การออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์จากกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่ดอยตุงโดยใช้ทฤษฎีความยั่งยืนเพื่อการส่งออกประเทศญี่ปุ่น

ผู้แต่ง

  • โศภิษฐ์ คงคากุล คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พัดชา อุทิศวรรณกุล คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ทฤษฎีความยั่งยืน, กลุ่มชาติพันธุ์, ดอยตุง, ญี่ปุ่น, แฟชั่นไลฟ์สไตล์, ทุนวัฒนธรรม, โพลีเอทธิลีนเทเรฟทาเลต

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง “การออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์จากกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่ดอยตุงโดยใช้ทฤษฎีความยั่งยืนเพื่อการส่งออกประเทศญี่ปุ่น” ซึ่งจากกระแสอุตสาหกรรมแฟชั่นที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในภาคอุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อผลิตเส้นใยธรรมชาติเกินความพอดีจนก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมตามมา ส่งผลให้ทั่วโลกตื่นตัวกับการใช้ทรัพยากรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อรีไซเคิลทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว ให้เกิดเป็นทรัพยากรใหม่ด้วยหลักการหมุนเวียนเพื่อบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันขยะจากพลาสติกประเภทโพลีเอทธิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate : PET) ก็เป็นขยะที่ส่งผลกระทบอย่างมากในปัจจุบัน โดยขวดพลาสติกประเภทโพลีเอทธิลีนเทเรฟทาเลต เป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลและสามารถขึ้นรูปได้หลากหลาย โดยไม่สูญเสียคุณสมบัติ รวมทั้งยังสามารถลดพลังงานในการผลิต และต่ออายุให้กับวัสดุ อย่างไรก็ดีเส้นใยจากโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในกลุ่มสินค้าหัตถกรรม เนื่องจากส่วนใหญ่นิยมใช้วัสดุจากธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการผลิตยิ่งกว่า ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นโอกาสและช่องว่างทางการตลาดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืนควบคู่กับการผสมผสานทุนวัฒนธรรมให้เกิดเป็นสินค้าหัตถกรรมที่รักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีการใช้ทุนวัฒนธรรมจากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่ดอยตุง เนื่องจากมีความสอดคล้องด้านวิถีชีวิต ที่มีแนวคิดของการอนุรักษ์วัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยการนำโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลมาใช้กระบวนการทอมือด้วยภูมิปัญญาชาติพันธุ์ เกิดเป็นอัตลักษณ์จำเพาะใหม่ของผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ ขณะเดียวกันประเทศญี่ปุ่นก็เป็นตลาดส่งออกที่มีแนวคิดสอดคล้องกัน เนื่องจากเป็นประเทศที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และยังคงสามารถปลูกฝังแนวคิดการอนุรักษ์วัฒนธรรมเอาไว้ได้ ดังนั้น การออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้ทฤษฎีความยั่งยืนและกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่ดอยตุงจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของสินค้าที่จะตอบสนองช่องว่างและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในประเทศญี่ปุ่น โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมแฟชั่นด้วยแนวคิดทฤษฎีการออกแบบอย่างยั่งยืน เพื่อหาแนวทางการออกแบบและสร้างตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์จากทุนวัฒนธรรมดอยตุง และเพื่อขยายตลาดผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์จากทุนวัฒนธรรมกลุ่มชาติ

พันธุ์ดอยตุงสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการใช้เครื่องมือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เพื่อนำมาซึ่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพก่อนจะนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ในการวิจัยอีกครั้ง ซึ่งการวิจัยนี้สามารถอภิปรายผลเพื่อเป็นแนวทางการสร้างตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์โดยใช้แนวคิดทุนวัฒนธรรมและทฤษฎีความยั่งยืนและการพัฒนาสินค้าเพื่อส่งออกประเทศญี่ปุ่นต่อไป

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2564). เทรนด์สินค้ายุคใหม่ในญี่ปุ่น ตอบสนอง Remote work เน้นฟังก์ชันหลากหลายในชิ้นเดียว. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564, จาก https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/750819/750819.pdf&title=750819&cate=589&d=0

ปรีดา ศรีสุวรรณ์ และ พัดชา อุทิศวรรณกุล. (2562). การออกแบบแฟชั่นยั่งยืน (THE CREATION OF SUSTAINABLE FASHION). วารสาร Veridian E Journal. สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 62(5), 711-728.

พัดชา อุทิศวรรณกุล. (2557). การจัดการสินค้าแฟชั่น. กรุงเทพฯ: คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัดชา อุทิศวรรณกุล. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายแฟชั่นสุภาพบุรุษจากทุนวัฒนธรรมสิ่งทอพื้นถิ่นไทลื้อ. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 9(2), 41.

พรนารี ชัยดิเรก. (2560). แนวทางการออกแบบแฟชั่นเครื่องหนังส่งออกประเทศญี่ปุ่น : การสร้างสรรค์อัตลักษณ์หัตถกรรมไทย ในรูปแบบอาวองท์-การ์ดหลังยุคสมัยใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์.

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). บันทึกแห่งขุนเขา เรื่องเล่าชาวดอยตุง. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.maefahluang.org/category/publication/books/

ศิวรี อรัญนารถ. (2558). นวัตกรรมตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์: ทุนวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร สำหรับผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอเชีย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์.

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน). (2557). เย็บ ปัก ถัก ทอ เอกลักษณ์และศิลปะลวดลายผ้าชาวเขา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สยามคัลเลอร์พริน จำกัด.

ฤดี. (2563). โพลีเอสเตอร์ (Polyester). สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.ruedee.com/th/fabric/polyester/

American Chemistry Council. (2010). life cycle of a plastic product. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564, จาก http:/www.americanchemistry.com/s_plastics/doc.asp?CID=1571&DID=5972

Brandis. (2560). Lifestyle Brand. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2564, จาก https://www.brandis76.com/blog/archive/2017/03

Design Excellence Award. (2564). DEmark winner. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2564, จาก https://demarkaward.net/th/demark_winner

WGSN. (2022). Full Spectrum. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564, จาก https://www.wgsn.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28