การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าซิ่นตีนจกโหล่งลี้โดยใช้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชน
คำสำคัญ:
ผ้าทอตีนจกโหล่งลี้, การพัฒนาผลิตภัณฑ์, อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม, วัฒนธรรมท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์และการพัฒนาการตลาด โดยใช้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนมาเป็นกรอบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยทำวิจัยร่วมกับกลุ่มช่างทอบ้านปวงคำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จำนวน 20 คน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้หลายวิธีร่วมกัน ได้แก่ การประชุมระดมสมอง การจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก และใช้แนวคิดคติชนสร้างสรรค์เป็นกรอบในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาวิจัย พบว่ามีแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่ 3 แนวทาง ได้แก่ 1) การพัฒนาโครงสร้างของตัวซิ่นโดยแทรกเทคนิคการจก 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าทอที่พัฒนาขึ้นใหม่ 3) การออกแบบลวดลายผ้าซิ่นตีนจก โดยได้ออกแบบลวดลายซิ่นตีนจกใหม่ 3 ลายด้วยกัน ได้แก่ 1) ลายบ่าสุระ 2) ลายแม่น้ำสามสาย 3) ลายเครื่องสังคโลก หรือลายไผ่ล้อมเมือง ซึ่งมีการคัดเลือกข้อมูลวัฒนธรรมในชุมชนมาใช้เป็นแนวคิดในการออกแบบลวดลายทั้ง 3 นี้ เช่น ตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมือง ศิลปกรรมที่ปรากฏบนโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบในพื้นที่อำเภอลี้ที่ชาวบ้านเชื่อว่าเกี่ยวโยงถึงตำนานพระนางจามรี และต้นตะโกนาอายุร่วมร้อยปีที่ปลูกอยู่ในพื้นที่ซึ่งชาวบ้านใช้ประโยชน์มาโดยตลอด โดยข้อมูลวัฒนธรรมชุมชนเหล่านี้ได้ถูกนำมาพัฒนาเป็น story-telling และ infographic ในการพัฒนาการตลาดให้กับผ้าซิ่นตีนจกโหล่งลี้
References
ทรงพล ศิวานนท์. (2543). ลวดลายการทอผ้าซิ่นตีนจกอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2542). ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. ฉบับที่ 8: 4045-4049. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล (บรรณาธิการ). (2536). ผ้าเอเซีย: มรดกร่วมทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
นุสรา เตียงเกตุ และคณะ. (2559). ตีนจกโหล่งลี้ มรดกสายเมือง จังหวัดลำพูน. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์นานา.
นุสรา เตียงเกตุ. (2545). ลายจกแม่แจ่ม. เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.
ปิยะพร กัญชนะ. (2557). “บันทึกจับผ้า” เส้นใยแห่งไมตรีคนอาเซียนลุ่มน้ำโขง. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.
ศิราพร ฐิตะฐาน ณ ถลาง. (2559). คติชนสร้างสรรค์: บทสังเคราะห์และทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
สันติพงษ์ ช้างเผือก และคณะ. (2549). ประวัติศาสตร์ผ้าซิ่นตีนจก ผ้าทอแม่แจ่ม. เชียงใหม่: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุกัญญา สุจฉายา. (2555). เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการจัดการวัฒนธรรม. วารสารไทยศึกษา. 7(2), 217-240.
อัษนัย กางมูล. (2552). การฟื้นฟูอัตลักษณ์จากภูมิปัญญาผ้าซิ่นตีนจกของชุมชนบ้านท้องลับแล ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Gittinger, Mattibelle. (1992). Textiles and the Tai Experience in Southeast Asia. Washington, D.C.: Textile Museum.
Songsak Prangwatthanakul. (1994). Northern Thai Textiles, Thai Textiles: Threads of a Cultural Heritage. Bangkok: National Identity Board, Office of the Prime Minister.
The National Identity Board, Office of the Prime Minister. (1994). Thai Textiles: Threads of a Cultural Heritage. Bangkok: National Identity Board, Office of the Prime Minister.
The Siam Society. (2009). Through Woven Heritage, the Textiles of Thailand: an Exhibition of Cultural Fascination and Beauty. Bangkok: The Siam Society under Royal Patronage.
Vitawan Chunthone. (2013). The Art of Contemporary Jok Textiles: the Integration between Craft and Creative Design. Bangkok: Silpakorn University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ