: คณะศิลปกรรมหศาสตร์ มหาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร
สามมิติ สุขบรรจง. (2554). การแสดงและสื่อ. กรุงเทพมหานคร: สาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสังคม มหาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28