แรงจูงใจที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ของเจเนอเรชั่นแซด
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, ช้อปปิ้งออนไลน์, เจเนอเรชั่นแซดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความแตกต่างของลักษณะปัจจัยส่วนบุคคลของเจเนอเรชั่นแซดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ 2) ศึกษาการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ของเจเนอเรชั่นแซดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ 3) ศึกษาแรงจูงใจของเจเนอเรชั่นแซดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 18–23 ปี มีที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 440 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Independent sample t-test One way ANOVA (F-test) และ Multiple Regression Analysis ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ความแตกต่างของลักษณะปัจจัยส่วนบุคคลของเจเนอเรชั่นแซดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ไม่แตกต่างกัน 2) การเปิดรับสื่อสื่อสังคมออนไลน์ประเภทต่างๆ ของเจเนอเรชั่นแซดร่วมกันอธิบายความผันแปรของการตัดสินใจซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ ได้ร้อยละ 96.9 โดยพบว่าสื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ คือ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม และยูทูป 3) แรงจูงใจภายในที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ของเจเนอเรชั่นแซด ได้แก่ ความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน ความจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต การพักผ่อนและนันทนาการ ความรู้สึกทันสมัย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความภาคภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าของสินค้านั้น มอบเป็นของขวัญให้บุคคลอื่นและการยอมรับจากเพื่อนและคนรอบข้าง แรงจูงใจภายนอกที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ของเจเนอเรชั่นแซด ได้แก่ สินค้ามีให้เลือกมากกว่าการซื้อตามท้องตลาด ราคาถูกกว่าการซื้อแบบปกติตามท้องตลาด ช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย การให้ส่วนลดและของแถม ภาพลักษณ์ของร้านค้ามีความน่าเชื่อถือ รีวิวจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ที่เคยใช้สินค้า นโยบายการคืนเงินหรือคืนสินค้า เห็นโฆษณาออนไลน์หรือได้อ่านเนื้อหาเกี่ยวกับสินค้า การผ่อนชำระค่าสินค้า ดารา นักร้อง หรือคนดังมีการแนะนำถึงสินค้าหรือบริการและสมาชิกในครอบครัวเป็นคนแนะนำให้ใช้สินค้า
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2561). เจาะ 'พฤติกรรมผู้บริโภค' ออนไลน์ เผยทริคครองใจนักช้อปปี 2562. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/821758.
กรุงเทพธุรกิจ. (2564ก). เข้าใจ “Gen Z” ผ่านเทรนด์สี เมื่อการคุมโทนและ "SafeZone" คือเรื่องเดียวกัน. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/970024.
กรุงเทพธุรกิจ. (2564ข). สนค. เผยผลสำรวจคนไทยช้อปออนไลน์กระจายยอดพุ่ง 75,000 ล้านต่อเดือน. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/946490.
ฉัตรยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด. (2563). 6 สิ่งต้องรู้เมื่อบุกตลาด Gen Z. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563, จาก https://www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/6-techneques-to-approach-gen-z.html
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2562). ส่องเทรนด์โลก: Gen Z กับทิศทางตลาดอาหารโลก. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563, จาก https://www.ryt9.com/s/exim/2985705
ปรมะ สตะเวทิน. (2541). การสื่อสารมวลชน กระบวนการและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
แพรวพลอย เหล่าบุญเจริญ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผ่าน MOBILE COMMERCE APPLICATION ของผู้บริโภค GENERATION Y และ GENERATION Z. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (การบริหารการตลาด). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
แมนสรวง สุรางครัตน, ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์ และ ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ. (2563). การเลือกช่องทางในการฟังเพลงไทยสากล ของผู้บริโภคเจนวายและเจนแซดในกรุงเทพมหานคร. วารสารดนตรีรังสิต. 15(2), 126-137.
มาร์เก็ตติ้งอุ๊ปส์. (2561). 4 เทรนด์อีคอมเมิร์ซ 2019 เดือด! ยักษ์แพลตฟอร์มมุ่งสู่ช้อปออนไลน์ ดึงข้อมูลผู้บริโภค-เร่งสปีด e-Wallet. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2563, จาก https://www.marketingoops.com/reports/behaviors/e-commerce-trends-2019
มาร์เก็ตเทีย. (2564). สรุปตัวเลขตลาดอีคอมเมิร์ซ 2020 พร้อมเทรนด์ 2021. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2564, จาก https://marketeeronline.co/archives/207221
เลดี้บี. (2563). GEN Z เจนเปลี่ยนโลก ที่ใช้แรงบันดาลใจและ PASSION เป็นพลังในการขับเคลื่อน. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.thumbsup.in.th/wunderman-thomson-research
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิลม์.
ศศิธร ยุุวโกศล และ พัชสิรี ชมภููคำ (2564). เจเนอเรชั่นกับคิดเห็นและพฤติกรรมการใช้สื่อในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 9(2), 10-25.
โสพิส เกษมสหสิน. (2560). กลยุทธ์ด้านการตลาด จับทางผู้บริโภค Gen Z. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/115359
สุรัตน์ ตรีสกุล. (2548). หลักนิเทศศาสตร์ = Principles of Communication Arts. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2563, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านICT/เทคโนโลยีในครัวเรือน/2561/ict61-CompleteReport-Q4.pdf
สรรเพชญ ไชยสิริยะสวัสดิ์. (2557). สังคม 4 เจเนอเรชั่น ต่างกันแต่อยู่ร่วมกันได้. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2564, จาก http://ath.in.th/article/409/สังคม-4-เจเนอเรชั่น-ต่างกันแต่อยู่ร่วมกันได้
อัธพล เอื้อเจริญกิจการ. (2557). คู่มือใช้งานง่ายๆ Internet ทุกที่ ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์. นนทบุรี: ไอดีซี.
อุไรวรรณ แย้มนิยม. (2537). การส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เอมิการ์ ศรีธาตุ. (2559). พฤติกรรมการใช้และการรับรู้อิทธิพลของสื่อดิจิทัลต่อเจเนอเรชั่นวายและเจเนอเรชั่นแซดในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Beal, M., & Pankowski, M. (2020). Engaging GEN Z lessons to effectively engage generation Z via marketing, social media, retail, work & school. LLC: Mark Beal Media.
Blythe, J. (2014). Principles and Practice of Marketing (2nd ed.). CA: SAGE Publications.
Gherini, A. (2018). Gen-Z Is About to Outnumber Millennials. Here's How That Will Affect the Business World. Retrieved March 11, 2020, from https://www.inc.com/anne-gherini/gen-z-is-about-to-outnumber-millennials-heres-how-that-will-affect-business-world.html
ÖZKAN, Mustafa, & SOLMAZ, Betül. (2017). Generation Z-The Global Market’s New Consumers- And Their Consumption Habits: Generation Z Consumption Scale. 12th International Conference on Social Sciences Conference Proceedings. Volume II. 468-474. Amsterdam: Revistia Publishing and Research
Schramm, W. (1973). Mass communication. In Miller, George A. (Ed.), Communication, Language, and Meaning: Psychological Perspectives. (pp. 219–232). Basic Books, Inc.
Sproles, G. B., & Kendall, E. L. (1986). A methodology for profiling consumers’ decision making styles. The Journal of Consumer Affairs. 20(2): 267-279.
Thangavel, P., Pathak, P., & Chandra, B. (2019). Consumer decision-making style of Gen Z: a generational cohort analysis. Retrieved March 15, 2021, from https://www.researchgate.net/publication/337098852_Consumer_Decision-making_Style_of_Gen_Z_A_Generational_Cohort_Analysis
UNITED NATIONS Department of Economic and Social Affairs. (2019). Growing at a slower pace, world population is expected to reach 9.7 billion in 2050 and could peak at nearly 11 billion around 2100. Retrieved March 11, 2020, from https://www.un.org/development/desa/en/news/population/world-population-prospects-2019.html
Vieira, J., Frade, R., & Ascenso, R. (2020). Generation Z and Key-Factors on E-Commerce: A Study on the Portuguese Tourism Sector. Administrative Sciences. 10(4), 103.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed). NY: Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ