การออกแบบและพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์สำหรับสาววายในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ภูมิพัฒน์ ตันสุวรรณรัตน์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เบญจวรรณ อารักษ์การุณ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

สาววาย, การออกแบบและพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์, สื่อสังคมออนไลน์สำหรับสาววาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์สำหรับสาววายในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างสาววายจำนวน 20 ท่านและผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาววายจำนวน 2 ท่าน การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ 1 ท่าน การออกแบบภาพลักษณ์ 1 ท่าน และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์จำนวน 400 ชุด เพื่อค้นหาความต้องการในส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น หัวข้อข่าวสารข้อมูลที่สาววายสนใจ รูปแบบการใช้งานที่ต้องการ ภาพลักษณ์และความปลอดภัยภายในสื่อสังคมออนไลน์

ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบสื่อสังคมออนไลน์ที่สามารถตอบสนองความต้องการในหลากหลายมิติของสาววายนั้น ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1.การนำเสนอข้อมูลข่าวสารประเภทซีรีส์วายเป็นที่ต้องการมากที่สุด 2.การนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่กำลังได้รับความนิยมในส่วนต่าง ๆ 3.การใช้งานและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกโดยการจัดหมวดหมู่ชัดเจน 4.สร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยนำเสนอข้อมูลจากแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ 5.การออกแบบที่เรียบง่ายเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน 6.ความปลอดภัย และ 7.ฟีเชอร์ต่าง ๆ เช่น การแจ้งเตือน การซื้อ-ขายสินค้า การสนทนาให้หัวข้อที่กำลังเป็นที่นิยมสนใจ ระบบ #Hastag ระบบสมาชิกและความปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับการนำแนวคิด Tribal Marketing มาประยุกต์ใช้กับการออกแบบและพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์สำหรับสาววายในประเทศไทย ที่สามารถดึงกลุ่มคนที่สนใจในเรื่องเดียวกันมาอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เกิดเป็นสังคม มีความผูกพันธ์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างคนในสังคม การซื้อ-ขาย รวมไปถึงความจงรักภักดีต่อสื่อสังคมออนไลน์เช่นกัน

จากการผลการวิจัยในครั้งนี้สอนคล้องกับกระแสความนิยมของซีรีส์วายที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของผู้ชมหที่เรียกกันว่าสาววาย หรือในแง่ของผู้ผลิตเนื้อหาสำหรับสาววาย ทำให้โอกาสในการเกิดขึ้นของสื่อสังคมออนไลน์สำหรับสาววายมีความเป็นไปได้ และยังสามารถพัฒนาต่อเพื่อความสมบูรณ์ได้อีกในอนาคต

References

ชานันท์ ยอดหงษ์. (2564). คอนเทนต์ วายคือวาย ไม่ใช่ LGBTQ? การปะทะกันของความหมายเพศชายรักกัน. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564, จาก https://thematter.co/thinkers/y-culture-and-lgbtq/147689

Marketingoops. (2563). คอนเทนต์ “ซีรีส์วาย” กลายเป็น “กระแสหลัก” นักการตลาด-นักโฆษณาจะจับเทรนด์นี้อย่างไร ?. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2564, จาก https://www.marketingoops.com/exclusive/business-case/line-tv-y-series-trends/

กฤตพล สุธีภัทรกุล. (2563). การประกอบสร้างตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม), สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2564, จากhttp://gscm.nida.ac.th/uploads/files/1600677348.pdf

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2563). ส่องมูลค่าตลาด “ซีรีส์วาย” เรื่องรัก “ชายชาย” ที่ได้ใจคนดูทุกเพศ. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2564,จาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detial/884794?amx

บังอร สุวรรณมงคน. (2563). Tribal Marketing นักการตลาดเรียนรู้อะไรจากสมาคมหม้อทอดไร้น้ำมัน?. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2564, จาก https://www.marketingoops.com/exclusive/insider-exclusive/tribal-marketing

ภัชรพรรณ์ อมรศรีวงษ์ และบัณฑิต สวรรยาวิสุทธิ์. (2562). การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคสื่อของสาววาย. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษา, 5(1), 34-49

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31