การสื่อสารค่านิยมในละครแนววิชาชีพเกาหลีใต้ผ่านเรื่อง Hospital playlist ซีซัน 1 และ ซีซัน 2
คำสำคัญ:
การสื่อสารค่านิยม , ค่านิยมเกาหลีใต้, ละครโทรทัศน์เกาหลีใต้, ละครแนววิชาชีพบทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและอธิบายถึงการสื่อสารค่านิยมของสังคมเกาหลีใต้ผ่านละครแนววิชาชีพเรื่อง Hospital playlist ซีซัน 1 และ ซีซัน 2 โดยมีการนำเสนอค่านิยมผ่านกรอบการวิเคราะห์ 3 ประการ ได้แก่ ค่านิยมด้านการทำงาน ค่านิยมกลุ่ม และค่านิยมค่านิยมด้านครอบครัว โดยปรากฏกลวิธีการเล่าเรื่อในรูปแบบของบทสนทนา ตัวละคร และฉาก ได้แก่ ค่านิยมด้านการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสถานะทางวิชาชีพและวิชาชีพแพทย์ที่แสดงให้เห็นถึงสำคัญในระดับความเท่าเทียมกับสถานะของอาชีพอื่นๆ ค่านิยมแบบกลุ่มในการส่งเสริมและการให้ความสำคัญการแต่งงานมีครอบครัวหรือการมีคู่ที่สัมพันธ์กับปัญหาเชิงเศรษฐกิจและการลดลงของจำนวนการแต่งงานและอัตราการเกิดที่ในเกาหลีใต้ ค่านิยมด้านครอบครัวกับบทบาทของครอบครัวสามีหรือคนรักฝ่ายชายต่อฝ่ายหญิง ซึ่งมีอิทธิพลจากแนวการจัดลำดับขั้นของแนวลัทธิขงจื๊อในสมัยโบราณ และค่านิยมด้านครอบครัวและการนำเสนอภาพของการเป็นพ่อเลี้ยงเดี่ยวในสังคมเกาหลีใต้ที่นำเสนอภาพการเปลี่ยนแปลงของบทบาทหน้าที่พ่อในรูปแบบสมัยใหม่ที่แตกต่างกับระบบความคิดในยุคเก่าโดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตามบทความนี้อธิบายให้เห็นถึงภาพรวมของสังคมในปัจจุบันที่พบภายในตัวเรื่องที่สอดประสานไปกับการเล่าเรื่องที่สนุก ผลการศึกษาบทความชิ้นนี้อาจเป็นแนวทางในการเพื่อที่จะนำไปสู่การเกิดองค์ความรู้ใหม่และสามารถนำมาปรับใช้ผ่านการสร้างสรรค์งานด้านละครแนววิชาชีพในมุมมองที่เป็นของบริบทสังคมไทยให้กับผู้ชมได้ต่อไปในอนาคต
References
ฉัตรรวี คูหาวิชานันท์. (2552). ค่านิยมในละครญี่ปุ่นสมัยใหม่ที่นำเสนอผ่านทางโทรทัศน์ .วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำรงค์ ฐานดี. (2544). สังคมและวัฒนธรรมเกาหลี (Korean study and Culture). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
มติชนออนไลน์. (2564). ซีรีส์หมอชื่อดัง Hospital Playlist 2 ทำให้คนเกาหลีใต้ บริจาคอวัยวะเพิ่มขึ้น 11 เท่า. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2564, จาก https://www.matichon.co.th/foreign/news_2905454
วนิดา ฉัตรสกุลไพรัช. (2557). ผลการชมละครโทรทัศน์เกาหลีกับการซึมซับค่านิยม และการเลียนแบบวัฒนธรรมเกาหลี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 6(1), 175–185.
วราภรณ์ ศรีกาญจนเพริศ. (2544). การถ่ายทอดความหมายความฉลาดทางอารมณ์ในละครโทรทัศน์หลังข่าว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วริศรา กรีธาพล. (2563). ละครโทรทัศน์เกาหลีกับการเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงในทางย้อนแย้งของคู่รักวัยรุ่น .วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Infoques. (2565). เกาหลีใต้เผยอัตราการเกิดในปี 64 ลดฮวบต่ำสุดเป็นประวัติการณ์. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2564, จาก thttps://www.infoquest.co.th/2022/177681
Kim Jaewon. (2021). South Korea hikes key rate to 1% as inflation hits 10-year high. Retrieved June 2, 2021, from https://asia.nikkei.com/Economy/South-Korea-hikes-key-rate-to-1-as-inflation-hits-10-year-high
Ki-Soo Eun. (2008). ค่านิยมของชาวเกาหลีใต้. (พรรณนิภา ซอง, แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Wikipedia, the free encyclopedia. List of highest-rated series on cable television. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2564, จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Korean_drama
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ