การศึกษากระบวนการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลผสมศิลปะการจัดวางเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ของบุคคลในกลุ่มเจเนอเรชั่นซี

ผู้แต่ง

  • อธิป เตชะพงศธร วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ภัทรนันท์ ไวทยะสิน วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

กระบวนการสร้างสรรค์, สื่อดิจิทัลผสมศิลปะการจัดวาง, อัตลักษณ์, เจเนอเรชั่นซี

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง การศึกษากระบวนการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลผสมศิลปะการจัดวางเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ของบุคคลในกลุ่มเจเนอเรชั่นซีมีความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลผสมศิลปะการจัดวางเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ของบุคคลในกลุ่มเจเนอเรชั่นซี 2) เพื่อศึกษาผลของการจัดแสดงสื่อดิจิทัลผสมศิลปะการจัดวางเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ของบุคคลในกลุ่มเจเนอเรชั่นซีผู้วิจัยได้ศึกษา แนวคิด ทฤษฎี ความรู้เกี่ยวกับ อัตลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะของกลุ่มบุคคลในช่วงวัยต่าง ๆ ของบุคคลในกลุ่มเจเนอเรชั่นซี แนวคิดศิลปะการจัดวาง การสื่อสารด้วยภาพ การถ่ายภาพบุคคล และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีการดำเนินการมีกระบวนการเป็นงานวิจัยสร้างสรรค์ กล่าวคือ ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างสรรค์ผลงานที่มีแนวคิดมาจากอัตลักษณ์ของบุคคลในกลุ่มเจเนอเรชั่นซี ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง นำผลของการวิเคราะห์ข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลผสมศิลปะการจัดวาง ซึ่งอัตลักษณ์ของบุคคลในกลุ่มเจเนอเรชั่นซี (Generation C) มีอัตลักษณ์ที่เหมือนกัน คือ ใช้สื่อสังคมออนไลน์ และการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต แต่ถ้าศึกษาถึงพฤติกรรมของกลุ่มบุคคลแต่ละช่วงวัย ตั้งแต่ กลุ่มบุคคลเบบี้ บูมเมอร์ (Baby Boomers) กลุ่มบุคคลเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ (Generation X) กลุ่มบุคคลเจเนอเรชั่นวาย (Generation Y) และ กลุ่มบุคคลเจเนอเรชั่นแซด (Generation Z)

ผลวิจัยพบว่า พฤติกรรมการตอบกลับผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีความแตกต่างกัน เนื้อหาสาระที่ติดตามขึ้นอยู่กับช่วงวัยและความสนใจ สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่แตกต่างกัน จนกลายเป็นอัตลักษณ์เฉพาะวัย หลังจากนี้ผู้วิจัยได้นำผลงานออกแสดงสู่สายตาผู้ชม ในรูปแบบการถ่ายภาพบุคคลผสมผสานการออกแบบภาพกราฟฟิก ผ่านสื่อดิจิทัลผสมศิลปะการจัดวาง นำไปจัดแสดงในหอศิลป์ โดยมีภาพจัดแสดงทั้งหมด 8 ภาพและผสมผสานสื่อดิจิทัลอย่างเช่น แสง สี เสียงสัมภาษณ์ และกราฟฟิกเคลื่อนไหว ลงไปบนผลงานภาพถ่าย ซึ่งผู้ชมต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้งการมองและการได้ยิน โดยทุ่งเน้นให้เกิดการรับรู้ในด้านข้อมูลอัตลักษณ์ของบุคคลในกลุ่มเจเนอเรชั่นซีและอารมณ์ความรู้สึกผ่านองค์ประกอบทางศิลปะ โดยที่ค่าคะแนนเฉลี่ยรวม เกี่ยวกับความพึงพอใจและการรับรู้ถึง อัตลักษณ์ของกลุ่มคนในกลุ่มเจเนอเรชั่นซี เท่ากับ 4.29

References

กันต์กนิษฐ์ อุทัย. (2559). รูปแบบการดำเนินชีวิตการเปิดรับ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงวัยในกลุ่มเจเนอเรชั่นซี. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: ออนไลน์.

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563, จาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171114-draeqa-blueprint.pdf

ชลธิชา ราศรี. (2553). การศึกษาเพื่อการสร้างสรรค์ : ผลงานศิลปะจัดวางเพื่อสะท้อนปรากฏการณ์โลกร้อน. ปริญญานิพนธ์ (ทัศนศิลป์: ศิลปะสมัยใหม่). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2552). การรับรู้คุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นวายและแรงจูงใจในการ ทำงาน:มุมมองระหว่างเจนเนอเรชั่นต่าง ๆ ในองค์กร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 31(121), 1-25.

ประวิทย์ แต่งอักษร. (2551). มาทำหนังกันเถอะ (ฉบับตัดต่อใหม่). กรุงเทพฯ: ไบโอสโคป พลัส.

พัลลภา ปีติสันต์. (2560). Generation C ปรากฏการณ์ใหม่เจนใหม่ จับอินไซค์คนคอนเนค. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2560, จาก http://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/p26-28.pdf

ศุภรา อรุณศรีมรกต. (2561). การรับรู้ผ่านทัศนธาตุ: มุมมองใหม่จากงานออกแบบสู่งานศิลปะ. Veridian E-Journal Silpakorn University. 11(1), 2292-2303

ศศิธร ยุวโกศล และ พัชสิรี ชมภูคำ. (2564). เจเนอเรชั่นกับความคิดเห็นและพฤติกรรมการใช้สื่อในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 9(2), 10-25.

อัมพร ศิลปะเมธากุล. (2549). ศิลปะการจัดวาง. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

Christopher Frayling. (1993). Research in Art and Design. Royal College of Art Research.

Sarita Nayyar. (2016). Digital Media and Society Implications in a Hyperconnected Era. World Economic Forum.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31